ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ก.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เดินเครื่องหนุนเทศบาลทุกระดับพัฒนาเมืองน่าอยู่ ครอบคลุม 5 มิติ ทั้งความปลอดภัย ความสะอาด ธรรมาภิบาล คุณภาพชีวิตและวัฒนธรรม เผยดัชนีชี้วัดความน่าอยู่ของเมืองที่ผ่านมาระบุชัดเมืองขนาดเล็กมีความน่าอยู่ที่สุด ขณะที่เทศบาลนครเชียงใหม่ถูกจัดให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในมิติทางวัฒนธรรม แต่หลุดอันดับในทุกมิติที่เหลือ
วันนี้ (7 ม.ค.) ที่โรงแรมกรีนเลค จังหวัดเชียงใหม่ นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมในเทศบาลตามแนวคิด “เมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่” โดยมีผู้บริหารเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียงเข้าร่วมประมาณ 100 คน
โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่นั้น ถือเป็นนโยบายและภารกิจสำคัญของกระทรวง จึงมีการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการนี้ให้ดำเนินการในเทศบาลทุกระดับทั่วประเทศรวมประมาณ 1,200 แห่ง ซึ่งแนวทางการพัฒนาจะแบ่งเป็น 5 มิติ ได้แก่ เมืองปลอดภัย เมืองสะอาด เมืองธรรมาภิบาล เมืองคุณภาพชีวิต และเมืองวัฒนธรรม โดยที่กระทรวงจะให้การสนับสนุนทางด้านยุทธศาสตร์ ด้านวิชาการและนโยบาย ซึ่งเชื่อว่าแต่ละเทศบาลพร้อมที่จะดำเนินการ เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงอยู่แล้วที่จะต้องพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาในช่วงปี 2548 ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ทำการสำรวจจัดทำข้อมูลของเทศบาลทุกระดับ แบ่งเป็นเทศบาลนคร 22 แห่ง (100%) เทศบาลเมือง 117 แห่ง (100%) และเทศบาลตำบล 201 แห่ง (20%) แล้วนำมาประมวลผลวิเคราะห์กำหนดเป็นความน่าอยู่ในทั้ง 5 มิติ พบว่าค่าเฉลี่ยเทศบาลตำบล ซึ่งเป็นเมืองขนาดเล็กมีความน่าอยู่มากกว่าเทศบาลเมืองและเทศบาลนครตามลำดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าเมืองขนาดเล็กมีความน่าอยู่กว่าเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่
โดยในส่วนของเชียงใหม่นั้น ค่าเฉลี่ยถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามการพัฒนาเมืองน่าอยู่นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องและมีความสมดุลในทุกมิติ รวมทั้งจะต้องทำควบคู่กับกระบวนการสร้างประชาคมเข้มแข็งด้วย เพื่อให้เกิดผลสูงสุด
อนึ่ง สำหรับดัชนีความน่าอยู่ของเมืองตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ทำการวิเคราะห์ประมวลผลนั้นในระดับเทศบาลนคร เทศบาลนครที่มีดัชนีความน่าอยู่สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เทศบาลนครตรัง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลนคนครราชสีมา และเทศบาลนครอุดรธานี
ขณะที่เทศบาลเมืองที่มีดัชนีความน่าอยู่สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เทศบาลเมืองตะกั่วป่า (พังงา) เทศบาลเมืองแพร่ เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และเทศบาลเมืองขลุง (จันทบุรี) ส่วนเทศบาลตำบลที่มีดัชนีความน่าอยู่สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เทศบาลตำบลเมืองแกน (เชียงใหม่) เทศบาลตำบลแม่ลาน้อย (แม่ฮ่องสอน) เทศบาลตำบลแม่สะเรียง (แม่ฮ่องสอน) เทศบาลตำบลปราณบุรี (ประจวบคีรีขันธ์) และเทศบาลตำบลแม่หล่าย (แพร่)
ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของเทศบาลนครเชียงใหม่นั้น ตามดัชนีชี้วัดทั้ง 5 มิติ ได้แก่ เมืองปลอดภัย เมืองสะอาด เมืองธรรมาภิบาล เมืองคุณภาพชีวิต และเมืองวัฒนธรรม ปรากฏว่าติดอันดับ 1 ใน 5 เมืองที่มีความน่าอยู่เพียงมิติเดียว คือ ในมิติเมืองวัฒนธรรม เท่านั้น โดยมีดัชนีสูงสุดเป็นอันดับที่หนึ่ง
วันนี้ (7 ม.ค.) ที่โรงแรมกรีนเลค จังหวัดเชียงใหม่ นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมในเทศบาลตามแนวคิด “เมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่” โดยมีผู้บริหารเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียงเข้าร่วมประมาณ 100 คน
โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่นั้น ถือเป็นนโยบายและภารกิจสำคัญของกระทรวง จึงมีการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการนี้ให้ดำเนินการในเทศบาลทุกระดับทั่วประเทศรวมประมาณ 1,200 แห่ง ซึ่งแนวทางการพัฒนาจะแบ่งเป็น 5 มิติ ได้แก่ เมืองปลอดภัย เมืองสะอาด เมืองธรรมาภิบาล เมืองคุณภาพชีวิต และเมืองวัฒนธรรม โดยที่กระทรวงจะให้การสนับสนุนทางด้านยุทธศาสตร์ ด้านวิชาการและนโยบาย ซึ่งเชื่อว่าแต่ละเทศบาลพร้อมที่จะดำเนินการ เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงอยู่แล้วที่จะต้องพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาในช่วงปี 2548 ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ทำการสำรวจจัดทำข้อมูลของเทศบาลทุกระดับ แบ่งเป็นเทศบาลนคร 22 แห่ง (100%) เทศบาลเมือง 117 แห่ง (100%) และเทศบาลตำบล 201 แห่ง (20%) แล้วนำมาประมวลผลวิเคราะห์กำหนดเป็นความน่าอยู่ในทั้ง 5 มิติ พบว่าค่าเฉลี่ยเทศบาลตำบล ซึ่งเป็นเมืองขนาดเล็กมีความน่าอยู่มากกว่าเทศบาลเมืองและเทศบาลนครตามลำดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าเมืองขนาดเล็กมีความน่าอยู่กว่าเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่
โดยในส่วนของเชียงใหม่นั้น ค่าเฉลี่ยถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามการพัฒนาเมืองน่าอยู่นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องและมีความสมดุลในทุกมิติ รวมทั้งจะต้องทำควบคู่กับกระบวนการสร้างประชาคมเข้มแข็งด้วย เพื่อให้เกิดผลสูงสุด
อนึ่ง สำหรับดัชนีความน่าอยู่ของเมืองตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ทำการวิเคราะห์ประมวลผลนั้นในระดับเทศบาลนคร เทศบาลนครที่มีดัชนีความน่าอยู่สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เทศบาลนครตรัง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลนคนครราชสีมา และเทศบาลนครอุดรธานี
ขณะที่เทศบาลเมืองที่มีดัชนีความน่าอยู่สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เทศบาลเมืองตะกั่วป่า (พังงา) เทศบาลเมืองแพร่ เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และเทศบาลเมืองขลุง (จันทบุรี) ส่วนเทศบาลตำบลที่มีดัชนีความน่าอยู่สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เทศบาลตำบลเมืองแกน (เชียงใหม่) เทศบาลตำบลแม่ลาน้อย (แม่ฮ่องสอน) เทศบาลตำบลแม่สะเรียง (แม่ฮ่องสอน) เทศบาลตำบลปราณบุรี (ประจวบคีรีขันธ์) และเทศบาลตำบลแม่หล่าย (แพร่)
ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของเทศบาลนครเชียงใหม่นั้น ตามดัชนีชี้วัดทั้ง 5 มิติ ได้แก่ เมืองปลอดภัย เมืองสะอาด เมืองธรรมาภิบาล เมืองคุณภาพชีวิต และเมืองวัฒนธรรม ปรากฏว่าติดอันดับ 1 ใน 5 เมืองที่มีความน่าอยู่เพียงมิติเดียว คือ ในมิติเมืองวัฒนธรรม เท่านั้น โดยมีดัชนีสูงสุดเป็นอันดับที่หนึ่ง