xs
xsm
sm
md
lg

“ไข้เลือดออก” โรคเดิม เพิ่มเติมคืออาการเปลี่ยน ระบาดเพิ่ม 3 เท่า!?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ไม่แน่ใจ ใช่ “ไข้เลือดออก” หรือเปล่า? เพราะอาการแบบนี้ไม่เคยเจอ สาธารณสุขเร่งปรับแผนการรักษา คาดปีนี้ “ไข้เลือดออก” ระบาดเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า แพทย์แนะสังเกตอาการให้ดีๆ หลายรายรู้ตัวอีกที หนักจนเกินขีดรักษา เสี่ยงเสียชีวิต!!

อาการเปลี่ยน รักษายาก?

หน้าฝนมาแล้ว และสิ่งที่ตามมากับมันคงหนี้ไปพ้น “ไข้เลือดออก” และล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดประชุมวิชาการ(สธ.) “ปรับปรุงแนวทางรักษาโรคไข้เลือดออก เหตุระยะหลังอาการไม่เหมือนที่เคยพบ”  และคาดว่า จะมีแนวโน้ม “ระบาดสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว เกือบ 3 เท่า”

ในการประชุมบอกว่า ระยะหลังพบการป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดใน "ผู้ใหญ่” ต่างจากเดิมที่พบในเด็ก และมีอาการไม่เหมือนกับที่เคยพบมา ทำให้การตรวจโรคในระยะแรกค่อนข้างยาก หากไม่ติดตามอาการอย่างใกล้ชิดจะทำให้การรักษาล่าช้า อาจส่งผลรุนแรงและเสียชีวิตได้

และยังเปิดข้อมูลว่าตั้งแต่ 1 มกราคม - 28 มิถุนายน 66 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกถึง 27,377 คน ผู้เสียชีวิต 33 คนโดยตั้งแต่เดือนมิถุนายน เจอคนป่วยสัปดาห์ละ 1,500 - 2,400 คน เสียชีวิตอาทิตย์ละ 1-3 คน



อาการไม่เหมือนที่เคยพบ? แล้วมันคือยังไง พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรค ได้อธิบายให้ ทีมข่าวฟังว่า รูปแบบที่เปลี่ยนไปแบ่ง 2 แบบ คือ “อายุของคนป่วยกับอาการนำของโรค”

“ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า อันที่หนึ่ง สมัยก่อนโรคไข้เลือดออก พบในเด็กเป็นหลัก แต่ว่าตอนนี้มันก็กลายเป็น ผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้น ในปี 66 ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึงตอนนี้ เราพบผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ คือ อายุเกิน 15 พบมากขึ้นค่ะ รูปแบบอันนี้หมายถึง อายุนะค่ะ”

ส่วนของอาการที่เปลี่ยนไป คุณหมอ บอกว่า ปกติอาการของ “ไข้เลือดออก” จะมีไข้ขึ้นประมาณ 40 องศา และไข้ขึ้นสูงอยู่ 3 วัน ช่วงนี้จะมีอาการ หน้าแดง หิวน้ำ มีผื่นแดงหรือจุดเลือดออกตามตัว “นี่คืออาการที่เห็นเราจะรู้ว่าเป็นไข้เลือดออก”

                                                                             {พญ.ฉันทนา ผดุงทศ}

แต่ตอนนี้บางคนที่มา มีอาการเหมือน ไข้หวัดใหญ่ปวดเมื่อยครั่นเนื้อครั่นตัว มีรายหนึ่งมาด้วยอาการคล้ายกับท้องเสีย แต่กลายเป็น ไข้เลือดออก แล้วสุดท้ายก็เสียชีวิต

“ก็คือจะเจออาการ ขึ้นต้นที่ไม่เหมือนธรรมดาของ ไข้เลือดออกเช่นกลุ่มปวดเมื่อย ถ่ายเหลว หรือมีอีกรายก็มาด้วย อาการชัก มีภาวะผิดปกติทางสมอง นำมาเลย ไม่ได้เป็นไข้นำมานะ อยู่ดีๆ ก็มาชักเลยอะไรแบบนี้"

 
พญ.เสริมว่า อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงทาง ชีววิทยาเพราะตอนนี้เรามีทั้ง ไวรัสโควิดและไข้หวัดใหญ่หลายสายพันธ์เพิ่มขึ้นมา ทำให้อาการของไข้เลือดออกมันเปลี่ยนไป

คาดระบาดเพิ่ม 3 เท่า?

แล้วทำไมถึงมี “แนวโน้มที่จะระบาดเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า”  พญ.อธิบายว่า มันมีทฤษฎี “Herd Immunity (ภูมิคุ้มกันกลุ่ม)” คือถ้ามีโรคระบาดเกิดขึ้น จะที่ให้ทั้งชุมชนมีภูมิคุ้มกัน และก็ทำให้เราไม่ป่วยอีก

“ไข้เลือดออก มันก็เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่นี้ก็คือว่า ภูมิคุ้มกันของไข้เลือดออกเนี่ย ถ้าประชากรป่วยจำนวนมาก หมายความว่า มีการระบาดเกิดขึ้นเนี่ย  ภูมิคุ้มกันที่เกิดหหลังการระบาด จะทำให้ประชาชน ไม่ป่วยไปใน 2-3 ปีหลังจากนั้นภูมิคุ้มกันก็จะตก แล้วก็จะเริ่มป่วยกันใหม่อีกรอบหนึ่ง”



และการระบาดครั้งล่าสุด ที่ทำให้เกิด Herd Immunity คือปี 62 และพอมาถึงปี 66 นี้ไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แสดงว่า ระบบภูมิคุ้มกันกลุ่มในประชากร มันกำลังหายไป

“เพราะฉะนั้น ก็ทำให้เกิดการติดเชี้อรอบใหม่ และก็ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว เพราะภูมิคุ้มกันมันหมด”

คุณหมอ ยังบอกถึงประเด็นที่น่าสนใจว่า ไข้เลือดออก ไม่เหมือนโรคติดต่ออื่น เพราะมันมีถึง 4 สายพันธ์ DENV-1, DENV-2, DENV-3, DENV-4 โดยปี 62 ที่ระบาดส่วนเป็นDENV-1และ2แต่ในปี 66 เราพบ สายพันธ์DENV-3 และ 4 มากว่า

“สมมติว่าเราเคยเป็นDENV-1 แล้วยุ่งเอาเชื้อDENV-1 มาให้เราเนี่ย เราจะไม่เป็นDENV-1 แต่ถ้ายุ่งเอาเชื้อDENV -2 ,3, 4 มากัดเรา เราจะเป็น แล้วเราจะเป็นแบบรุ่นแรง และก็มีอาการช็อคและเสียชีวิตได้”

คุณหมอยัง อธิบายเสริมว่า หากเคยป่วยเป็น ไข้เลือดออก จากสายพันธ์ไหน ก็ยังสามารถติดเชื้อสายพันธ์นั้นได้ แต่จะไม่มีอาการป่วย
 


และยังบอกว่าในการประชุม มีการพูดถึงเรื่อง “วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก” แต่ยังไม่สรุปจาก สธ.ว่าจะมีการประกาศให้คนฉีด เพราะมีตัวแปรหลายอย่าง เช่น ราคา การเข้าถึง ผลข้างเคียง รวมถึงจะครอบคลุมทุกสายพันธุ์ของไข้เลือดออกหรือเปล่า

สังเกตอาการ ก่อนเสี่ยงชีวิต

ถ้าอาการมันเปลี่ยนไป แลวจะรู้ได้ไงว่า เราเป็นไข้เลือดออกหรือเปล่า? พญ.แนะว่า เราต้องดูประวัติของเราก่อน ถ้าช่วง 2 อาทิตย์นี้ เราไปทำอะไรมาบ้าง ก่อนมีอาการ

ถ้าเคยเจอใครที่เป็น โควิด หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็ให้สงสัยว่า เราอาจเป็นโควิด ซึ่งตอนนี้ตรวจได้ง่าย โดยเครื่องตรวจ ATK แต่ถ้า ไม่ใช้ แต่มีอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว มีน้ำหมูก ไอ้แห้งๆ และเพลียมาก เราอาจเป็น ไข้หวัดใหญ่
 


“ไข้เลือดออก มันจะมีความ เนื้อตัวมันจะแดงๆ ปากแห้งคอแห้ง เป็นไข้แบบแห้งๆ คือ น้ำหมูกก็ไม่มี แต่ว่าไข้สูง หน้าแดงๆ อันนี้จะมาทางไข้เลือดออก ซึ้งตอนนี้ ถ้าจะบอกได้ต้องไปที่โรงพยาบาล นะค่ะ เพราะว่าเรามีชุดตรวจ เป็นขุดตรวจเร็ว เรียกว่าNS1”

การเป็น “ไข้เลือดออก” ตอนนี้ “แยกแยะได้ยาก” ถ้ามีไข้แล้วรู้สึกไม่ค่อยดี กินยาเองแล้วไข้ยังไม่ลดลง ก็ควรไป โรงพยาบาล ให้หมอตรวจ แต่ว่าก็ควรไปตรวจภายใน 3 วัน เพราะเหตุที่ทำให้คนตาย ตอนนี้มาจาก 2 อย่าง คือ ไปโรงพยาบาลช้า กับไปตอนอาการหนัก แล้วหมอรักษาไม่ไหว



“เราก็เลยมองว่า ถ้าในแง่ของการรักษาเนี่ย คุณหมอก็ต้องมีการเฉลียวใจ หรือฉุกคิด ถึงไข้เลือดออกให้มากขึ้นเพราะมีหลายคนที่ไปโรงพยาบาลก่อน แล้วหมอให้กลับบ้าน กลับมาอีกทีช็อคตายเลย”

และตอนนี้ได้มีการจัดทำแผนการรักษา ที่เรียกว่า CPG ให้เป็นแผนการรักษา ที่มีผู้เชียวชาญด้านไข้เลือดออก ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ว่าควรจะรักษาอย่างไงตามขั้นตอน
 


“มีการ CPG ให้คุณหมอทำงานได้เร็วขึ้น และก็มีประสิทธิภาพขึ้น มีการป้องกันเคสที่รุนแรง แล้วถ้ารุนแรงจะให้ทำอะไรต่อ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิต”

พญ.ยังฝากทิ้งท้ายว่า “ถ้าพูดถึงเรื่องวัคซีน หรือการนั่งสังเกตอาการมันยาก” แต่ก็มีเรื่องที่สามารถจัดการด้วยตัวเองได้ คือ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง ตามแหล่งน้ำขังในบ้าน และป้องกันตัวเองไม่ถูกยุงกัดมันจะเป็นการป้องกันได้ดีกว่า

สกู๊ป : ทีมข่าวMGR Live
ขอบคุณข้อมูล : pr.moph.go.th



** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **




กำลังโหลดความคิดเห็น