xs
xsm
sm
md
lg

ฆาตกรรมอาเบะ​ กับปัญหาทารุณกรรมเด็กในครอบครัวสาวกลัทธิ​ฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


แฟ้มภาพเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 แสดงให้เห็นซายูริ โอกาวะ (กลาง) ซึ่งเคยเป็นสาวก รุ่นที่สอง ของโบสถ์แห่งความสามัคคี และใช้นามแฝงเพื่อปกป้องตัวตนของเธอ กำลังแถลงข่าวที่กระทรวงสวัสดิการในกรุงโตเกียว (เกียวโด)
เกียว​โด​นิวส์​รายงาน​ (8พ.ค.) การลอบสังหารชินโซ อาเบะ โดยลูกชายของผู้ศรัทธาในโบสถ์แห่งความสามัคคี ทำให้ญี่ปุ่นต้องคำนึงถึงปัญหาการทารุณกรรมเด็ก และการละเลยที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของพ่อแม่

ภายหลังเหตุฆาตกรรมอดีตนายกรัฐมนตรีในปี 2565 รัฐบาลได้เริ่มการสำรวจศูนย์​แนะแนวเด็กทั่วประเทศเป็นครั้งแรก จำนวน​ 37​ แห่งจากทั้งหมด​ 229 แห่ง​ ระหว่างเดือนเมษายน 2565 ถึงกันยายน 2566​ 

อ้างจากการสำรวจซึ่งครอบคลุมผู้ติดตาม "รุ่นที่สอง" หรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ที่มีส่วนร่วมในองค์กรศาสนาอย่างแข็งขัน​ พบการละเมิดสิทธิ์เด็กโดยรวมถึงพ่อแม่ละเลยที่จะให้การรักษาพยาบาลแก่บุตรหลาน หรือการบังคับความเชื่อและการปฏิบัติต่อพวกเขา

ผลสำรวจเผยว่า ในบรรดาคดี 47 คดีที่ศูนย์ 37 แห่งได้ให้ความช่วยเหลือ มีเหยื่อ 19 รายที่ได้รับความคุ้มครองชั่วคราว ศูนย์ประมาณครึ่งหนึ่งกล่าวว่าพวกเขาพบปัญหาเนื่องจากผู้เสียหายมาขอความช่วยเหลือ

“การละเมิดทางศาสนามีแนวโน้มที่จะเป็นเรื่องภายในครอบครัวเว้นแต่เหยื่อจะออกมาแสดงตัว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เด็กๆ สามารถออกมาขอความช่วยเหลือได้” เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเด็กและครอบครัวที่รับผิดชอบการสำรวจ กล่าว

พบว่าผู้ปกครองบางคนบังคับให้สมาชิกในครอบครัวทำกิจกรรมทางศาสนาโดยใช้ความรุนแรงทางร่างกาย​ หรือโดยการขู่ว่าจะลงโทษในชีวิตหลังความตาย

การสำรวจไม่ได้ระบุว่า​ กลุ่มหรือศาสนาใดเชื่อมโยงกับการละเมิดหลักเกณฑ์ดังกล่าว

ผู้ปกครองที่ไม่สามารถจัดหาอาหารให้เพียงพอแก่บุตรหลานเนื่องจากทรัพยากรของพวกเขาถูกใช้ไปโดยการบริจาคให้กลุ่มศาสนาของตน ถือเป็นความผิดฐานละเลย

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 เท็ตสึยะ ยามากามิ ยิงสังหารอาเบะ ระหว่างการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง แม่ของยามากามิ บริจาคเงินจำนวนมหาศาลให้โบสถ์แห่งความสามัคคี​ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นเหตุให้​ครอบครัวของเขาขัดสนฐานะการเงินรุนแรง

แหล่งข่าวอ้างคำพูดของยามากามิ โดยระบุว่า​ เขามุ่งเป้าไปที่อาเบะ ในฐานะเป็นหลานของอดีตนายกรัฐมนตรีโนบุสุเกะ คิชิ ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนองค์กรศาสนาโบสถ์​แห่งความสามัคคี​เมื่อเริ่มเข้ามาก่อตั้งในประเทศ

คำตอบแบบสำรวจที่พบมากที่สุดคือ "การยุยงให้เกิดความวิตกกังวลด้วยคำพูดหรือวิดีโอ ตลอดจนการเพิกเฉยหรือคุกคาม" ตามมาด้วยกรณีที่เกี่ยวข้องกับการที่ผู้ปกครอง "ปฏิเสธการรักษาพยาบาลลูก​ ฝืนคำแนะนำของแพทย์"

การสำรวจที่ได้รับคำตอบจากโรงพยาบาล 138 แห่งที่มีศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินยังพบกรณีละเลยทางการแพทย์อย่างน้อย 20 กรณี รวมถึงการปฏิเสธการถ่ายเลือด 

นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่นำไปสู่การเสียชีวิต เนื่องจากผู้ปกครองไม่อนุญาตให้บุตรหลานเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาล หรือปฏิเสธการปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น