ปรัชญาการทำงานแบบ “เจแปนเวย์” ผ่านมุมมองของผู้บริหารชาวไทย ซึ่งผ่านประสบการณ์ทำงานกับชาวญี่ปุ่นมานานกว่า 10 ปี......โดย ดร.ธนศักดิ์ วหาวิศาล
ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร บริษัทอิเดมิตสึ อพอลโล (ประเทศไทย) จำกัด

010
ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า 責任 (せきにん | Sekinin) หมายถึง “ความรับผิดชอบ” คำคำนี้อาจฟังดูธรรมดา แต่เมื่อเราได้ใช้ชีวิต หรือได้สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด เราจะเริ่มเข้าใจว่า “ความรับผิดชอบ” ของคนญี่ปุ่น…เริ่มต้นตั้งแต่ยังเป็นเด็กนักเรียน ไม่ใช่หลังจากเป็นผู้ใหญ่
ผมเคยไปเยี่ยมโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งที่ญี่ปุ่น ในวันนั้น ผมได้เห็นภาพที่ไม่เคยลืมเลยจนถึงวันนี้ หลังเวลาอาหารกลางวัน เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 ถึง 6 ลุกขึ้นจากโต๊ะอาหารอย่างเป็นระเบียบ
ไม่มีใครวิ่ง ไม่มีเสียงตะโกน เด็กบางคนเดินถือถาดอาหาร บางคนยกถังใส่น้ำซุป บางคนกำลังล้างถ้วยด้วยท่าทางจริงจังเหมือนกำลังทำงานในครัวร้านอาหารมืออาชีพ
แต่ที่ทำให้ผมประทับใจที่สุด คือไม่มีคุณครูคนไหนยืนคอยสั่ง ทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองโดยไม่ต้องมีใครเตือน ไม่มีใครหนี ไม่มีใครบ่น ไม่มีใครโยนภาระให้เพื่อน และเด็กคนหนึ่งที่ยืนล้างถ้วยอยู่ข้างๆผม หันมายิ้มแล้วพูดเบา ๆ ว่า “ของตัวเอง ต้องล้างเองค่ะ” นั่นคือวันที่ผมเข้าใจคำว่า 責任 (Sekinin) ในหัวใจของเด็กญี่ปุ่น
ผมถามคุณครูเจ้าของชั้นว่า ทำไมไม่จ้างแม่บ้าน หรือให้เจ้าหน้าที่ดูแล คุณครูตอบเรียบ ๆ ว่า
“เพราะเราต้องการสอนว่า ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในสังคม ห้องเรียนก็เหมือนบ้าน…และบ้านที่ดีคือบ้านที่ทุกคนช่วยกันดูแล” คำตอบนั้นสั้นมาก…แต่มันเปลี่ยนวิธีมองของผมเกี่ยวกับคำว่า “การศึกษา” ไปอย่างสิ้นเชิง
เมื่อผมกลับมานึกถึงการเรียนในวัยเด็กของผมเอง เราถูกสอนให้ท่องบทเรียน ให้สอบให้ได้คะแนนดี
แต่เราไม่เคยถูกสอนให้ล้างจานเองหลังทานอาหารกลางวัน เราไม่เคยต้องทำความสะอาดห้องเรียนที่เราใช้ทุกวัน หน้าที่เหล่านั้น…เรามอบให้ “แม่บ้าน” หรือ “คนอื่น” โดยไม่รู้ตัว แต่ที่ญี่ปุ่น เด็ก ๆ รู้ตั้งแต่ชั้นประถมว่า “การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม…ไม่ใช่แค่เรื่องการเรียนเก่ง
แต่คือการรับผิดชอบในหน้าที่เล็ก ๆ ที่อยู่ตรงหน้า”
และเมื่อผมนำบทเรียนนี้กลับมาปรับใช้ในการทำงาน ผมเริ่มเห็นว่า หลายครั้ง “ภาวะผู้นำ” ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่ง แต่เริ่มต้นจากเรื่องเล็ก ๆ เช่น… คุณล้างแก้วกาแฟของตัวเองไหม คุณเก็บโต๊ะเก้าอี้ที่คุณนั่งอย่างเรียบร้อยทุกวันไหม คุณเก็บเศษกระดาษแม้ไม่ใช่ของคุณไหม สิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ แต่มันคือ “ราก” ของความรับผิดชอบที่ลึกและมั่นคง เพราะคนที่รับผิดชอบสิ่งเล็กๆได้… ก็จะรับผิดชอบสิ่งใหญ่ๆ ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข
ความรับผิดชอบ ไม่ได้เริ่มจากคำสอน แต่มาจากการฝึกฝน เด็กญี่ปุ่นไม่ได้ล้างถ้วยเพื่อฝึกทักษะการใช้ฟองน้ำ แต่เขากำลังฝึก “หัวใจ” หัวใจที่รู้ว่า…สิ่งที่เราใช้ เราต้องดูแล สิ่งที่เราอยู่ร่วมกัน เราต้องช่วยกันรักษา และสังคมที่ดี ไม่ได้สร้างจากการสอนให้เก่ง
แต่สร้างจากการลงมือทำในสิ่งเล็กๆ…ซ้ำ ๆ ด้วยความตั้งใจ
“ถ้วยที่ล้างเอง แม้เล็กน้อย… แต่คือจุดเริ่มต้นของหัวใจที่รู้จักรับผิดชอบ และหัวใจแบบนั้นแหละ…คือผู้นำที่แท้จริงในอนาคต”
ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร บริษัทอิเดมิตสึ อพอลโล (ประเทศไทย) จำกัด
010
ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า 責任 (せきにん | Sekinin) หมายถึง “ความรับผิดชอบ” คำคำนี้อาจฟังดูธรรมดา แต่เมื่อเราได้ใช้ชีวิต หรือได้สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด เราจะเริ่มเข้าใจว่า “ความรับผิดชอบ” ของคนญี่ปุ่น…เริ่มต้นตั้งแต่ยังเป็นเด็กนักเรียน ไม่ใช่หลังจากเป็นผู้ใหญ่
ผมเคยไปเยี่ยมโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งที่ญี่ปุ่น ในวันนั้น ผมได้เห็นภาพที่ไม่เคยลืมเลยจนถึงวันนี้ หลังเวลาอาหารกลางวัน เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 ถึง 6 ลุกขึ้นจากโต๊ะอาหารอย่างเป็นระเบียบ
ไม่มีใครวิ่ง ไม่มีเสียงตะโกน เด็กบางคนเดินถือถาดอาหาร บางคนยกถังใส่น้ำซุป บางคนกำลังล้างถ้วยด้วยท่าทางจริงจังเหมือนกำลังทำงานในครัวร้านอาหารมืออาชีพ
แต่ที่ทำให้ผมประทับใจที่สุด คือไม่มีคุณครูคนไหนยืนคอยสั่ง ทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองโดยไม่ต้องมีใครเตือน ไม่มีใครหนี ไม่มีใครบ่น ไม่มีใครโยนภาระให้เพื่อน และเด็กคนหนึ่งที่ยืนล้างถ้วยอยู่ข้างๆผม หันมายิ้มแล้วพูดเบา ๆ ว่า “ของตัวเอง ต้องล้างเองค่ะ” นั่นคือวันที่ผมเข้าใจคำว่า 責任 (Sekinin) ในหัวใจของเด็กญี่ปุ่น
ผมถามคุณครูเจ้าของชั้นว่า ทำไมไม่จ้างแม่บ้าน หรือให้เจ้าหน้าที่ดูแล คุณครูตอบเรียบ ๆ ว่า
“เพราะเราต้องการสอนว่า ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในสังคม ห้องเรียนก็เหมือนบ้าน…และบ้านที่ดีคือบ้านที่ทุกคนช่วยกันดูแล” คำตอบนั้นสั้นมาก…แต่มันเปลี่ยนวิธีมองของผมเกี่ยวกับคำว่า “การศึกษา” ไปอย่างสิ้นเชิง
เมื่อผมกลับมานึกถึงการเรียนในวัยเด็กของผมเอง เราถูกสอนให้ท่องบทเรียน ให้สอบให้ได้คะแนนดี
แต่เราไม่เคยถูกสอนให้ล้างจานเองหลังทานอาหารกลางวัน เราไม่เคยต้องทำความสะอาดห้องเรียนที่เราใช้ทุกวัน หน้าที่เหล่านั้น…เรามอบให้ “แม่บ้าน” หรือ “คนอื่น” โดยไม่รู้ตัว แต่ที่ญี่ปุ่น เด็ก ๆ รู้ตั้งแต่ชั้นประถมว่า “การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม…ไม่ใช่แค่เรื่องการเรียนเก่ง
แต่คือการรับผิดชอบในหน้าที่เล็ก ๆ ที่อยู่ตรงหน้า”
และเมื่อผมนำบทเรียนนี้กลับมาปรับใช้ในการทำงาน ผมเริ่มเห็นว่า หลายครั้ง “ภาวะผู้นำ” ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่ง แต่เริ่มต้นจากเรื่องเล็ก ๆ เช่น… คุณล้างแก้วกาแฟของตัวเองไหม คุณเก็บโต๊ะเก้าอี้ที่คุณนั่งอย่างเรียบร้อยทุกวันไหม คุณเก็บเศษกระดาษแม้ไม่ใช่ของคุณไหม สิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ แต่มันคือ “ราก” ของความรับผิดชอบที่ลึกและมั่นคง เพราะคนที่รับผิดชอบสิ่งเล็กๆได้… ก็จะรับผิดชอบสิ่งใหญ่ๆ ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข
ความรับผิดชอบ ไม่ได้เริ่มจากคำสอน แต่มาจากการฝึกฝน เด็กญี่ปุ่นไม่ได้ล้างถ้วยเพื่อฝึกทักษะการใช้ฟองน้ำ แต่เขากำลังฝึก “หัวใจ” หัวใจที่รู้ว่า…สิ่งที่เราใช้ เราต้องดูแล สิ่งที่เราอยู่ร่วมกัน เราต้องช่วยกันรักษา และสังคมที่ดี ไม่ได้สร้างจากการสอนให้เก่ง
แต่สร้างจากการลงมือทำในสิ่งเล็กๆ…ซ้ำ ๆ ด้วยความตั้งใจ
“ถ้วยที่ล้างเอง แม้เล็กน้อย… แต่คือจุดเริ่มต้นของหัวใจที่รู้จักรับผิดชอบ และหัวใจแบบนั้นแหละ…คือผู้นำที่แท้จริงในอนาคต”