พิษณุโลก - ผู้ตรวจกระทรวงสาธารสุข สั่งสสจ.เหนือล่างเตรียมพร้อมห้องแยกโรคทุกโรงพยาบาล ให้คัดกรองผู้ป่วย ป้องกันไข้หวัดนก และปอดปวม ยืนยันเหนือล่างยังไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนก
รายงานข่าวจากจังหวัดพิษณุโลก แจ้งว่า นพ.สถาพร วงษ์เจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 2 ได้เรียกประชุมผู้ดูแลเรื่องไข้หวัดนกจากจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย ตากและอุตรดิตถ์ เป็นการเร่งด่วน เมื่อบ่ายวันที่ 29 ม.ค.51 ที่ผ่านมา ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เพื่อรับมือสถานการณ์ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดนก
นพ.สถาพร ระบุว่า ล่าสุดในเขตตรวจราชการที่ 2 หรือภาคเหนือตอนล่างยังไม่พบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดนก แม้พบเชื้อ H5N1 ที่นครสวรรค์ และ H5 ที่พิจิตรก็ตาม แต่ยืนยันว่ารอบ 17 เดือนที่ผ่านมา ยังไม่พบเชื้อหวัดนกติดต่อคนสู่คน ซึ่งสถานการณ์ที่จังหวัดนครสวรรค์ สาธารณสุขก็เฝ้าระวังผู้สัมผัสสัตว์ปีก 13 คน เป็นเวลา 14 วันนับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ ล่าสุดยังไม่พบรายใดมีอาการป่วย ซึ่งหากรับเชื้อจริง 7 วันก็แสดงอาการแล้ว
นพ.สถาพร กล่าวอีกว่า เชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกนับว่าเป็นโรคประจำถิ่นไปแล้ว ซึ่งต้องป้องกันไม่ให้มีเชื้อติดสู่คนได้ จึงได้สั่งการให้ทุกโรงพยาบาลฟื้นฟูระบบคัดกรองผู้ป่วยต้องสงสัย ให้ใช้ห้องคัดแยกผู้ป่วยในโรงพยาบาลทุกแห่ง ซึ่งได้จัดระบบคัดกรองผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่-ผู้ป่วยโรคปอดบวม-ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดนกแล้ว และทันทีที่พบผู้ป่วยต้องสงสัย ต้องพร้อมจ่ายยาต้านไวรัสทันที
การทำงานของสาธารณสุขจะแบ่งเป็น เชิงรับ คือ ให้ อสม.สอดส่องดูแล สัตว์ปีกในพื้นที่ หากป่วยตายให้แจ้งสาธารณสุขจังหวัดทันที ส่วนเชิงรุก คือ ต้องจัดทีมงานสอบสวนควบคุมโรคเข้าพื้นที่ทันทีเมื่อได้รับแจ้ง
ผู้สื่อข่าวงานงานว่า ขณะเดียวกัน ได้มีหนังสือด่วนที่สุด พล. 0027.003/1/282 รายงานต่อผู้ตรวจราชการเขต 2 แจ้งถึงสถานการณ์ไข้หวัดนกในพื้นจังหวัดพิษณุโลกว่า
1.เมื่อเดือนธันวาคม 2550 พบและทำลายสัตว์ปีกป่วยตายที่ ต.ชัยนาม อ.วังทอง ผลไม่พบเชื้อหวัดนก
2.เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 พบสัตว์ปีกป่วยตาย 20 ตัว จาก 35 ตัว ที่หมู่ 9 ต.เนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม ผลไม่พบเชื้อไข้หวัดนก
3.วันที่ 22 มกราคม 2551 พบสัตว์ปีกป่วยตายในวัดดงข่อย ต.วังพิกุล อ.วังทอง ยังรอผลตรวจยืนยันจากห้องปฏิบัติการ แต่ได้เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ ปอดปวม
4.รายงานสถานการณ์ไข้หวัดนก ก่อน 12.00 น.ทุกวัน
5.จังหวัดสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์แก่โรงพยาบาล และสถานีอนามัยทุกแห่ง
6.ให้โรงพยาบาลทุกแห่งจัดระบบัดกรองผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และปอดบวมทุกคน และจัดเตรียมห้องแยกโรคสำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการที่ รพ.ทั้งรัฐและเอกชน และซักประวัติผู้ป่วยอาการโดยละเอียด
รายงานข่าวจากจังหวัดพิษณุโลก แจ้งว่า นพ.สถาพร วงษ์เจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 2 ได้เรียกประชุมผู้ดูแลเรื่องไข้หวัดนกจากจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย ตากและอุตรดิตถ์ เป็นการเร่งด่วน เมื่อบ่ายวันที่ 29 ม.ค.51 ที่ผ่านมา ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เพื่อรับมือสถานการณ์ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดนก
นพ.สถาพร ระบุว่า ล่าสุดในเขตตรวจราชการที่ 2 หรือภาคเหนือตอนล่างยังไม่พบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดนก แม้พบเชื้อ H5N1 ที่นครสวรรค์ และ H5 ที่พิจิตรก็ตาม แต่ยืนยันว่ารอบ 17 เดือนที่ผ่านมา ยังไม่พบเชื้อหวัดนกติดต่อคนสู่คน ซึ่งสถานการณ์ที่จังหวัดนครสวรรค์ สาธารณสุขก็เฝ้าระวังผู้สัมผัสสัตว์ปีก 13 คน เป็นเวลา 14 วันนับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ ล่าสุดยังไม่พบรายใดมีอาการป่วย ซึ่งหากรับเชื้อจริง 7 วันก็แสดงอาการแล้ว
นพ.สถาพร กล่าวอีกว่า เชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกนับว่าเป็นโรคประจำถิ่นไปแล้ว ซึ่งต้องป้องกันไม่ให้มีเชื้อติดสู่คนได้ จึงได้สั่งการให้ทุกโรงพยาบาลฟื้นฟูระบบคัดกรองผู้ป่วยต้องสงสัย ให้ใช้ห้องคัดแยกผู้ป่วยในโรงพยาบาลทุกแห่ง ซึ่งได้จัดระบบคัดกรองผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่-ผู้ป่วยโรคปอดบวม-ผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดนกแล้ว และทันทีที่พบผู้ป่วยต้องสงสัย ต้องพร้อมจ่ายยาต้านไวรัสทันที
การทำงานของสาธารณสุขจะแบ่งเป็น เชิงรับ คือ ให้ อสม.สอดส่องดูแล สัตว์ปีกในพื้นที่ หากป่วยตายให้แจ้งสาธารณสุขจังหวัดทันที ส่วนเชิงรุก คือ ต้องจัดทีมงานสอบสวนควบคุมโรคเข้าพื้นที่ทันทีเมื่อได้รับแจ้ง
ผู้สื่อข่าวงานงานว่า ขณะเดียวกัน ได้มีหนังสือด่วนที่สุด พล. 0027.003/1/282 รายงานต่อผู้ตรวจราชการเขต 2 แจ้งถึงสถานการณ์ไข้หวัดนกในพื้นจังหวัดพิษณุโลกว่า
1.เมื่อเดือนธันวาคม 2550 พบและทำลายสัตว์ปีกป่วยตายที่ ต.ชัยนาม อ.วังทอง ผลไม่พบเชื้อหวัดนก
2.เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 พบสัตว์ปีกป่วยตาย 20 ตัว จาก 35 ตัว ที่หมู่ 9 ต.เนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม ผลไม่พบเชื้อไข้หวัดนก
3.วันที่ 22 มกราคม 2551 พบสัตว์ปีกป่วยตายในวัดดงข่อย ต.วังพิกุล อ.วังทอง ยังรอผลตรวจยืนยันจากห้องปฏิบัติการ แต่ได้เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ ปอดปวม
4.รายงานสถานการณ์ไข้หวัดนก ก่อน 12.00 น.ทุกวัน
5.จังหวัดสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์แก่โรงพยาบาล และสถานีอนามัยทุกแห่ง
6.ให้โรงพยาบาลทุกแห่งจัดระบบัดกรองผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และปอดบวมทุกคน และจัดเตรียมห้องแยกโรคสำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการที่ รพ.ทั้งรัฐและเอกชน และซักประวัติผู้ป่วยอาการโดยละเอียด