xs
xsm
sm
md
lg

ส่งออกอาหารทะเลญี่ปุ่นทรุด! ยอดค้าไปจีนตก 23% ​

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


หอยเชลล์จากเมืองซารุฟุสึ ฮอกไกโด ในเดือนมีนาคม 2021 (เกียวโด)
เกียว​โด​นิวส์​รายงาน ​(6 ​ก.ย.)​ มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลของญี่ปุ่นไปจีนลดลงร้อยละ 23.2 ในเดือนกรกฎาคมจากปีก่อนหน้า เหลือ 7.7 พันล้านเยน (52 ล้านดอลลาร์) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากจีนทดสอบรังสีแบบครอบคลุมในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวซึ่งเริ่มต้นในเดือนนั้น

ข้อมูลของรัฐบาลเปิดเผยเมื่อวันอังคาร การส่งออกผลิตภัณฑ์ประมง โดยเฉพาะหอยเชลล์ ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคม​ 2564

แม้จะมีข้อกังวลจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน แต่ญี่ปุ่นยังคงดำเนินการปล่อยน้ำจากโรงงานฟุกุชิมะ ไดอิจิต่อไปในปลายเดือนสิงหาคม ส่งผลต่อมาจีนตอบโต้ด้วยมาตรการระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่น

เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตร​ ป่าไม้และประมงกล่าวว่า​ การสั่งห้ามดังกล่าวมีแนวโน้มให้การส่งออกอาหารทะเลที่ผูกกับจีนจะลดลงอีกในเดือนสิงหาคม

ปลาทูน่ายังเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการทดสอบรังสีของจีน​ ซึ่งทำให้ขั้นตอนศุลกากรยาวนานขึ้น

ข้อมูลเผยว่ามูลค่าการส่งออกรวมของผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมงของญี่ปุ่นไปจีนในเดือนกรกฎาคมลดลง 20.8% ที่ 2.25 หมื่นล้านเยน

การส่งออกรวมของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปฮ่องกงลดลงร้อยละ 2.9 ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพียงอย่างเดียวลดลงร้อยละ 11.0

ผลกระทบของการตรวจสอบที่เข้มงวดของจีน มูลค่ารวมของการส่งออกอาหาร เกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมงของญี่ปุ่นลดลง 0.03% เหลือ 1.178 แสนล้านเยน ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน

การลดลงนี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของกระทรวงในการเพิ่มการส่งออกประจำปีเป็น 2 ล้านล้านเยนภายในปี 2568

หน้าจอขนาดใหญ่ในกรุงปักกิ่งฉายเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2566 ภาพถังเก็บน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้ว ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น (เกียวโด)
ญี่ปุ่นประท้วงจีนสั่งห้ามปล่อยน้ำฟุกุชิมะที่ WTO

รัฐบาลญี่ปุ่นระบุเมื่อวันอังคารว่า ได้ยื่นเอกสารไปยังองค์การการค้าโลก (World Trade Organisation/WTO)​ เพื่อประท้วงการห้ามนำเข้าอาหารทะเลแบบครอบคลุมของจีน ภายหลังการปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ฮิโรคาสุ มัตสึโนะ โฆษกระดับสูงของรัฐบาล กล่าวว่า เอกสารลงวันที่วันจันทร์ (13) ได้แจกจ่ายให้สมาชิกของ​ WTO

มัตสึโนะกล่าวว่าญี่ปุ่นยื่นประท้วง​ กรณีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา จีนได้แจ้งให้ WTO ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศทราบถึงการห้ามนำเข้าฉุกเฉิน 

ญี่ปุ่นระบุว่าการระงับการนำเข้าของจีนนั้น "ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง" และเสริมว่าโตเกียวจะยังคงขอให้ปักกิ่ง "ยกเลิกมาตรการในทันที" เรียกร้องให้จีนทบทวนการห้ามนำเข้าตามกฎของข้อตกลงการค้าหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งทั้งโตเกียวและปักกิ่งเป็นผู้ลงนาม

เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำบำบัดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก แม้ว่าจะมีความขัดแย้งจากอุตสาหกรรมประมงในท้องถิ่นและจีนก็ตาม โรงงานแห่งนี้ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อเดือนมีนาคม 2554

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2023 มีป้าย (ซ้าย) ที่มุมซูชิในซูเปอร์มาร์เกตในปักกิ่ง โดยเน้นว่าส่วนผสม ไม่ได้นำเข้าจากญี่ปุ่น (เกียวโด)
จีนปฏิเสธข้อเสนอของญี่ปุ่นให้เข้าร่วมกรอบเจรจาน้ำฟุกุชิมะ

แหล่งข่าวที่คุ้นเคยกับความสัมพันธ์ทวิภาคีกล่าวเมื่อวันอังคาร จีนปฏิเสธข้อเสนอของญี่ปุ่นที่จะเข้าร่วมกรอบการตรวจสอบระหว่างประเทศ​ สำหรับการประเมินผลลัพธ์ของการติดตามระดับรังสีในน้ำบำบัดที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า จีนต่อต้านการปล่อยมหาสมุทรอย่างแข็งขัน และสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่นนับตั้งแต่เริ่มเมื่อปลายเดือนสิงหาคม โดยเรียกน้ำดังกล่าวว่า “มีการปนเปื้อนนิวเคลียร์” ปักกิ่งยังไม่รับข้อเสนอซ้ำแล้วซ้ำอีกของโตเกียวสำหรับการเจรจาบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้

ภายใต้กรอบดังกล่าว ประเทศที่เข้าร่วมจะเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และประเมินผลการติดตามที่ดำเนินการโดยรัฐบาลญี่ปุ่นและสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ เกี่ยวกับน้ำทะเลนอกจังหวัดฟุกุชิมะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นตามลำดับ

เพื่อรับประกันความเที่ยงธรรมของการประเมินระดับนานาชาติ ญี่ปุ่นไม่เข้าร่วมในกรอบการทำงานนี้

สถาบันวิจัยที่เข้าร่วมในกรอบการทำงานนี้ได้รับการคัดเลือกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ปัจจุบันเกี่ยวข้องกับสถาบันต่างๆ จากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และเกาหลีใต้

แหล่งข่าวกล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปีนี้ โตเกียวได้ขอผ่านช่องทางการทูตหลายครั้งให้ปักกิ่งมีส่วนร่วมในความพยายามติดตามตรวจสอบ แต่คำขอถูกปฏิเสธโดยจีนภายใต้ข้อโต้แย้งว่ากรอบการทำงาน "ไม่รับประกัน" ความเป็นอิสระในการวิเคราะห์น้ำที่ปล่อยออกมา

จีนเชื่อว่า​ หากเข้าร่วมกรอบเจรจานี้จะ "เทียบเท่ากับการรับรองการปล่อยน้ำทิ้งมหาสมุทร"

โตเกียวอ้างว่าน้ำนี้ปลอดภัย เนื่องจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีส่วนใหญ่ยกเว้นไอโซโทปถูกกำจัดออกไปโดยผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์

อย่างไรก็ตาม จีนได้เรียกร้องให้ญี่ปุ่นหยุดปล่อยสิ่งที่เรียกว่า "น้ำที่มีการปนเปื้อนนิวเค​ลี​ยร์"

ทั้งนี้​ ข้อมูลรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่าน้ำได้ผ่านกระบวนการบำบัดเพื่อกำจัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีส่วนใหญ่ยกเว้นไอโซโทป ก่อนที่จะปล่อยลงสู่มหาสมุทร สารกัมมันตภาพรังสีที่เหลืออยู่จะถูกเจือจางให้เหลือ 1 ใน 40 ของความเข้มข้นที่อนุญาตภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยของญี่ปุ่น

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ไอโซโทปเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์น้อยกว่าวัสดุกัมมันตภาพรังสีอื่นๆ เช่น ซีเซียมและสตรอนเซียม เนื่องจากปล่อยรังสีที่อ่อนมากและไม่สะสมในร่างกาย

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกจะปล่อยน้ำบำบัดที่มีความเข้มข้นต่ำของทริเทียมและนิวไคลด์กัมมันตภาพรังสีอื่นๆ ออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นประจำทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขอ​​งการดำเนินงานตามปกติ ตามข้อมูลของ IAEA

ความขัดแย้งกันเรื่องความปลอดภัยของการปล่อยน้ำ ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับจีนที่ตึงเครียดอยู่แล้วตึงเครียดมากขึ้นอีก ขณะที่รัฐบาลคิชิดะให้คำมั่นที่จะจัดสรรเงิน 1​ แสนล้านเยน (729.1 ล้านดอลลาร์) เพื่อช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมประมงของตน



กำลังโหลดความคิดเห็น