แฮชแท็ก #หมอลาออก เดือดโซเชียลฯ บุคลากรทางการแพทย์ออกมาแฉรูรั่วต่างๆ ไม่หยุด ฝากทวงถามความยุติธรรม นี่ “โรงพยาบาล” หรือ “โรงงาน” ทำงานกันตัวเป็นเกลียว เสียงคนหน้างานส่งไม่ถึงผู้บริหาร เหนื่อยใจ สุดท้ายจึงขอลาออกเป็นขบวน
โรงพยาบาล = โรงงาน
ปัญหาสะสมวงการแพทย์ถูกขุด!! เมื่อ หมออินเทิร์น (แพทย์ฝึกหัดที่เพิ่งจบมา) ออกมาบ่น ถึงการทำงานหนัก 100 ชม.ต่อสัปดาห์ หมอ 1 คนต้องดูแลคนป่วย 60-70 คน งานหนักจนแฮชแท็ก #หมอลาออก ติดเทรนด์ แต่ดูเหมือนปัญหานี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานแล้ว?
ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช หัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ กรรมการศูนย์โรคสมองภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์ให้ทีมข่าวฟังถึงปัญหาที่มีมานานแล้ว
“ต้องบอกว่าปัญหานี้เป็นมานาน ตั้งแต่ผมจบใหม่ มันมีมานานเกิน 50 ปีแล้วครับ”
[ ผศ.นพ.สุรัตน์ หัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา ม.เชียงใหม่ ]
คุณหมอได้อธิบายว่า ตอนนี้ระบบโรงพยาบาลเหมือนกับ “โรงงาน” และหมอถูกมองเป็นแค่ “ฟันเฟือง” ตัวหนึ่งในเครื่องจักรใหญ่ที่เรียกว่า “โรงพยาบาล” กลายเป็นว่า “หมอไม่มีสิทธิมีเสียงหรือเลือกอะไรได้เลย”
“โรงพยาบาลมันก็ถูกปรับเปลี่ยนมาจากระบบโรงงานจริงๆ ระบบโรงงานเป็นยังไง เข้ามาตอกบัตร คนไข้มาถึงก็จองๆ พนักงานก็ตรวจๆ อยู่เวรๆ ไป โดยที่หมอก็ไม่รู้สึกมีส่วนรวมกับวิชาชีพเท่าที่ควร ถูกไหมครับ ไม่มีสิทธิไม่มีเสียง ไม่มีการถามว่าฉันต้องการแบบไหน แล้วผู้บริหารจะมารับฟังได้”
การสั่งงานไม่เคยถามแพทย์ว่าไหวหรือเปล่า ลักษณะการสั่งงานจาก บนลงล่างเป็นหลัก ไม่มีการรับฟังเสียงของคนหน้างาน ก็ทำเกิดให้ความอึดอัด ทางออกเลยมีแค่ 2 แบบ คือ 1.บ่นอย่างที่เห็นบนโซเชียลฯ กับ 2.ลาออก
“ผมว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากๆ การไม่รับฟังเสียงอาจจะเหนือว่างานหนักด้วยซ้ำนะครับ”
ปัญหาตอนนี้เราเรียกว่า “wicked problem” คือปัญหาที่ซับซ้อน แต่ตอนนี้ก็ยังแก้ปัญหากับแบบเดิน แบบเป็นเส้นตรงเกินไป คือ หมอไม่พอก็เพิ่มหมอ หมอทำงานหนักก็ลดเวรหมอ
“คนก็จะมองแบบนั้น เหมือนเวลาเชือกขมวดปม มันมีอยู่หลายปมมากเลย ซึ่งมันก็จะมีปมอื่นเต็มไปหมด นึกออกไหมครับ ซึ่งตอนนี้ลักษณะการแก้เนี่ย แก้ในสิ่งที่เห็น หมายถึงว่าไอ้สิ่งที่เห็นคือ สิ่งที่ผู้บริหารจะเห็น”
จำใจแลกเวร งานแน่นเป็น “คอขวด”
ไม่ได้มีแค่แพทย์อินเทิร์นที่ต้องเจองานหนัก แต่หมอระดับกลางที่ทำงานมา 4-5 ปีก็มีเหมือนกัน และยังเป็นปัญหาที่ต่อกันเป็นลูกโซ่อีกด้วย คือเงินเดือนราชการไม่พอ เลยไปทำงานในคลินิก หรือเปิดคลินิกส่วนตัว ทำให้เกิดการฝากเวรเกิดขึ้น?
“น้องๆ จบใหม่ใช่ไหม เฮ้ย..รุ่นพี่ก็เคยทำอย่างนี้มาก่อน น้องก็อยู่เวรแทนไปก่อน ทั้งที่จริงๆ แล้ว ไม่มีการถามว่าน้องมันอยากอยู่หรือเปล่า”
เมื่อปากเสียงไม่มีก็เกิดความอึดดัดใจ ซึ่งมันก็เป็นการ ไม่เกิดการแชร์ความเจ็บปวด ซึ่งเด็กสมัยนี้ เสียงของเขามันมีความหมาย และเขามีทางเลือกได้ เขาก็ลาออกดีกว่า
[ ระบบจัดการที่ทำให้เกิด “คอขวด” ของคนไข้ ]
คุณหมอยังพูดถึง “การอยู่เวร” ในต่างประเทศ ถ้าสมมติว่าต้องอยู่เวร ในอีกวันหนึ่งเขาอาจจะให้พัก หรือมีการสลับเวรกันได้ แต่บ้านเราถ้าวันนี้มีเวร แล้วพรุ่งนี้มีออกตรวจหรือผ่าตัดก็ต้องไปทำต่อ
“คำถามก็คือ สมมติเราลองอดนอน 1คืน หรือนอน 3 ชั่วโมงติดอีก 1 คืน เช้าเราไปทำงานเราไหวไหม มันไม่ไหวอยู่แล้ว เพราะการประมวลของสมอง มันต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ
ไม่ใช่แค่นั้น งานแต่ละวันก็เยอะอยู่แล้ว หมอยังจัดการกับงานเอกสารมากมาย เพื่อส่งข้อมูลให้กับกระทรวงสาธารณสุขประมวลผลต่อ งานเอกสารก็เต็มไม่หมดมันก็ไม่มีเวลามานั่งดูและอะไร มันก็กลายเป็นวงจร
ไหนจะเรื่องคนไข้ที่เข้ามาอัดกัน จากระบบคัดกรองและส่งตัวที่ไม่ดีพอ คือบางคนอาการถึงขั้นต้องมาโรงพยาบาล แต่ไม่เชื่อในระบบปฐมภูมิอย่าง อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) หรือโรงพยาบาลชุมชน “ทำให้เกิดคอขวด” ในโรงพยาบาล
เป็น “แพะ” เพราะงานหนัก
“ถ้าเราอดนอนสัก 2 คืน มาทำงานตอนเช้าจะให้หน้ายิ้มนี้ยากนะผมว่า”
คำอธิบายของคุณหมอ เมื่อถามว่าเพราะแพทย์ทำงานหนักไป เลยทำให้เกิดปัญหากับคนไข้อยู่บ่อยๆ ใช่หรือเปล่า?
“นอกจากอารมณ์ที่หงุดหงิดง่าย การพักผ่อนที่น้อยเกินไปมันทำเกิดความผิดพลาดได้ มันมีงานวิจัยเต็มไปหมดเลย นะครับ ข้อมูลที่แพทย์การพักผ่อนน้อยไม่พักเลย ในต่างประเทศเขาถึงจำกัด เพราะมันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา”
ไม่แค่การบริการ ปัญหาทั้งหมดอาจทำเกิดความผิดได้ และส่งให้การฟ้องร้องในการรักษา เพราะโรคมันซับซ้อน แต่คนไข้ก็เยอะเกินจนเป็นคอขวด เวลาตรวจก็น้อย แถมผักผ่อนไม่พออีก จะเกิดความผิดไม่ใช่เรื่องยาก
“พอเกิดความผิดพลาด คนไข้ก็บอก หมอสั่งยาไม่เห็นหาย มีผลข้างเคียงใช่ไหมครับ เกิดการผิดพลาด เกิดการฟ้องร้อง ฉะนั้น อัตราการฟ้องร้องของแพทย์สภาเยอะขึ้นแน่นอน”
ตอนนี้ หมอกลาย “แพะ” ที่ถูกแขวนเอาเวลาเกิดความผิดพลาดพวกนี้ มันทำให้เกิด “การบั่นทอนจิตใจ” เพราะว่าหมอกับคนไข้ไม่เข้าใจกัน ทั้งที่จริงๆ ปัญหามันอยู่ที่ “คนจัดการระบบ”
“แพทย์ตอนนี้ในใจเขาก็เลย Do job as a job คิดงานเป็นงาน คือไม่ได้คิดอะไร ทำๆ ไปให้จบไป 1 วัน หมอกำลังเป็นแบบนี้เยอะพอสมควร เพราะรู้สึกหมดกำลังใจ”
นี่แหละ ปัญหาสำคัญ-เร่งด่วน!!
หนึ่งในทางแก้ปัญหา คุณหมอรายเดิมแนะว่า ควรมีการรับฟังเสียง และตอบสนองต่อปัญหาอย่างจริงจังเสียที คือนอกจากการต่อสู้ทางการเมืองแล้ว ควรหันมาแก้ไขระบบสาธารณสุขอย่างเร่งด่วน
“เด็กอย่างฉันที่ต้องดูแลคนไข้ ทำไมคุณไม่ทำเรื่องที่สำคัญก่อน เช่น จัดระบบดูแลคนไข้ให้ดี คุณกลับไปทำเรื่องนู่นเรื่องนี้เต็มไปหมด ที่บางทีมันก็เป็นการตอบสนองประเด็นทางการเมือง อันนี้มองในมุมมหภาคขนาดใหญ่
คนที่มองแบบตรงไปตรงมา เขาก็แก้ปัญหาที่เร็วและง่ายก่อน แต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้หรอก เพราะเราเพิ่มมานานแล้ว การผลิตแพทย์เพิ่ม แต่คำถามคือทำไมยังแก้ปัญหากันไม่ได้ถูกไหมครับ แสดงว่ามันแก้ปัญหาไม่ตรงจุด หรืออุดรูรั่วไม่หมด”
คุณหมอแนะว่า ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แล้ว คือให้แพทย์ที่อยู่หน้างาน ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหามามีส่วนร่วมในการแก้ไข แล้วดูว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร อะไรแก้ได้ก่อน อะไรต้องใช้ระยะเวลาในการแก้
“การแก้ปัญหาโดยการผลิตแพทย์เพิ่มใช้เวลา 6 ปีนะครับ เวลา 6ปีมันให้ปัญหามันเปลี่ยนรูปแบบไปแล้ว มันการแก้ปัญหาระยะยาว ทั้งที่จริงๆ ปัญหามันอยู่ที่หน้างานตอนนี้”
สกู๊ป : ทีมข่าว MGR Live
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **
โรงพยาบาล = โรงงาน
ปัญหาสะสมวงการแพทย์ถูกขุด!! เมื่อ หมออินเทิร์น (แพทย์ฝึกหัดที่เพิ่งจบมา) ออกมาบ่น ถึงการทำงานหนัก 100 ชม.ต่อสัปดาห์ หมอ 1 คนต้องดูแลคนป่วย 60-70 คน งานหนักจนแฮชแท็ก #หมอลาออก ติดเทรนด์ แต่ดูเหมือนปัญหานี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานแล้ว?
ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช หัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ กรรมการศูนย์โรคสมองภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์ให้ทีมข่าวฟังถึงปัญหาที่มีมานานแล้ว
“ต้องบอกว่าปัญหานี้เป็นมานาน ตั้งแต่ผมจบใหม่ มันมีมานานเกิน 50 ปีแล้วครับ”
[ ผศ.นพ.สุรัตน์ หัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา ม.เชียงใหม่ ]
คุณหมอได้อธิบายว่า ตอนนี้ระบบโรงพยาบาลเหมือนกับ “โรงงาน” และหมอถูกมองเป็นแค่ “ฟันเฟือง” ตัวหนึ่งในเครื่องจักรใหญ่ที่เรียกว่า “โรงพยาบาล” กลายเป็นว่า “หมอไม่มีสิทธิมีเสียงหรือเลือกอะไรได้เลย”
“โรงพยาบาลมันก็ถูกปรับเปลี่ยนมาจากระบบโรงงานจริงๆ ระบบโรงงานเป็นยังไง เข้ามาตอกบัตร คนไข้มาถึงก็จองๆ พนักงานก็ตรวจๆ อยู่เวรๆ ไป โดยที่หมอก็ไม่รู้สึกมีส่วนรวมกับวิชาชีพเท่าที่ควร ถูกไหมครับ ไม่มีสิทธิไม่มีเสียง ไม่มีการถามว่าฉันต้องการแบบไหน แล้วผู้บริหารจะมารับฟังได้”
การสั่งงานไม่เคยถามแพทย์ว่าไหวหรือเปล่า ลักษณะการสั่งงานจาก บนลงล่างเป็นหลัก ไม่มีการรับฟังเสียงของคนหน้างาน ก็ทำเกิดให้ความอึดอัด ทางออกเลยมีแค่ 2 แบบ คือ 1.บ่นอย่างที่เห็นบนโซเชียลฯ กับ 2.ลาออก
“ผมว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากๆ การไม่รับฟังเสียงอาจจะเหนือว่างานหนักด้วยซ้ำนะครับ”
ปัญหาตอนนี้เราเรียกว่า “wicked problem” คือปัญหาที่ซับซ้อน แต่ตอนนี้ก็ยังแก้ปัญหากับแบบเดิน แบบเป็นเส้นตรงเกินไป คือ หมอไม่พอก็เพิ่มหมอ หมอทำงานหนักก็ลดเวรหมอ
“คนก็จะมองแบบนั้น เหมือนเวลาเชือกขมวดปม มันมีอยู่หลายปมมากเลย ซึ่งมันก็จะมีปมอื่นเต็มไปหมด นึกออกไหมครับ ซึ่งตอนนี้ลักษณะการแก้เนี่ย แก้ในสิ่งที่เห็น หมายถึงว่าไอ้สิ่งที่เห็นคือ สิ่งที่ผู้บริหารจะเห็น”
จำใจแลกเวร งานแน่นเป็น “คอขวด”
ไม่ได้มีแค่แพทย์อินเทิร์นที่ต้องเจองานหนัก แต่หมอระดับกลางที่ทำงานมา 4-5 ปีก็มีเหมือนกัน และยังเป็นปัญหาที่ต่อกันเป็นลูกโซ่อีกด้วย คือเงินเดือนราชการไม่พอ เลยไปทำงานในคลินิก หรือเปิดคลินิกส่วนตัว ทำให้เกิดการฝากเวรเกิดขึ้น?
“น้องๆ จบใหม่ใช่ไหม เฮ้ย..รุ่นพี่ก็เคยทำอย่างนี้มาก่อน น้องก็อยู่เวรแทนไปก่อน ทั้งที่จริงๆ แล้ว ไม่มีการถามว่าน้องมันอยากอยู่หรือเปล่า”
เมื่อปากเสียงไม่มีก็เกิดความอึดดัดใจ ซึ่งมันก็เป็นการ ไม่เกิดการแชร์ความเจ็บปวด ซึ่งเด็กสมัยนี้ เสียงของเขามันมีความหมาย และเขามีทางเลือกได้ เขาก็ลาออกดีกว่า
[ ระบบจัดการที่ทำให้เกิด “คอขวด” ของคนไข้ ]
คุณหมอยังพูดถึง “การอยู่เวร” ในต่างประเทศ ถ้าสมมติว่าต้องอยู่เวร ในอีกวันหนึ่งเขาอาจจะให้พัก หรือมีการสลับเวรกันได้ แต่บ้านเราถ้าวันนี้มีเวร แล้วพรุ่งนี้มีออกตรวจหรือผ่าตัดก็ต้องไปทำต่อ
“คำถามก็คือ สมมติเราลองอดนอน 1คืน หรือนอน 3 ชั่วโมงติดอีก 1 คืน เช้าเราไปทำงานเราไหวไหม มันไม่ไหวอยู่แล้ว เพราะการประมวลของสมอง มันต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ
ไม่ใช่แค่นั้น งานแต่ละวันก็เยอะอยู่แล้ว หมอยังจัดการกับงานเอกสารมากมาย เพื่อส่งข้อมูลให้กับกระทรวงสาธารณสุขประมวลผลต่อ งานเอกสารก็เต็มไม่หมดมันก็ไม่มีเวลามานั่งดูและอะไร มันก็กลายเป็นวงจร
ไหนจะเรื่องคนไข้ที่เข้ามาอัดกัน จากระบบคัดกรองและส่งตัวที่ไม่ดีพอ คือบางคนอาการถึงขั้นต้องมาโรงพยาบาล แต่ไม่เชื่อในระบบปฐมภูมิอย่าง อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) หรือโรงพยาบาลชุมชน “ทำให้เกิดคอขวด” ในโรงพยาบาล
เป็น “แพะ” เพราะงานหนัก
“ถ้าเราอดนอนสัก 2 คืน มาทำงานตอนเช้าจะให้หน้ายิ้มนี้ยากนะผมว่า”
คำอธิบายของคุณหมอ เมื่อถามว่าเพราะแพทย์ทำงานหนักไป เลยทำให้เกิดปัญหากับคนไข้อยู่บ่อยๆ ใช่หรือเปล่า?
“นอกจากอารมณ์ที่หงุดหงิดง่าย การพักผ่อนที่น้อยเกินไปมันทำเกิดความผิดพลาดได้ มันมีงานวิจัยเต็มไปหมดเลย นะครับ ข้อมูลที่แพทย์การพักผ่อนน้อยไม่พักเลย ในต่างประเทศเขาถึงจำกัด เพราะมันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา”
ไม่แค่การบริการ ปัญหาทั้งหมดอาจทำเกิดความผิดได้ และส่งให้การฟ้องร้องในการรักษา เพราะโรคมันซับซ้อน แต่คนไข้ก็เยอะเกินจนเป็นคอขวด เวลาตรวจก็น้อย แถมผักผ่อนไม่พออีก จะเกิดความผิดไม่ใช่เรื่องยาก
“พอเกิดความผิดพลาด คนไข้ก็บอก หมอสั่งยาไม่เห็นหาย มีผลข้างเคียงใช่ไหมครับ เกิดการผิดพลาด เกิดการฟ้องร้อง ฉะนั้น อัตราการฟ้องร้องของแพทย์สภาเยอะขึ้นแน่นอน”
ตอนนี้ หมอกลาย “แพะ” ที่ถูกแขวนเอาเวลาเกิดความผิดพลาดพวกนี้ มันทำให้เกิด “การบั่นทอนจิตใจ” เพราะว่าหมอกับคนไข้ไม่เข้าใจกัน ทั้งที่จริงๆ ปัญหามันอยู่ที่ “คนจัดการระบบ”
“แพทย์ตอนนี้ในใจเขาก็เลย Do job as a job คิดงานเป็นงาน คือไม่ได้คิดอะไร ทำๆ ไปให้จบไป 1 วัน หมอกำลังเป็นแบบนี้เยอะพอสมควร เพราะรู้สึกหมดกำลังใจ”
นี่แหละ ปัญหาสำคัญ-เร่งด่วน!!
หนึ่งในทางแก้ปัญหา คุณหมอรายเดิมแนะว่า ควรมีการรับฟังเสียง และตอบสนองต่อปัญหาอย่างจริงจังเสียที คือนอกจากการต่อสู้ทางการเมืองแล้ว ควรหันมาแก้ไขระบบสาธารณสุขอย่างเร่งด่วน
“เด็กอย่างฉันที่ต้องดูแลคนไข้ ทำไมคุณไม่ทำเรื่องที่สำคัญก่อน เช่น จัดระบบดูแลคนไข้ให้ดี คุณกลับไปทำเรื่องนู่นเรื่องนี้เต็มไปหมด ที่บางทีมันก็เป็นการตอบสนองประเด็นทางการเมือง อันนี้มองในมุมมหภาคขนาดใหญ่
คนที่มองแบบตรงไปตรงมา เขาก็แก้ปัญหาที่เร็วและง่ายก่อน แต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้หรอก เพราะเราเพิ่มมานานแล้ว การผลิตแพทย์เพิ่ม แต่คำถามคือทำไมยังแก้ปัญหากันไม่ได้ถูกไหมครับ แสดงว่ามันแก้ปัญหาไม่ตรงจุด หรืออุดรูรั่วไม่หมด”
คุณหมอแนะว่า ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แล้ว คือให้แพทย์ที่อยู่หน้างาน ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหามามีส่วนร่วมในการแก้ไข แล้วดูว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร อะไรแก้ได้ก่อน อะไรต้องใช้ระยะเวลาในการแก้
“การแก้ปัญหาโดยการผลิตแพทย์เพิ่มใช้เวลา 6 ปีนะครับ เวลา 6ปีมันให้ปัญหามันเปลี่ยนรูปแบบไปแล้ว มันการแก้ปัญหาระยะยาว ทั้งที่จริงๆ ปัญหามันอยู่ที่หน้างานตอนนี้”
สกู๊ป : ทีมข่าว MGR Live
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **