ปรัชญาพุทธศาสนานิกายเซน เน้นความเรียบง่าย การมีสติ และการละทิ้งวัตถุ สุนทรียศาสตร์แบบมินิมอลนี้ไม่ได้เป็นเพียงสไตล์ แต่เป็นวิธีการปลูกฝังความสงบภายในและเชื่อมโยงกับปัจจุบันขณะอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
"การไม่สะสม ละทิ้งวัตถุนิยม"
พุทธศาสนานิกายเซนสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติละทิ้งความยึดติดในวัตถุ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางจิตวิญญาณและก่อให้เกิดความทุกข์โดยไม่จำเป็น ในวัดจึงมีแค่สิ่งที่จำเป็น
"การปลูกฝังสติ"
ความเรียบง่ายและพื้นที่โล่งในวัดนิกายเซนช่วยให้ความสนใจจดจ่ออยู่กับปัจจุบันขณะได้ง่าย
"การเน้นธรรมชาติ ความกลมกลืน"
ถ้ามีประดับตกแต่ง แบบนิกายเซนก็จะผสมผสานองค์ประกอบจากธรรมชาติ เช่น ไม้ หิน และพืช เพื่อสร้างความรู้สึกกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและส่งเสริมการเชื่อมต่อกับโลกธรรมชาติ
"มะ" (พื้นที่ว่าง, พื้นที่ระหว่าง)
ในภาษาญี่ปุ่น 間 (ma) หมายถึงพื้นที่ ช่องว่าง หรือช่วงหยุดระหว่างสิ่งต่างๆ และครอบคลุมทั้งมิติทางกายภาพและเวลา ไม่ใช่แค่พื้นที่ว่างโล่ง แต่เป็นพื้นที่ เหมือนจังหวะหยุด/เว้นในสรรพสิ่ง คือพื้นที่แห่งความเป็นไปได้และศักยภาพที่มีความสำคัญและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในงานออกแบบ ศิลปะ และชีวิตประจำวัน
"วาบิ-ซาบิ"
สุนทรียศาสตร์แบบญี่ปุ่นนี้ยกย่องความงามของความไม่สมบูรณ์แบบและความไม่จีรัง ในวัดเซน จะเห็นได้จากการใช้วัสดุธรรมชาติต่างๆ
"ชิบุอิ"
ชิบุอิ หมายถึงความเรียบง่ายสง่างามและความงามอันเรียบง่ายที่พบในการออกแบบแบบเซน เน้นการใช้วัสดุธรรมชาติและรูปทรงที่ประณีต
"ความสงบภายใน"
ท้ายที่สุดแล้ว ความเรียบง่ายของวัดเซนช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ เอื้อต่อการทำสมาธิและการปฏิบัติธรรม