ตราด - จังหวัดตราด จัดรณรงค์ค้นหาไข้หวัดนก X-ray ในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ ระหว่างวันที่ 1-29 กุมภาพันธ์นี้
วันนี้ (31 ม.ค.) นายสมศักดิ์ โยนกพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ตามกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก X-ray อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อค้นหาโรคที่ยังอาจแอบแฝงตัวอยู่ในพื้นที่ และศึกษาภาวะโรคไข้หวัดนกในแต่ละพื้นที่
จังหวัดจึงได้กำหนดจัดโครงการดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 1-29 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีการเฝ้าระวังในเชิงรุกด้วยการตรวจสอบอาการทางคลินิก ระดมเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และอาสาสมัครพัฒนาปศุสัตว์ในทุกพื้นที่เฝ้าระวังโรค โดยตรวจสอบหาข้อมูลย้อนหลัง ว่า พบสัตว์ปีกในแต่ละพื้นที่แสดงอาการป่วยตายที่มีลักษณะน่าสงสัยหรือไม่
นอกจากนี้ ยังเฝ้าระวังในเชิงรุกด้วยการสุ่มตรวจอุจจาระ (Cloacal Swab) ในกลุ่มสัตว์ปีกที่เลี้ยงหลังบ้าน และเป็ดไล่ทุ่งที่ยังไม่เข้าระบบเลี้ยงในฟาร์มทุกฝูง เพื่อส่งตรวจไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออก ภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งหากพบผลการตรวจเป็นบวกจะได้ดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ ด้วยการทำลายสัตว์ปีกในจุดที่พบผลบวก และเฝ้าระวังในเชิงรุก
ทั้งนี้ ได้กำหนดห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตร รวม 30 วัน พร้อมทั้งสุ่มตรวจ Swab สัตว์ปีกทุกครัวเรือนที่พบผลบวกในรัศมี 5 กิโลเมตร พร้อมระดมออกพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก และแหล่งที่พักอาศัยของนกธรรมชาติ
วันนี้ (31 ม.ค.) นายสมศักดิ์ โยนกพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ตามกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก X-ray อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อค้นหาโรคที่ยังอาจแอบแฝงตัวอยู่ในพื้นที่ และศึกษาภาวะโรคไข้หวัดนกในแต่ละพื้นที่
จังหวัดจึงได้กำหนดจัดโครงการดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 1-29 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีการเฝ้าระวังในเชิงรุกด้วยการตรวจสอบอาการทางคลินิก ระดมเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และอาสาสมัครพัฒนาปศุสัตว์ในทุกพื้นที่เฝ้าระวังโรค โดยตรวจสอบหาข้อมูลย้อนหลัง ว่า พบสัตว์ปีกในแต่ละพื้นที่แสดงอาการป่วยตายที่มีลักษณะน่าสงสัยหรือไม่
นอกจากนี้ ยังเฝ้าระวังในเชิงรุกด้วยการสุ่มตรวจอุจจาระ (Cloacal Swab) ในกลุ่มสัตว์ปีกที่เลี้ยงหลังบ้าน และเป็ดไล่ทุ่งที่ยังไม่เข้าระบบเลี้ยงในฟาร์มทุกฝูง เพื่อส่งตรวจไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออก ภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งหากพบผลการตรวจเป็นบวกจะได้ดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ ด้วยการทำลายสัตว์ปีกในจุดที่พบผลบวก และเฝ้าระวังในเชิงรุก
ทั้งนี้ ได้กำหนดห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในรัศมี 10 กิโลเมตร รวม 30 วัน พร้อมทั้งสุ่มตรวจ Swab สัตว์ปีกทุกครัวเรือนที่พบผลบวกในรัศมี 5 กิโลเมตร พร้อมระดมออกพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก และแหล่งที่พักอาศัยของนกธรรมชาติ