xs
xsm
sm
md
lg

ตร. ขยับปิดผับบาร์ตี 4 รับอาเซียนปี 58 !?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เวลาในการเปิด-ปิดสถานบันเทิงยามค่ำคืน เรียกว่ามีการถกเถียงกันมาโดยตลอด เพราะยังเป็นปัญหาซ้ำๆ เดิมๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการเปิดล่วงเวลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

ด้านกองบัญชาการตํารวจนครบาล(บช.น.) แม้จะทำทีกำหราบอย่างจริงจังให้ได้ประจักษ์กันบ้าง แต่ก็ดูจะไปไม่รอด ล่าสุดเตรียมคลอดมาตรการขยาดเวลาปิดผับบาร์รอบกรุงฯ แบบยาวๆ ถึงตี 4 พร้อมเล็งพื้นที่จัดโซนนิ่งใหม่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 58

อย่างไรก็ตาม ทาง บช.น. ได้แถลงว่าการณ์มาตรการการขยายเวลาปิดสถานบันเทิงในครั้งนี้ก็เพื่อนซับพอร์ตนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเชียวละ ว่าแต่ว่างานนี้ใช่เรื่องที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎ์พึงกระทำหรือเปล่า


ปิดผับรับอรุณ สู่เสรีอาเซียน
สืบเนื่องจากปัญหาสถานบริการและสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หลังได้รับคำสั่งจากหัวเรือใหญ่ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น.ในฐานะหัวหน้าชุดตรวจสอบการดำเนินการกิจการสถานบริการและสถานประกอบการ (ชตส.บช.น.) ก็เริ่มจัดการมาตรการปรับปรุงโซนนิ่งของสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509

แน่นอนวัตถุประสงค์สำคัญก็เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่กำลังตบเท้าเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

เบื้องต้นในเรื่องของเวลานั้นจะมีการปรับขยายเพิ่มเติมเพิ่มรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา อาทิ นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการช่วง 23.00-24.00 น. แต่สถานบันเทิงปิดเวลา 01.00 น ทำให้เที่ยวไม่เต็มที่

“อาจเปิดได้ถึงเวลา 03.00-04.00 น. เพื่อรองรับอาเซียน และชาวต่างชาติก็มาเที่ยวได้ แต่ต้องกวดขันเรื่องยาเสพติด อาวุธปืน และเยาวชนให้ชัดเจน เพราะปัจจุบันปิดเวลาประมาณ 02.00 น." พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของสถานบันเทิงนั้นกำลังมีปัญหาอย่างหนัก ไม่ว่าจะในเรื่อง การเปิดสถานบริการที่ไม่ได้รับอนุญาต สถานบริการที่ได้รับอนุญาตดำเนินกิจการผิดประเภทที่ระบุไว้ในใบอนุญาต การเปิดเกินเวลาที่กำหนด รวมถึงการเปิดให้เด็กหรือเยาวชนเข้าไปใช้บริการ

ข้อมูลเปิดเผยว่า มีสถานบริการอยู่ในโซนนิ่ง ได้รับอนุญาต 190 ราย ไม่ได้รับอนุญาต 16 ราย และมีสถานบริการเปิดให้บริการนอกโซนนิ่ง ได้รับอนุญาต 429 ราย และไม่ได้รับอนุญาตมากถึง 1,296 ราย

พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวถึงแนวคิดในการจัดการสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่เป็นเป็นปัญหามาโดนตลอด เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง

1. ยกเลิกโซนนิ่งทั้งหมด คือ ฟรีโซน และกำหนดว่าจุดใดตั้งสถานบริการได้ หรือบางจุดใกล้โรงเรียน หรือชุมชนก็เปิดไม่ได้ เป็นต้น ส่วนนี้กฎหมายกำหนดอยู่แล้วแต่จะทำให้ครอบคลุมมากขึ้น

2. การกำหนดโซนนิ่งใหม่ เพราะที่มี 3 โซน คือ รัชดาภิเษก เพชรบุรีตัดใหม่ (อาร์ซีเอ) และพัฒน์พงษ์ขณะนี้ใช้ไม่ได้แล้ว พวกในโซนมีไม่มาก แต่นอกโซนมีประมาณกว่า 1,000 แห่ง ทำให้ไม่มีปัญญาดูแล

"สำหรับในโซนเหมือนเป็นเด็กดี ถูกจับก็ปิด 60 วัน จึงมีพวกไปเปิดนอกโซนมากขึ้นหรือมีใบอนุญาต แต่ก็ไม่ยอมมาต่ออีก บางครั้งมีการจับถูกปรับ 8,000, 6,000 หรือ 3,000 บาท ส่วนโทษจำคุกรอลงอาญา 1 เดือน วันนี้จับ นาย ก. เป็นผู้จัดการ พรุ่งนี้เปลี่ยนเป็นนาย ข. แทนแล้ว ไม่กลัวเพราะขายได้วันละเป็นแสนบาท จับแล้วก็ไม่มีอะไร เงินเข้ารัฐก็ได้น้อยนิดจากเด็กดี ส่วนเด็กดื้อจ่ายเป็นหมื่นเป็นแสนก็ยอมเพื่อให้ได้เปิด จึงเป็นปัญหาที่ไล่เรียงมาจากชุดปฏิบัติการ หัวหน้าสถานี และผู้ประกอบการ ต้องเอามาให้อยู่ในกรอบเพื่อควบคุมได้ทั้งหมด บางรายไม่มาต่อใบอนุญาต ในร่างกฎหมายใหม่นี้พวกไม่ต่อใบอนุญาตและไม่มีใบอนุญาต จะมีโทษจำคุก 7-10 ปี ตอนนี้มีการร่างกฎหมายขึ้นมาแล้ว เบื้องต้นทางกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบ หากมีการเห็นชอบตามขั้นตอนหรือเป็นทางการ ต่อไปจะผลักดันเข้า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพื่อเสนอให้มีการดำเนินการเป็นกฎหมาย หลังจากนี้พวกที่จะมาเป็นตัวแทนต้องติดคุกจริง 7 ปี ต่อไปก็ไม่มีใครกล้าเปิด คาดว่าปี 2557 ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะออกกฎหมายได้ ขณะนี้พร้อมแล้ว เพราะแก้ไม่กี่มาตรา"

ซึ่งขณะนี้ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกำลังประมวลเรื่องทั้งหมดเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเสนอให้มีการดำเนินการเป็นกฎหมายต่อไป และในร่างกฎหมายใหม่ทำการเพิ่มโทษจำคุก 7-10 ปี สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมไปถึงผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

เอื้อธุรกิจท่องเที่ยว บั่นทอนชีวิตคนเมือง
แน่นอนมาตรการจัดโซนนิ่งของ บช.น. เอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว กระตุ้นเม็ดเงินในภาคเศรษกิจไม่น้อย ดร.เสรี วังส์ไพจิตร คณบดีคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต แสดงทัศนะว่า การจัดโซนิ่ง ขยายเวลาเปิดผับ นั้นเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว ในแง่ของนักท่องเที่ยวอาจจะใช้เวลากินดื่มกันมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันประชาชนในพื้นที่ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

“นักท่องที่ยวที่ชอบเที่ยวกลางวคืน หรือชอบดื่มก็จะมีเวลามากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยก็เพิ่มมากขึ้น เป้าหมายขยายเวลาก็เพื่อชาวต่างชาติได้ใช้ประโยชน์ ถ้าเกิดกรณีคนไทยเขาไปใช้ก็จะมีผลกระทบกระทือนอยู่บ้าง”

คำถามที่ตามมาคือหลักมีการขยายโซนนิ่งปรับเวลาเปิดปิดแล้ว การจัดการในเรื่องความปลอดภัยที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำมาปราบปรามนั้นเป็นอย่างไร ดร.เสรี อธิบายตรงนี้เอง ขึ้นอยู่กับทางหน่วยงานว่ามีการควบคุมจัดระเบียบกันอย่างจริงจังเพียงใด

เมื่อมีการปรับโซนนิ่งสถานบันเทิง สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้คือปัญหาอาชญกรรมที่อาจตามมา ตรงนี้เป็นโจทย์สำคัญที่ทางเจ้าหน้าที่ต้องคิดหาแนวทางควบคุมให้ได้ ในเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะรอบบริเวณสถานบันเทิงก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึง ไม่ใช่เพียงผลประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยว
“ถ้าเป็นตัวบทกฎหมายเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจออยู่แล้ว ไม่มีข้อยกเว้น ประสิทธิภาพก็อยู่ที่เจ้าหน้าที่ กำหนดกฎเกณฑ์ออกมาแล้วต้องบังคับให้เป็นไปได้ในทุกพื้นที่”
ถามว่ามาตรการนี้รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคตได้หรือไม่ ดร.เสรี วิเคราะห์ว่าอาจได้ในระดับหนึ่ง แต่การจัดโซนนิ่งในกรุงเทพฯ นั้นต้องทำให้ชัดเจน เพราะไม่ใช่ทุกพื้นที่จะสามารถรองรับในส่วนนี้ได้ ต่างต่าง พัทยา หรือ ภูเก็ต ที่เป็นเมืองท่องเที่ยว

“สถานบันเทิงต้องมีการจัดโซนนิ่งแน่นอนชัดเจน ไม่ใช่กระจัดกระจายทั่วไปหมด ต้องมีการศึกษารายละเอียด”

ดร.เสรี ทิ้งท้ายว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้นควรให้ความสำคัญในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือสิ่งเวดล้อมมากกว่า

“ อะไรที่เป็นหัวใจของเราเราควรจะให้ความสำคัญและเน้นมัน ทุ่มแทกับมันให้มากขึ้น ในเรื่องของวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมธรรมชาติต้องช่วยกันปกปักษ์รักษา ส่งเสริมไปในทิศทางที่เหมาะสม”


ใช่เรื่องมั้ย คุณตำรวจ?
“ตำรวจกำลังติดกับดักเรื่องการหาเงินทางเศรษกิจ ซึ่งมันไม่ใช่บทบาทของตำรวจ”

ผศ.ดร.ปนัดดา ชำนาญสุข อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิพากษ์มาตรการปรับปรุงโซนนิ่งของสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการฯ ของ บช.น.

“บทบาทของตำรวจ คือในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน เรื่องของสถานบันเทิงในสังคมปัจจุบันเราทราบดี อาชญกรรมต่างๆ มันเกี่ยวพันธ์กับสถานบันเทิง สถานบันเทิงมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอาชญกรรมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ความรุนแรงของกลุ่มอาชญกรรมที่เป็นเยาวชน”

เรื่องความรุนแรงปัญหาอาชญกรรมที่เป็นผลพ่วงจากสถานบันเทิงเป็นปัญหาที่รุนแรงและทางเจ้าหน้าที่ก็ทราบดี คงต้องพิจารณากันใหม่ว่าภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจคืออะไร แน่นอนเมื่อคลอดมาตรการดังกล่าวและทางด้านความมั่นคงปลอดภัยของประชนจะมีแนวทางอย่างไรต่อ

“นโยบายโซนนิ่งต้องตั้งกลับถามกลับไป ที่มาของนโยบายโซนนิ่ง เป็นเพราะตำรวจต้องการจะควบคุมอาชญกรรมคือต้องการแก้ไขควบคุมปัญหาอาชญกรรมตามที่เป็นที่มาเกี่ยวโยงกับสถานบันเทิง หรือว่าต้องการหาเงิน หมายถึงให้ความสำคัญกับเรื่องการได้มาในเรื่องของเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ถ้าบอกว่าต้องการให้รัฐต้องการมีเงินมาขึ้นเพื่อรองรับ aec นั้นไม่ใช่บทบาทของตำรวจ”

ผศ.ดร.ปนัดดา ทิ้งท้ายว่า โดยหลักการสังคมที่มีความเจริญสูงขึ้นปัญหาอาชญากรรมก็สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้เลย สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ที่ต้องมีการดำเนินการปราบปรามอย่างเข้มงวด

“ในขณะที่ตำรวจเองมีข้อจำกัด ทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมปัญหาอาชญกรรมของตำรวจไม่ได้ผลเท่าที่ควร แล้วมาทำให้สถานบันเทิงมากขึ้นหมายถึงว่าขยายบริการมากขึ้น ตำรวจจะควบคุมมันได้หรือเปล่า? การขยายเวลาน่าจะมาจากทุกอย่างเรียบร้อยหมดแล้ว อย่างที่ตำรวจบอกว่าสถานประกอบการในโซนนิ่งที่มีอยู่น้อยและตรงนี้เป็นเด็กดี ทำไมไม่ทำให้ทุกอันเป็นเด็กดีก่อนในเงื่อนไขเดิมในโจทย์ที่จัดใหม่ แล้วค่อยมาพูดเรื่องขยายเวลา ค่อยมาพูดเรื่องหาเงินให้กับรัฐ”
…...............................

ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live


กำลังโหลดความคิดเห็น