สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว ผมได้คุยกับเพื่อนที่ญี่ปุ่น เพื่อนคนนี้เรียนจบมหาวิทยาลัยชื่อดังที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มาก หมายถึงคนที่เรียนที่นี่อย่างน้อยก็เด็กสายวิทยาศาสตร์ เก่งคำนวณกว่าผมแน่ๆ เราคุยกันเรื่องหน่วยเงินตราของเมืองไทยครับ คือ หน่วยสลึง สตางค์พวกนี้ ที่คุยกันเรื่องหน่วยเงินตราของไทยเพราะคุยกันเรื่องเบียร์ครับ ผมได้ยินมาว่าเมื่อ 80-90 ปีก่อนเบียร์ของเมืองไทยมีราคาประมาณ 1 บาทกว่าๆ ส่วนเงินเดือนข้าราชการประมาณเดือนละ 3 บาทกี่สตางค์ก็ว่าไป นั่นแสดงว่าราคาเบียร์ก็เกือบครึ่งหนึ่งของเงินเดือนเลยทีเดียวนะครับ
เพื่อนผมจึงถามผมว่าสตางค์คืออะไร? เขาเพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก ได้ยินว่าหน่วยเงินตราของไทยคือบาทไม่ใช่เหรอ ผมเลยบอกว่าเป็นหน่วยย่อยของเงินไทย ตอนนี้ที่เมืองไทยยังใช้หน่วยเงินสตางค์อยู่นะ เพื่อนก็เลยถามต่อว่ามีเหรียญหนึ่งสตางค์ไหม? ผมบอกว่าไม่มีเหรียญหนึ่งสตางค์ มีเหรียญ 25 สตางค์ ปกติ 25 สตางค์ = 1 สลึง และบางคนยังเรียก 2 สลึง 3 สลึง 4 สลึงแบบนี้ก็ได้ เพื่อนเลยบอกว่า 1 บาทเท่ากับ 100 สลึงใช่ไหม?? ผมบอกว่าไม่ใช่!!! ผมอธิบายไปกี่รอบเพื่อนผมก็งงมาก ไม่สามารถเข้าใจตรงนี้ได้จริงๆ (*´꒳`*)
ที่จริงเพื่อนผมเป็นคนที่คิดเลขเก่งมากเลยนะครับ เพราะเขาเรียนจบสายวิศวกรรมมา แต่เขาเพิ่งเคยได้ยินหน่วยเงินว่าสตางค์และสลึงของไทยเป็นครั้งแรกเขาจึงงงมาก แล้วไม่สามารถเข้าใจได้จริงๆ
วันนี้ผมคิดว่าจะพูดเรื่องของหน่วยที่เข้าใจยากครับ ใครได้ยินเป็นครั้งแรกก็มีงงได้เหมือนกันนะครับ
.. และหน่วยอื่นๆ ไม่ว่าตัวเลขจะเยอะหรือน้อย ผมรู้สึกว่าเราอาจมีความรู้สึกสับสนที่เกิดจากหน่วยที่ไม่คุ้นเคยอย่างแน่นอน มีข่าวรุนแรงมากมายในญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนแรกของปีนี้ แต่ปีที่แล้วมีอุบัติเหตุที่เป็นที่จับตาไปทั่วโลกคือเรื่องเรือดําน้ำของทัวร์เรือดําน้ำไททันหายไประหว่างทางลงไปสำรวจซากเรือไททานิค เหตุผลที่ผมสนใจอย่างมากกับเรื่องนี้คือตอนที่เกิดเหตุใครๆ คิดว่ามันเป็นเพียงทัวร์ดําน้ำ และมีประเด็นพูดคุยถึงสาเหตุที่เรือหายไปมากมาย ตอนนั้นมีข่าวมากมายและผู้โดยสาร 5 คนในเรือจะรู้สึกอย่างไรหากพวกเขาพบว่าออกซิเจนจะหมดใน 48 ชั่วโมง! เมื่อได้เห็นคลิปของลูกทัวร์ก็เห็นรอยยิ้มเจื่อนๆ หลังเวลาอาหารกลางวัน เมื่อลูกทัวร์ถูกพาไปที่เรือดำน้ำที่ค่อยๆ ถูกหย่อนลงน้ำไป โดยมีไกด์ในการดําน้ำกับเรือนี้เป็นครั้งที่สอง ( ´∀`;)
แต่ท้ายที่สุดแล้วค้นพบชิ้นส่วนที่ถูกบีบอัดของตัวเรือในภายหลัง และสาเหตุของการเสียชีวิตของลูกเรือและผู้โดยสารไม่ใช่การขาดออกซิเจน แต่เป็นการเสียชีวิตจากการบีบอัดจนระเบิดเนื่องจากแรงดันน้ำสูง (จุดเกิดเหตุอยู่ที่ระดับความลึก 3,000 เมตร ความดันบรรยากาศ 300 atm นั่นคือ 300 เท่าของความดันบนพื้นดิน (มาตรวัดแรงดันใช้ได้หลายมาตรา รวมถึงมาตราที่เรียกว่า “ความกดบรรยากาศ” หรือ atmosphere (atm) โดยแรงกดดันที่ระดับผิวน้ำทะเลจะอยู่ที่ 1atm หรือเท่ากับแรงกด 10.33 ตันต่อตารางเมตร (1 atm = 14.69 psi) มันส่งผลกระทบต่อพื้นผิวทั้งหมด อนุมานได้ว่าโชคดีที่ในตัวเรือถูกบีบอัดภายใน 0.001 วินาที แม้จะมีอุณหภูมิมากกว่า 8000 ℃ แต่ไวมากจนไม่มีเวลารู้สึกเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมาน ...
การเอาตัวรอดของทุกคนที่เกี่ยวข้องในการดำน้ำจึงกลายเป็นความสิ้นหวัง เราอาจเคยได้ยินหน่วยเซลเซียสและฟาเรนไฮต์ซึ่งเป็นหน่วยอุณหภูมิ แต่ยังมีหน่วยต่างๆ เช่น Bar (บาร์) และ Pascal (ปาสกาล) ที่เป็นหน่วยความดันบรรยากาศด้วย
ตัวอย่างปริมาณ: (ข้อมูลจากอินเือร์เน็ต)
* 1 บาร์ = 100000 ปาสกาล (Pa) = 100 กิโลปาสกาล (ปาสกาลคือหน่วยนิวตันต่อตารางเมตร)
* 1 บาร์ = 1,000,000 แบรี (barye) = 1,000,000 ดายน์ต่อตารางเซนติเมตร (dyn/cm²)
* 1 บาร์ ≈ 0.98692 ความดันบรรยากาศ (atm)
* 1 บาร์ ≈ 14.5037744 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi)
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากสําหรับมือสมัครเล่นอย่างผมที่จะเข้าใจหน่วยเหล่านี้ ... ที่จริงมีข่าวลือเรื่องความจริงที่ไม่รู้ที่แพร่กระจายบนโลกโซเชียล (SNS) ของญี่ปุ่นว่าทําไมเรือถึงดําน้ำไปถึงระดับความลึก 4,000 เมตรแม้ว่าจะได้รับการรับรองสําหรับแรงดันน้ำได้แค่ 1,300 เมตรเท่านั้น? →มีคนพูดว่า เขาไม่ได้เข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีการเมตริกและวิธีการปอนด์หลาหรือ?! อันที่จริงเราอาจไม่รู้ความจริงในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ได้ ผู้เชี่ยวชาญที่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการตรวจสอบและตรวจสอบซ้ำ ... แต่จริงๆ แล้วหลายความผิดพลาดมาจากความผิดพลาดของมนุษย์ทำให้เกิดเหตุแบบนั้น...
เช่นเมื่อต้นปีที่ญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวและข่าวรุนแรงหลายข่าวมากเกินไป และเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินเฉี่ยวชนกันที่สนามบินฮาเนดะเมื่อวันที่ 2 มกราคม แม้ว่าวิทยุสื่อสารจะเป็นการสื่อสารกันระหว่างชาวญี่ปุ่น แต่ผู้ควบคุมและนักบินก็สื่อสารกันเป็นภาษาอังกฤษ!!
วิทยุภาษาอังกฤษที่ผู้ควบคุมบอกให้ไปข้างหน้าและรอหน้ารันเวย์หมายเลข 1 → นักบินเข้าใจว่าคือลําดับความสําคัญอันดับหนึ่ง นั่นคือหมายเลข 1 เกิดทำให้เข้าใจผิดพลาด และปัจจุบันกล่าวว่าเป็นเพราะความผิดพลาดของกัปตันของเครื่องหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นที่เข้าใจเนื้อหาผิด (อันที่จริงไม่มีรหัสผ่านพิเศษสำหรับวิทยุที่เรียกว่า No.1)
อุบัติเหตุครั้งนี้ยังเกิดจากการคาดเดาต่างๆ (ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศและหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นเป็นข้าราชการแห่งชาติและความผิดพลาดในระดับชาตินั้นแรงมาก) อาจมีบางครั้งที่ความจริงยังไม่เป็นที่เปิดเผยหรือไม่สามารถเปิดเผยได้
ดังนั้น หน่วยที่เข้าใจยากจึงทําให้เกิดความสับสน และไม่ควรใช้เพราะอาจทำให้เกิดอันตราย! คิดอย่างนั้นไหมครับ? แต่น่าเสียดายที่ชีวิตประจําวันในญี่ปุ่นก็ยังเต็มไปด้วยหน่วยลึกลับเช่นกัน อาทิตย์หน้าเรามาคุยเรื่องนี้กันครับ วันนี้เล่าสู่กันฟัง พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีครับ