xs
xsm
sm
md
lg

ผู้รอดชีวิตจากปรมาณู​ ร่วมพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เทรุมิ ทานากะ (กลาง) ตัวแทนขององค์กรนิฮง ฮิดานเกียว (Nihon Hidankyo) ซึ่งเป็นองค์กรของญี่ปุ่นสำหรับผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู ที่สนามบินฮาเนดะของโตเกียว เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2567 ก่อนจะบินไปออสโลเพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2567 (เกียวโด)
เกี​ยว​โด​ (9​ ธ.ค.)​ กลุ่มผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูของญี่ปุ่น เดินทางจากโตเกียวเมื่อวันอาทิตย์ไปยังเมืองออสโล นอร์เวย์​ ร่วมพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

เทรูมิ​ ทานากะ จากสมาพันธ์องค์กรผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูแห่งญี่ปุ่น ซึ่งจะกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบรางวัลในวันอังคาร กล่าวก่อนออกเดินทางว่า "ผมอยากพูดถึงการรณรงค์ของผู้รอดชีวิตที่ยังคงเรียกร้องให้ยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์"

คณะผู้แทนผู้รอดชีวิตจะมีทั้งหมด 30 คน โดยเป็นผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู 17 คนจากญี่ปุ่น และที่อื่นๆ

ตามที่คณะกรรมการโนเบลของนอร์เวย์ระบุ​ องค์กร นิฮง​ ฮิดานเกียว ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังจากสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิเมื่อปี 1945 จะกล่าวรณรงค์​ในปีนี้ "ถึงการร่วมกันสร้างโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์"

คณะผู้แทนจากองค์กรยังวางแผนที่จะบอกเรื่องราวของการทิ้งระเบิดที่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น

ระเบิดปรมาณูที่ระเบิดขึ้นเหนือเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 140,000 และ 74,000 รายตามลำดับ เมื่อปี พ.ศ.2488 ญี่ปุ่นยอมแพ้หลังจากทิ้งระเบิดที่นางาซากิไป 6 วัน ส่งผลให้สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง

ขณะที่เหยื่อสงคราม​ และผู้รอดชีวิตจำนวนมากต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาว


กำลังโหลดความคิดเห็น