xs
xsm
sm
md
lg

นางแบกครูไทย? ภาระครอบจักรวาล สะท้อนเคส #ยกเลิกครูเวรกี่โมง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



#ยกเลิกครูเวรกี่โมง ภาระงานที่ควรยกเลิก เสี่ยงสะท้อนจาก “ครู” ที่ต้องเข้าเวรเพราะ กลัวไม่มีคนรับผิดชอบ เวรรักษาการ หนึ่งที่หน้าที่ของ ครู “ที่เยอะเกินไป” ปฏิเสธไม่ได้ เพราะ หน้าที่ครูนั้นครอบจักรวาล!!

ส่องปัญหา ทำไมยังต้องให้ “ครูเข้าเวร”?

เกิดเหตุไม่คาดฝัน เมื่อ ครูสาว“เข้าเวรวันหยุด” คนเดียวที่โรงเรียน แต่กลับถูกหนุ่มเข้ามาทำร้ายร่างกาย จนได้รับบาดเจ็บปากแตก และกระดูกซี่โครงหัก 3 ซี่ เหตุเกิดในช่วงบ่าย ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.เมือง จ.เชียงราย

จนโซเชียลเดือดติด #ยกเลิกครูเวรกี่โมง จากเหตุครูถูกทำร้ายขณะเข้าเวรนี้ ทำให้ด้าน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ก็ออกมาตอบประเด็นนี้กับสื่อว่า

ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของครู ที่ต้องเข้าเวรนั้น ตอนนี้ได้มีการประสานกับตำรวจ หน่วยงานปกครองท้องถิ่น ให้ช่วยสอดส่องดูแลพื้นที่ของโรงเรียน



ส่วนเรื่อง “ยกเลิกครูเวร อาจจะยังทำไม่ได้ทันที่” เพราะเป็น “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี” ที่ทุกหน่วยงานต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่อยู่เวรยามรักษาการณ์ เพื่อดูแลและป้องกันความเสียหายสถานที่ราชการ
 แต่ข้อมียกเว้นหากโรงเรียนใดมีการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มาดูแลแทน หมายความว่า โรงเรียนใดที่มีความพร้อม ก็สามารถยกเลิกครูเวรได้ แต่ส่วนมากจะเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณมากเพียงพอ

จากกระแส “ยกเลิกครูเวร” หรือ “คืนชีวิตให้ครู” ทีมข่าวจึงชวน “ครูทิว” ธนวรรธน์ สุวรรณปาล จากกลุ่มครูขอสอน มาช่วยสะท้อนมุมมองของ “ครู” ต่อเรื่องนี้เป็นอย่างไร?

“ประเด็นคือ เขาไม่ได้บอกว่าครูต้องอยู่ แต่เขาบอกว่าต้องมี เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร รักษาการนอกเวลาทำการ ซึ่งหมายความว่าจะเป็นใครก็ได้”

ตามหลักเกณฑ์ ถ้ามีหน่วยรักษาความปลอดภัย ก็ไม่จัดให้มี เวรรักษาการหรือผู้ตรวจเวรก็ได้ ซึ่งตรงนี้เป็น ดุลพินิจของผู้บริหาร แต่ครูทิวตั้งถามว่า “มีกี่โรงเรียนที่มีงบประมาณเรื่องนี้?”



“ดังนั้น โรงเรียนที่ไม่มีเงินจ้าง ก็ต้องให้ครูที่เป็นข้าราชการ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน หมุนเวียน กันมาเข้าเวร”

สิ่งที่เจอคือ “โรงเรียนจำนวนมาก” มี “ครูน้อย” ซึ่งตามหลัก “การเข้าเวรรักษาการนอกเวลาราช” บอกว่า ราชการที่ ”อยู่เวรตอนกลางคืน” ต้องเป็น “ผู้ชาย” เท่านั้น ส่วน “ผู้หญิง จะให้อยู่ได้แค่ตอนกลางวัน”

แต่ในโรงเรียนที่มี ครูผู้ชายน้อย จากการเก็บข้อมูลพบว่า มีทั้งที่ เข้าเวรกันแบบสลับวัน บางคนต้องอยู่เวรถึง ครึ่งเดือน โดยไม่ได้กลับบ้าน “มันก็ประทบต่อชีวิตส่วนตัว และก็เป็นภาระเพิ่มเติมจากการสอนของครู”

                                                                { "ครูทิว" จากกลุ่มครูขอสอน }

ครูสะท้อน “เดี๋ยวไม่มีคนรับผิดชอบ”

อีกเรื่องหนึ่ง โรงเรียนบางแห่ง แม้จะมีหน่วยงานรักษาความปลอดภัย มีกล้องวงจรปิด แต่ก็ยังให้มีการเข้าเวรรักษาการอยู่ดี ทั้งที่ ข้อบังคับก็เปิดช่องให้ว่า เป็น ดุลพินิจของผู้บริหาร
 “ผู้บริหารเขาให้เหตุผลว่า เดียวไม่มีใครรับผิดชอบ สุดท้ายแล้วครูก็ต้องมาอยู่อยู่ดี”

“เดียวไม่มีคนรับผิดชอบ” ครูทิวสะท้อนว่า มีหลายกรณี ที่เกิดความเสียหายในโรงเรียน เงินหาย ของหาย โรงเรียนหรือผู้บริหารก็จะเรียกร้องความรับผิดชอบกัน ครูที่เข้าเวร

ครูทิว ยกตัวอย่างเคสหนึ่งเมื่อปี 2523 มีครูท่านหนึ่ง ไม่ได้มาอยู่เวร แล้วเกิดเรื่องในโรงเรียน โรงเรียนจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายกับครู ศาลเห็นว่าเรื่องนี้สามารถนำเดินการทางวินัยได้ เพราะละทิ้งหน้าที่

แต่การจะเรียกร้อง ค่าเสียหายทางแพ่ง ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย แม้ครูจะอยู่เวร ครูก็ไม่มีความสามารถในการป้องกันเหตุได้ จะมาเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้

ซึ่งครูทิวยังเล่าต่อว่า แต่ในหลายกรณีที่รับฟังมา ครูหลายคนก็ไม่อยากให้วุ่นวาย ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล จึงยอมโดนหักเงิน และรับผิดชอบค่าเสียหาย กันไป ปัญหาใหญ่ของเรื่องนี้คือ “วัฒนธรรมอำนาจในระบบราชการ”



“ประการณ์แรกเราอาจจะต้องกลับไปให้คณะรัฐมนตรีทบทวน หลักเกณฑ์และวิธีการในการรักษาการ กันใหม่ รวมถึงหน่วยงานราชการอื่นๆ ด้วยเนอะ”

ต้องเข้าใจว่า ปัญหาเรื่องนี้ของโรงเรียน แต่ต่างจากหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งหลายหน่วยงานก็มี เจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยอยู่แล้ว อีกทั้งเรื่องสถานที่ตั้ง ที่หน่วยการราชการอื่น ก็มักอยู่ในตัวเมือง ตัวอำเภอ

ต่างจากโรงเรียนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่มีทั้งโรงเรียนในเมือง และชนบลอันห่างไกล ดังนั้น กระทรวงศึกษา อาจจะต้องออกระเบียบใหม่ให้สอดคล้องกับ บริบทของโรงเรียน ที่มันแตกต่างจากหน่วยงานอื่นๆ

ต่อมาคือเรื่อง การจัดสรรทรัพยากร โรงเรียนยังไม่งบประมาณ ในการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ไม่มีกล้องวงจรปิด ตรงนี้ต้อง รัฐจะจัดงบมาช่วยโรงเรียนเหล่านี้ยังไงบ้าง “ไม่ใช่ออกนโยบายไป แล้วให้โรงเรียนวิ่งหาเอาเอง”

“ถ้าทรัพยากรมีจำกัดจริงๆ การข้อความรวมมือกับ หน่วยงานฝ่ายปกครอง กับชุมชน ตรงนี้จะช่วยกันดูแลยังไงได้บ้าง เพื่อลดความเสี่ยงให้กับคุณครู”



หน้าที่ “ครู” นั้น “ครอบจักรวาล”

“ครูเวร”เป็นที่หน้าหนึ่งที่ครูต้องทำ นอกเหนือจากการสอน และเรื่องก็แค่ปัญหาเดียวของภาระงานครู ที่ดูเหมือนจะเยอะเกินไป ครูทิวบอกว่า..“จะบอกว่าไม่ใช้หน้าที่ของครู ก็ไม่เต็มปาก เพราะหน้าที่ราชการครู มันครอบจักรวาล”

ตำแหน่ง “ครู”เขาระบุว่า ปฏิบัติหน้าที่การสอนตามกลุ่มสาระต่างๆหรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งก็จะมีข้อหนึ่งเขียนว่า “หรือปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่ได้รับมอบหมาย”คือ ผู้บังคับบัญชาสั่งอะไรก็ต้องทำ

ครูทิว อธิบายต่อว่า ไม่ได้หมายความว่า ครูจะต้องสอนอย่างเดียว โดยไม่สนใจหน้าที่ แต่เราต้องมามองกันว่า งานอะไรที่ครูควรทำ งานอะไรที่ควรมีเจ้าหน้าเฉพาะทำ เช่น งานพัสดุ ธุรการ

“คือมันควรมีนั้นและ มันไม่ใช้คำถามเหรอก” งานทุกอย่างในโรงเรียนสำคัญ แต่เราควรต้องหาคนที่ช่วยดูแลงานเหล่านี้ เพื่อให้ครูกลับไปอยู่กับหลักสูตร โฟกัสกับตัวนักเรียนได้อย่างเต็มที่



ครูเป็นอาชีพหนึ่ง ที่ถูกสังคมเรียกร้องให้ “เสียสละและอุทิศตน” ครูทิวจึงตั้งคำถามว่า “แต่การอุทิศตนนั้น มันเพื่อใครหรืออะไรกันแน่” หลายครั้งครูทำงานตอบสนองกับราชการ จนไม่มีเวลาดูแลเด็ก

ในโรงเรียนมีหลายหน้าที่ แต่มีตำแหน่งเดียวคือ “ครู” เราจะเห็นหลายครั้งที่ ครูต้องทิ้งห้องเรียน เพื่อไปทำงานราชการอื่นๆ ทำให้ครูไม่สามารถเต็มที่กับกรสอนได้

“อย่างนี้เรามองว่า มันถูกต้องแล้วใช้ไหม ถ้าเราบอกว่า เราให้ความสำคัญกับการศึกษา การศึกษาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเรื่องอนาคตของประเทศ แต่เราจะให้คนที่ดูแลอนาคตของประเทศ แบกรับภาระที่มันหนักเกินที่จะไปโฟกัส การสอน จริงๆเหรอ”

สกู๊ป : ทีมข่าว MGR Live



** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **




กำลังโหลดความคิดเห็น