xs
xsm
sm
md
lg

ไปย่านริมน้ำที่โตเกียวระวังเจอวัยรุ่นซ่าท้าดวล!!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว อาทิตย์ที่แล้วพูดเรื่องการเขม่นกันของนักศึกษาต่างสถาบันที่ญี่ปุ่น ก็ต้องขอบคุณเพื่อนๆ นะครับที่มาอ่านเป็นกำลังใจและมีคอมเมนต์มีคำถามต่างๆ เข้ามา

คือจริงๆ แล้วที่ญี่ปุ่นมีนักเรียนที่ทะเลาะกันนะครับในสมัยอดีตที่จะเห็นในมังงะต่างๆ ยุคที่นักเรียนชกต่อยหรือเรียกว่าตีกันเคยมีมาจนถึงประมาณยุคโชวะครับ เพราะสมัยนั้นงานยังไม่เครียดไม่ยุ่งยากอะไรมาก คนยังมีเวลาเหลือเฟือบ้างก็ไม่มีอะไรจะทำ เลยกลายเป็นใช้ความรุนแรงกันไป ประมาณนักเรียนชกต่อยกันเหมือนในมังงะเลยครับ ซึ่งสมัยนั้นยังมีทั้งนักเรียนทะเลาะกันเอง และทั้งอาจารย์กระทำการรุนแรงต่อนักเรียนครับ แต่ละโรงเรียนที่ญี่ปุ่นอาจจะแตกต่างกันนิดหน่อยแต่ถ้าเรื่องของมังงะที่เกี่ยวกับนักเรียนทะเลาะกันนี่คนญี่ปุ่นจะชอบมากๆ เลยทีเดียว


แต่การทะเลาะวิวาทกันสมัยนั้นเขาไม่ได้ใช้มีดใช้ปืนหรืออาวุธอะไรนะครับ เพราะว่าถ้าใช้จะรู้สึกว่าเสียหน้า จะใช้วิธีชกกันเสียมากกว่า แต่หลังจากที่ยุคนั้นมีการทะเลาะชกต่อยกันมากรัฐบาลจึงปรับระบบการศึกษา มีการศึกษาที่ปลูกฝังไม่ให้คนกลายเป็นนักเลงครับ ทำให้คนรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่นิยมต่อยตีกัน ซึ่งปัจจุบันคนญี่ปุ่นที่มีช่วงอายุที่อยู่ในช่วงวัย 30 ปีจะไม่ค่อยมีการใช้ความรุนแรงเหมือนสมัยก่อน แต่กลายเป็นว่าคนช่วงวัย 20 ปีที่เป็นลูกๆ ของคนยุคที่ใช้กำลังสมัยโชวะนั้นเป็นเด็กที่มีความรุนแรงอยู่เหมือนกัน

มีการ์ตูนเรื่อง ろくでなしBLUES จอมเกบลูส์ (มาเอดะ ไทซัน) ถือเป็นตัวอย่างของชีวิตนักเรียน นักเลงของญี่ปุ่น สมัยนั้นถูกต้องเลยครับ ถึงจะยกพวกมาหลายคนแต่ส่วนใหญ่เน้นการชกกันแบบตัวต่อตัว เรียกว่า タイマン Taiman คือ 1 ต่อ 1, และ ステゴロ、素手ゴロ Sutegoro คือห้ามใช้อาวุธใดๆ


นวนิยายเรื่องแรกที่เขียนโดยนักเขียนชื่อคุณ 椎名誠 Makoto Shiina ที่ผมรู้สึกให้ความเคารพนับถือ คือเรื่องราชดำเนินคิก ( 「ラジャダムナン・キック」 Rajadamnan Kick ) ทุกครั้งในหนังสือจะบอกว่า "เมื่อเปรียบเทียบเด็กชายชาวญี่ปุ่นและไทย คนไทยจะสะดุดตา ดวงตาโตน่ากลัวกว่ามาก ดูเหมือนว่าจะเฉียบคมและการต่อสู้ก็แข็งแกร่ง (ผมก็เห็นด้วย) และอาจมีนักเรียนที่ชอบการต่อสู้จำนวนมากในโรงเรียนที่ประเทศไทย เช่นเดียวกับที่มีนักเรียนที่สามารถรักการเรียนได้มากที่สุดในแต่ละโรงเรียนในญี่ปุ่น”


ซึ่งผมเคารพคุณ 椎名誠 Makoto Shiina แต่ผมคิดว่าอาจจะตรงกันข้ามนิดหน่อย (´・ω・`;) ในงานที่เขาเขียนเกี่ยวกับวัยเด็กของเขา บอกไว้ว่าวันหนึ่งพี่ชายเขากลับมาจากโรงเรียนด้วยตาบวมแดง และตั้งแต่วันนั้นพี่เขาก็ซ้อมชกกับกระดานไม้ในสวนหลังบ้านและฝึกคาราเต้ เหมือนกับตั๊กแตนตําข้าว!

สำหรับเด็กไทย ผมไม่เคยได้ยินเรื่องคนไทยที่อยากชกต่อยกัน ชวนกันไปเริ่มเรียนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เช่น มวยไทย หรืออื่นๆ เห็นเพื่อนบอกว่านักเลงไม่จําเป็นต้องฝึกเพราะแข็งแกร่งมาตั้งแต่แรก และที่เมืองไทยส่วนใหญ่เขาใช้อาวุธ!!


เมื่อไม่นานมานี้ในญี่ปุ่นได้ยินว่ามีพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยเล็กน้อยอยู่ทางตะวันออกของโตเกียว มีข่าวว่ามีกลุ่มนักเรียนเป็น Taiman ในย่านริมแม่น้ำ และเกิด "อาชญากรรมท้าดวล" กันขึ้นในรอบประมาณ 100 ปี ซึ่งปฏิกิริยาของชาวเน็ตคือ "มันดูดีมีพลังนะ!" มีปฏิกิริยาอันอบอุ่นมากมาย เหมือนคนญี่ปุ่นโหยหาอารมณ์ Taiman หรือเปล่า?

ที่บอกว่าสมัยก่อนนั้นนักเลงมักจะ Taiman คือสู้ตัวต่อตัว และอายที่จะใช้อาวุธที่ไร้ประโยชน์ (ไม่ใช่แค่ปืนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาวุธอื่นๆ เช่น ท่อเหล็กและสนับมือ) ซึ่งในมังงะอาจจะมีภาพสนับมือออกมาอยู่บ้าง แต่มีโฆษณาข้างๆ มังงะเรื่องที่มีการต่อสู่อย่างแน่นอน ซึ่งสนับมือเป็นอาวุธที่จะใส่กําปั้นที่จะใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้การชกด้วยกำปั้น หรือเพิ่มพลังโจมตีนั่นเอง ที่ญี่ปุ่นเรียกสนับมือไว้หลายชื่อเลยครับ


ในโฆษณา สนับมืออาจมีขนาดกะทัดรัดคือขนาดที่พอดีที่จะเก็บในกระเป๋า และขายในชื่ออื่นๆ ที่รู้กัน เช่น น้ำหนักกระดาษ ที่ใส่ปากกา หัวเข็มขัด ดัมเบลล์น้ำหนักเบาสําหรับการฝึก ในแวบแรกบางครั้งสามารถถูกมองว่าเป็นแค่แหวนเท่านั้น มีโฆษณาแบบนี้ก็แสดงว่าอาจจะยังมีคนซื้ออยู่นะครับ (*´-`)

มาถึงตรงนี้ที่บอกว่าคนญี่ปุ่นไม่ว่าอะไรกับพวกเด็กที่แสดงให้เห็นว่าเป็นอาชญากรรมท้าดวล! คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ยังอาจชอบความรุนแรงแบบชกต่อยกันไม่ว่าจะชายหรือหญิง แม้ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ต่อสู้ก็ตาม มันน่าทึ่งมากที่หลายคนโหยหาอารมณ์มังงะที่ชกกันตัวต่อตัว แต่ผมรู้สึกว่าสถานการณ์ค่อนข้างแตกต่างจากประเทศไทยสักหน่อยครับ วันนี้เล่าสู่กันฟัง พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น