xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นโค่นป่าสน​ แก้ปัญหาไข้ละอองฟาง​

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น (ซ้าย) ตรวจสอบงานโค่นต้นไม้ในป่าในฮิตาชิโอมิยะ จังหวัดอิบารากิ ทางตะวันออกของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2566 ในขณะที่รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาไข้ละอองฟางด้วยการตัดต้นสนซีดาร์ซึ่งเป็นแหล่งของเกสรดอกไม้ (เกียวโด)
เกียว​โด​นิวส์​ (4​ มิ.ย.)​ ญี่ปุ่นตัดสินใจเมื่อวันอังคารที่จะเร่งเปลี่ยนป่าสนซือกิ (สนซีดาร์) ต้นไม้ที่ผลิตละอองเกสรน้อยกว่า เพื่อเป็นมาตรการในการจัดการกับไข้ละอองฟาง โรคภูมิแพ้ที่เชื่อกันว่าส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณร้อยละ 40 ของประเทศ

ญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายในการลดพื้นที่ปลูกต้นสนซีดาร์ลงประมาณร้อยละ 20 ภายในปีงบประมาณ 2576 หลังจากอดีตมีการปลูกต้นสนซีดาร์จำนวนมากเพื่อตอบสนองความต้องการที่อยู่อาศัยในช่วงที่ญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

การกระจายตัวของละอองเกสรดอกไม้เพิ่มขึ้นเมื่อป่าสนซีดาร์ที่ปลูกเติบโตขึ้น ทำให้เกิดไข้ละอองฟางแพร่หลายในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2513 โดยมีอาการหลายอย่าง เช่น น้ำมูกไหล จาม และคันตา โดยส่วนใหญ่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ

ตามรายงานในสมุดปกขาวที่ได้รับอนุมัติเมื่อวันอังคารโดยคณะรัฐมนตรี รัฐบาลจะเร่งการตัดโค่นป่าสนซีดาร์ และแทนที่ด้วยต้นกล้าหรือต้นไม้ชนิดอื่นที่ปล่อยละอองเกสรน้อยกว่า

ตามการสำรวจทั่วประเทศของแพทย์หู คอ จมูก โรคภูมิแพ้เกสรซีดาร์​ ส่งผลกระทบต่อประชากรร้อยละ 39 ในญี่ปุ่นในปี 2562 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 16 ในปี 2541

ข้อมูล​ระบุว่า​ ต้นสนซี​ดาร์​ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นสูง เติบโตในป่ารอบๆ เนินเขาที่มีความชุ่มชื้น ไม้สนชนิดนี้นำมาใช้ในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างอาคาร ลำต้นเมื่อเติบโตเต็มที่จะมีความสูง ประมาณ 30 ถึง 40 เมตร​ กว้างประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ดอกจะบานประมาณเดือนมีนาคม มีเกสรตัวผู้สีเหลือง และละอองเกสรตัวเมียสีเขียวอยู่ในดอกเดียวกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น