xs
xsm
sm
md
lg

ทำไมหนุ่มสาวญี่ปุ่นลาออกจากงานข้าราชการ?!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว อาทิตย์ที่แล้วผมเล่าว่าเจอรถน้ำดับเพลิงของหน่วยงานราชการมาเล่นฉีดน้ำสงกรานต์ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกตาสำหรับผมมาก คุณพี่หนุ่มหล่อหน้าตาดียืนฉีดน้ำอย่างมีความสุขบนรถดับเพลิงและบ่งบอกว่าประเทศไทยดีที่สุด! สงกรานต์ผ่านไปแล้ว แต่อากาศยังร้อนระอุอยู่เลย ผมรู้สึกเหมือนมันร้อนขึ้นทุกปี แบบนี้ถ้ามีสาดน้ำกันบ่อยๆ คงสนุกดีนะครับ

เมื่อผมลองนึกถึงการขออนุญาตใช้รถดับเพลิงที่ญี่ปุ่น และประเด็นที่ว่าข้าราชการจะได้รับอนุญาตให้เล่นสนุกได้มากน้อยแค่ไหน (เพราะพนักงานที่เกี่ยวกับงานดับเพลิงถือว่ารับราชการครับ) ซึ่งผมคิดไม่ออกจริงๆ กับการขับรถดับเพลิงมาใช้ในเทศกาลละเล่นสนุกในชุมชนแบบเมืองไทย จะเป็นไปได้ไหม?!


เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่ามีข้าราชการลาออกจากงาน นี่ไม่ใช่ว่าเพราะข้าราชการเป็นบุคคลพิเศษ (สถานที่ทํางานของญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นแนวแบล็กทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ และเงินเดือนก็ไม่สูงอย่างที่พูดกันทุกวันนี้...) ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นมีจํานวนของคนหนุ่มสาวแค่เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนคนในช่วงวัยที่มีมากที่สุด ดังนั้น ภาคเอกชนจึงพยายามปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อรักษาเด็กๆ เหล่านี้เนื่องจากขาดกําลังคนและกลัวคนอายุน้อยจะเปลี่ยนงาน เพราะปัจจุบันมันง่ายที่คนจะลาออกจากสํานักงานที่ทำอยู่ → อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะลาออก ก็โชคไม่ดีที่โลกภายนอกมักจะคิดเพียงว่าคนที่ลาออกจะไปหาทํางานที่แตกต่างออกไปนั้นยากมาก เพราะสิ่งเดิมๆ ที่ทำมานานมันฝังแน่นในคนคนนั้นที่ทำงานที่เดิมอย่างยาวนาน และแทบจะไม่สามารถมีทักษะอื่นๆ ที่จะช่วยให้เปลี่ยนงานใหม่ๆ ได้…(^^;) เด็กใหม่ๆ หรือคนที่ลาออกแล้วไม่รู้จะไปทำงานอะไรจึงหันไปเป็นยูทูบเบอร์กัน


สําหรับคนที่ลาออกจากงานในไม่กี่เดือนหลังจากเข้าทำงานคงไม่เกี่ยวกับสถานที่ทํางานมากนัก ผมคิดอย่างนั้น แต่ถ้ามีคนที่ทํางานติดต่อกันมากกว่า 17 ปีแล้วลาออกเขาจะได้รับใบประกาศนียบัตรบางอย่างจากหน่วยงาน ที่อุตส่าห์ทนทํานานขนาดนั้น เปรียบไปก็เหมือนเป็น JOB master ในเกม RPG อืม ... แต่ผมเห็นอกเห็นใจคนที่ลาออกในกรณีแบบนี้มาก (*゚∀゚)*。_。)

คนที่ลาออกก่อนหน้านี้พูดว่าแม้เขาจะไม่มีทักษะใดๆ และมันไม่ได้ช่วยชีวิตในอนาคตของเขาเลย แต่การผ่านงานราชการมาก็ทำให้รู้ว่าในระหว่างขั้นตอนของการทำงานตามแบบสํานักงานรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นเป็นอย่างไร ถ้ารู้ว่ามีปัญหาอะไร สามารถเจรจาได้ เพื่อหาความคืบหน้า เช่น สามารถสอบถามข้าราชการได้เลยว่า "ควรทําอย่างไรกับการอยู่เกินกําหนด" เป็นต้น


มีเจ้าหน้าที่พนักงานราชการบางคนพูดว่า "ฉันไม่อยากทํางาน" (ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับแรงจูงใจตั้งแต่แรกเข้างาน!) และมีคนจำนวนน้อยลงที่พูดว่า "ฉันอยากทํางาน" เมื่อคนมีความคิดว่า "ฉันไม่ต้องการรับผิดชอบใดๆ " หากเข้าใจมุมมองนี้ จะสามารถอ่านการกระทําของพวกเขาได้ ยิ่งคนทำงานจริงจังมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งไม่ซาบซึ้งกับงานมากขึ้นเท่านั้น แต่กลับกันงานที่ไม่จําเป็นก็ยิ่งเพิ่มขึ้น และถ้าคนที่รับราชการไปทำงานพิเศษ จะไม่เพียงแต่มีช่วงเวลาที่ยากลําบากเท่านั้น แต่คนรอบข้างก็จะไม่พอใจเอาด้วย (´-`*).。oO ถ้าคิดมากอาจจะมีสุขภาพจิตไม่ดีได้ และมันก็ขัดแย้งกัน ผมไม่คิดว่างานราชการเหมาะสมที่สุดสําหรับคนจริงจัง คนจริงใจ และผู้ที่ต้องการได้รับการชื่นชมจากผู้คน (*´꒳`*) ..ซึ่งผมจะไม่เป็นข้าราชการตั้งแต่แรก...


ส่วนเรื่องสงกรานต์แสนสนุกในประเทศไทยและรถดับเพลิงแสนสนุกที่เห็นที่เมืองไทย

สมมติว่าหากเกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงระหว่างการเอารถดับเพลิงแสนสนุกมาเล่นในเทศกาลเช่นนี้ที่ญี่ปุ่น จะต้องจัดงานแถลงข่าวและขอโทษอย่างจริงจัง และหากมีคนเสียชีวิต ก็จะเต็มไปด้วยสาธารณชนและสื่อมาทำข่าวในระดับการลาออกของผู้บริหารสูงสุด ...

ข่าวก่อนหน้าที่บอกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดคุมาโมโตะลาออกก็มีอีเวนต์กอดหมีคุมะมง และรองผู้ว่าราชการจังหวัดซากะในคิวชูที่เอา ชิมะ โคซาคุ มาแสดง (การ์ตูนมังงะที่ได้รับความนิยมจากคนไทย น่าจะเป็นผู้จัดการแผนกที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่น) แล้วถ้าเอารถดับเพลิงมาใช้แบบนี้ผมคิดว่ามันจะเป็นงานใหญ่และใหญ่อย่างแน่นอน คนจะเริ่มหยั่งรากการชุมนุมเพื่อขอรับการอนุมัติจากระดับบนๆ ก่อนล่วงหน้าที่จะมีงานมากกว่า 6 เดือน และประชุมเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายและข้อบังคับ มีการส่งจดหมายตอบกลับกันมากกว่า 20 รอบ ในกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของกระทรวงการกํากับดูแลและหน่วยงานของประเทศ (แน่นอนในเอกสารกระดาษ ต้องประทับตราอย่างเป็นทางการ!) (´・ω・`) แน่นอนว่ามันไม่ใช่แบบนี้ในที่ประชุมเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทําเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นจุดสําคัญ

ผมรักแบบเมืองไทย คือมันจะดีสําหรับทุกคนที่จะร่วมสนุกสนานกันในวันเทศกาล ผมคิดไม่ออกที่จะมีเหตุการณ์แบบนี้ในญี่ปุ่น วันนี้เล่าสู่กันฟังครับ พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น