xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่น​เสียตำแหน่งชาติเศรษฐกิจ​อันดับ 3 ของโลกให้เยอรมนี​

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เกียว​โด​นิวส์​ (15​ ก.พ.)​ ญี่ปุ่นสูญเสียสถานะประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกให้เยอรมนีในปี 2566 และเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างไม่คาดคิดในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ

รัฐบาลแถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของญี่ปุ่น (ไม่ได้ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ) มีมูลค่ารวม 4.21 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากเยอรมนีที่ 4.46 ล้านล้านดอลลาร์​ สาเหตุหลักมาจากค่าเงินเยนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

สำนักงานคณะรัฐมนตรีระบุว่า สำหรับไตรมาสเดือนตุลาคม-ธันวาคม เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า หรืออยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี โดยการใช้จ่ายของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขาดความเข้มแข็งท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ

การหดตัวติดต่อกันสองในสี่หมายความว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอยทางเทคนิค ก่อให้เกิดความท้าทายสำหรับรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่ต่างพยายามจะบรรลุการเติบโตโดยขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ในประเทศ​ ควบคู่​กับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนที่สำรวจโดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจแห่งญี่ปุ่นคาดการณ์การขยายตัวมูลค่ารวมของสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ​อยู่​ที่​ร้อยละ 1.28 ต่อปี

“ปัญหาไม่ใช่แค่ว่าการเติบโตติดลบ แต่อุปสงค์ในประเทศก็ทรุดตัวลงเช่นกัน และข้อมูลก็ดูแย่มาก” โทรุ ซูเอฮิโระ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทหลักทรัพย์ไดวะ กล่าว พร้อมเรียกผลลัพธ์ดังกล่าวว่าเป็น “ความประหลาดใจเชิงลบ” สำหรับตลาด

เขากล่าว พร้อมเสริมว่าธนาคารกลางจะยังคงเคลื่อนไหวเพื่อยุติอัตราติดลบ นโยบายฤดูใบไม้ผลินี้ยังเป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดไว้

การบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจ ลดลงร้อยละ 0.2 นับเป็นการลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากครัวเรือนต่างๆ ต้องต่อสู้กับค่าครองชีพที่สูงขึ้นและมูลค่าค่าจ้างที่แท้จริงที่ลดลง

นอกจากนี้ การใช้จ่ายด้านทุนยังขาดความแข็งแกร่ง โดยลดลงร้อยละ 0.1 อันเป็นสัญญาณที่น่ากังวลว่าบริษัทญี่ปุ่นยังคงระมัดระวังในการเพิ่มการลงทุน แม้ว่าจะมีแผนงานที่แข็งแกร่งก็ตาม

ด้านการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ​ 0.7 เป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน​

“การที่เยอรมนีแซงหน้าญี่ปุ่น​ แสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นสำหรับเราที่จะต้องส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างและสร้างเวทีใหม่สำหรับการเติบโต” โยชิทากะ ชินโด รัฐมนตรีกระทรวงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ กล่าวในงานแถลงข่าว

“เราจะปรับใช้ขั้นตอนนโยบายทั้งหมดเพื่อสนับสนุนการปรับขึ้นเงินเดือน” เพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์อันยั่งยืน เขากล่าวเสริม

แม้ว่าอุปสงค์ในประเทศจะชะลอตัว แต่การส่งออกยังคงเติบโต โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 โดยได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวขาเข้าที่ฟื้นตัว การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนญี่ปุ่นจะถือเป็นการส่งออกในตัวเลขจีดีพี

ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทั่วโลกยังคงมีอยู่ แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัวได้ แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังก็ตาม การจัดส่งรถยนต์ไปยังสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีที่แล้ว


กำลังโหลดความคิดเห็น