ขายออนไลน์กันอย่างโจ๋งครึ่ม กับยาแก้ไอ "โปรโคดิล" แม้จะเป็นข่าวไปพักใหญ่เด็กมัธยมเกิดอาการชักและพลัดตกลงไปในโคลนใต้สะพานภูมิพล หลังกินโปรโคดิลผสมทรามาดอล 40 เม็ด แต่อุทาหรณ์ความน่ากลัวของผลข้างเคียงนี้ไม่ได้ทำให้เด็กวัยรุ่นหวาดผวาน้อยลงเลย
ทว่า กระแสดันกลับมาระบาดอีกแล้ว เมื่อเพจเฟซบุ๊ก เพจหนึ่งอัปรายชื่อพัสดุลูกค้ารัวๆ พร้อมรูปภาพโปรโคดิล วางเรียงราย และแคปชันเย้ยกฎหมายสุดๆ แถมยังให้ลูกค้าระวังเฟซบุ๊กปลอมเลียนแบบอีกด้วย
“ชัดเจนครับ สั่งของแล้วอย่าน้ำลายครับ ชัดเจน ไซรัปเพิ่มความหวาน 4/7/59. มีเฟซฯนี้กับเพจอื่นปลอม”
“ตื่นมางง เงินเข้าบัญชีบานเลย ขอบคุณคุณลูกค้ามากๆเลยนะครับ แล้วคือไม่แจ้งไง แล้วจะรู้ไหมเงินใคร 5555 งานเข้าครับวันนี้ตื่นสาย ลุยๆ ไซรัปเพิ่มความหวาน”
ส่วนที่บอกว่า เพิ่มความหวานนั้น เป็นเพราะยาโปรโคดิล มีลักษณะเป็นยาน้ำเชื่อมใส สีน้ำตาล รสชาติหวานชวนกิน แต่จัดเป็นยาอันตรายตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ขอความร่วมมือให้เภสัชกรขายยาโปรโคดิลอย่างระมัดระวัง โดยนำไปใช้เพื่อรักษาอาการแพ้ หรืออาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น แต่วัยรุ่นกลับนำยาโปรโคดิลมาใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์
โปรโคดิล (procodyl® syrup) เป็นยาแผนปัจจุบัน ประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ promethazine hydrochloride จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้แพ้ บรรเทาอาการไอ ใช้สำหรับบรรเทาอาการแพ้ เมารถ เมาเรือ แพ้อากาศ น้ำมูกไหล ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะร่วมด้วย เป็นกลุ่มยาที่แพทย์นำมาใช้ในการระงับประสาทชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม
ทว่า พวกวัยรุ่นมักจะชอบนำตัวยาไปใช้ผสมกินในน้ำอัดลม ซึ่งในน้ำอัดลมจะมีกาเฟอีน ที่มีฤทธิ์ในการเข้าไปกระตุ้นให้ตื่น ไม่ให้ง่วงนอน พร้อมๆ กันกับโปรโคดิลที่มีฤทธิ์ให้ง่วง ดังนั้น เมื่อกินเข้าไปจะมีอาการง่วง มึนงง สลึมสลือ เมาๆ กึ่งหลับกึ่งตื่น
ส่วนสาเหตุที่วัยรุ่นนิยมนั้น น่าจะเป็นเพราะติดใจเรื่องรสชาติเป็นหลัก เพราะตัวยาดังกล่าวมีการแต่งรส หวาน แต่งกลิ่นให้ชวนกิน รสชาติกลมกล่อม โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนไข้ที่กินยาไม่เกิดความรู้สึกพะอืดพะอมจากการคลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการแพ้นั่นเอง ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เมา นั่นเท่ากับว่า วัยรุ่นเหล่านี้เอาผลข้างเคียงของยาไปใช้ในทางที่ผิด
"กินๆไปเถอะน็อกยาเห็นมาเยอะแล้ว ชักตาตั้ง กันไปเลย"
"เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่มีเด็กคนนึงมันโพสต์สูตรน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่งแล้วยาอะไรไม่รู้อีกตัว แล้วโพสต์อย่างภาคภูมิใจว่า กูคิดค้นสูตรใหม่ได้แล้ว แชร์ไปเลย แล้วก็มีคนมาคอมเมนต์แท็กเพื่อนกันถล่มทลาย โดยส่วนมากเป็นเด็กผู้หญิง ม.ต้น เยอะมาก เด็กผู้หญิงบางคนยังไม่จบ ป.6 ก็มี แท็กเพื่อนท้าให้ลองทำกินกันอย่างภาคภูมิใจ รู้สึกสลด"
"ยาเขากินให้เป็นยา กินตามใบสั่งหมอ คำแนะนำเภสัช ไม่ใช่กินตามใจตัวเอง กินเพราะอยากเสพ พวกมึงนี่แหละที่ทำให้คนอีกจำนวนมากที่เขาต้องการยาไว้รักษาตัวโดนแบน แทนที่จะได้ไปซื้อยาได้ทันที หรือหาหมอคลินิกไม่นาน ดันต้องไปรอโรงพยาบาลเป็นชั่วโมงเพราะยามันหาข้างนอกไม่ได้ ยาบางตัวแม่งก็โดนแบนไปเลย”
อย่างไรก็ตาม คนที่กินยาโปรโคดิล เกินขนาดจะสูญเสียการทรงตัวเป็นช่วง ๆ เนื่องจากการประสานงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ผิดปกติไป และหากกินโปรโคดิลติดต่อกันนานเข้าอาจเกิดภาวะชัก สมองหยุดทำงานเนื่องจากขาดออกซิเจน นำไปสู่การเสียชีวิตในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ ยังมี ทรามาดอล (tramadol) ที่วัยรุ่นฮิตนำมากินร่วมกับโปรโคดิลด้วยนั้น จัดเป็นยาแก้ปวด โดยมีฤทธิ์ทำให้เคลิบเคลิ้ม หากรับประทานครั้งละมากๆ อาจทำให้เกิดอาการชักได้ ไข้ขึ้น และกล้ามเนื้อกระตุก
นั่นจึงเป็นเหตุให้ทาง อย.ได้ขอความร่วมมือร้านขายยาและเภสัชกรขายยาทั้ง 2 ประเภทอย่างระวัง เนื่องจากยาทั้งสองประเภทมีความจำเป็นต่อคนที่ต้องการรักษาอาการแพ้ เป็นกลุ่มคนที่ต้องการใช้ยาจริงๆ ไม่ใช่กลุ่มวัยรุ่นใช้ผิดวัตถุประสงค์ หวังเพียงผลข้างเคียงของยาเท่านั้น!
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"MGR Online Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารมาได้ที่: manageronlinelive@gmail.com
หรือ Fax 0-2629-4754
ทว่า กระแสดันกลับมาระบาดอีกแล้ว เมื่อเพจเฟซบุ๊ก เพจหนึ่งอัปรายชื่อพัสดุลูกค้ารัวๆ พร้อมรูปภาพโปรโคดิล วางเรียงราย และแคปชันเย้ยกฎหมายสุดๆ แถมยังให้ลูกค้าระวังเฟซบุ๊กปลอมเลียนแบบอีกด้วย
“ชัดเจนครับ สั่งของแล้วอย่าน้ำลายครับ ชัดเจน ไซรัปเพิ่มความหวาน 4/7/59. มีเฟซฯนี้กับเพจอื่นปลอม”
“ตื่นมางง เงินเข้าบัญชีบานเลย ขอบคุณคุณลูกค้ามากๆเลยนะครับ แล้วคือไม่แจ้งไง แล้วจะรู้ไหมเงินใคร 5555 งานเข้าครับวันนี้ตื่นสาย ลุยๆ ไซรัปเพิ่มความหวาน”
ส่วนที่บอกว่า เพิ่มความหวานนั้น เป็นเพราะยาโปรโคดิล มีลักษณะเป็นยาน้ำเชื่อมใส สีน้ำตาล รสชาติหวานชวนกิน แต่จัดเป็นยาอันตรายตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ขอความร่วมมือให้เภสัชกรขายยาโปรโคดิลอย่างระมัดระวัง โดยนำไปใช้เพื่อรักษาอาการแพ้ หรืออาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น แต่วัยรุ่นกลับนำยาโปรโคดิลมาใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์
โปรโคดิล (procodyl® syrup) เป็นยาแผนปัจจุบัน ประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ promethazine hydrochloride จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้แพ้ บรรเทาอาการไอ ใช้สำหรับบรรเทาอาการแพ้ เมารถ เมาเรือ แพ้อากาศ น้ำมูกไหล ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะร่วมด้วย เป็นกลุ่มยาที่แพทย์นำมาใช้ในการระงับประสาทชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม
ทว่า พวกวัยรุ่นมักจะชอบนำตัวยาไปใช้ผสมกินในน้ำอัดลม ซึ่งในน้ำอัดลมจะมีกาเฟอีน ที่มีฤทธิ์ในการเข้าไปกระตุ้นให้ตื่น ไม่ให้ง่วงนอน พร้อมๆ กันกับโปรโคดิลที่มีฤทธิ์ให้ง่วง ดังนั้น เมื่อกินเข้าไปจะมีอาการง่วง มึนงง สลึมสลือ เมาๆ กึ่งหลับกึ่งตื่น
ส่วนสาเหตุที่วัยรุ่นนิยมนั้น น่าจะเป็นเพราะติดใจเรื่องรสชาติเป็นหลัก เพราะตัวยาดังกล่าวมีการแต่งรส หวาน แต่งกลิ่นให้ชวนกิน รสชาติกลมกล่อม โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนไข้ที่กินยาไม่เกิดความรู้สึกพะอืดพะอมจากการคลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการแพ้นั่นเอง ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เมา นั่นเท่ากับว่า วัยรุ่นเหล่านี้เอาผลข้างเคียงของยาไปใช้ในทางที่ผิด
"กินๆไปเถอะน็อกยาเห็นมาเยอะแล้ว ชักตาตั้ง กันไปเลย"
"เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่มีเด็กคนนึงมันโพสต์สูตรน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่งแล้วยาอะไรไม่รู้อีกตัว แล้วโพสต์อย่างภาคภูมิใจว่า กูคิดค้นสูตรใหม่ได้แล้ว แชร์ไปเลย แล้วก็มีคนมาคอมเมนต์แท็กเพื่อนกันถล่มทลาย โดยส่วนมากเป็นเด็กผู้หญิง ม.ต้น เยอะมาก เด็กผู้หญิงบางคนยังไม่จบ ป.6 ก็มี แท็กเพื่อนท้าให้ลองทำกินกันอย่างภาคภูมิใจ รู้สึกสลด"
"ยาเขากินให้เป็นยา กินตามใบสั่งหมอ คำแนะนำเภสัช ไม่ใช่กินตามใจตัวเอง กินเพราะอยากเสพ พวกมึงนี่แหละที่ทำให้คนอีกจำนวนมากที่เขาต้องการยาไว้รักษาตัวโดนแบน แทนที่จะได้ไปซื้อยาได้ทันที หรือหาหมอคลินิกไม่นาน ดันต้องไปรอโรงพยาบาลเป็นชั่วโมงเพราะยามันหาข้างนอกไม่ได้ ยาบางตัวแม่งก็โดนแบนไปเลย”
อย่างไรก็ตาม คนที่กินยาโปรโคดิล เกินขนาดจะสูญเสียการทรงตัวเป็นช่วง ๆ เนื่องจากการประสานงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ผิดปกติไป และหากกินโปรโคดิลติดต่อกันนานเข้าอาจเกิดภาวะชัก สมองหยุดทำงานเนื่องจากขาดออกซิเจน นำไปสู่การเสียชีวิตในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ ยังมี ทรามาดอล (tramadol) ที่วัยรุ่นฮิตนำมากินร่วมกับโปรโคดิลด้วยนั้น จัดเป็นยาแก้ปวด โดยมีฤทธิ์ทำให้เคลิบเคลิ้ม หากรับประทานครั้งละมากๆ อาจทำให้เกิดอาการชักได้ ไข้ขึ้น และกล้ามเนื้อกระตุก
นั่นจึงเป็นเหตุให้ทาง อย.ได้ขอความร่วมมือร้านขายยาและเภสัชกรขายยาทั้ง 2 ประเภทอย่างระวัง เนื่องจากยาทั้งสองประเภทมีความจำเป็นต่อคนที่ต้องการรักษาอาการแพ้ เป็นกลุ่มคนที่ต้องการใช้ยาจริงๆ ไม่ใช่กลุ่มวัยรุ่นใช้ผิดวัตถุประสงค์ หวังเพียงผลข้างเคียงของยาเท่านั้น!
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"MGR Online Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารมาได้ที่: manageronlinelive@gmail.com
หรือ Fax 0-2629-4754