สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว ผมขอโทษที่วันนี้จะขอเล่าเรื่องส่วนตัวของผมสักหน่อย คือ ... เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมเป็นโควิดครับ ( ́・ω・`) ผ่านมาหลายซีซันไม่เคยเป็น เพราะคิดว่าป้องกันตัวดีมาตลอด เมื่อก่อนไปไหนก็ใส่หน้ากากทุกที่ แต่เพราะคิดว่าตอนนี้คงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว คงไม่มีโรคภัยอะไรในชีวิตประจำวันแล้ว นั่นคือความประมาทอย่างมาก และคิดว่าไม่เคยเป็นมาก่อน โควิดมันมีจริงหรือเราคงสามารถหลบหนีมันได้อย่างที่เป็นอยู่ แต่แล้วก็ไม่รอดครับ ผมก็รู้สึกเสียใจมากที่ประมาท มันมีช่วงเวลาที่แย่มาก...( ́・ω・`;)
ผมพักอยู่จังหวัดภูเก็ตเนื่องจากต้องมาทำงานระยะสั้น ย่านที่ผมอยู่มีคนต่างประเทศเยอะ อาหารอร่อยมาก ..
จู่ๆ หลังจากที่ผมกลับจากเล่นน้ำทะเลในวันหนึ่ง ผมก็ป่วยในวันต่อมา แต่ผมไม่รู้จริงๆ ว่าเพราะแดดจัดและน้ำทะเลหรือเปล่าที่ทำให้ไม่สบาย หรือไปรับเชื้ออะไรมาจากไหนอย่างไร ยังคิดว่าที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งหรือเปล่า? แถมช่วงนั้นผมได้ไปไซต์งานก่อสร้างมาด้วย ตอนแรกผมยังคิดไปต่างๆ นานาว่าผมเป็นวัณโรคหรือไม่ ผมจึงโทรศัพท์คุยกับเพื่อนที่ญี่ปุ่น และเขาบอกว่า "นั่นมันเหมือนกับอาการของโคโรนาที่เขาเคยเป็นเลยนะ" และเมื่อผมลองตรวจดู... ก็พบว่า
ʕ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔʕ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ•̫͡•ʕ•̫͡•ʔ•̫͡•ʔ
ใช่ๆ ผลตรวจโคโรนาเป็นบวก!
ผมย้อนมาทบทวนดู มันคงเกี่ยวกับความจริงที่ว่าที่นี่มีชาวต่างชาติจำนวนมาก ไม่มีใครสวมหน้ากากอนามัยเลยจริงๆ ผมก็เป็นคนญี่ปุ่นด้วย ดังนั้นผมก็ตามๆ ให้กลมกลืนกับสภาพคนรอบข้างเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัยเลย และมันคงเป็นสาเหตุที่ผมไม่รู้เลยว่าผมได้รับเชื้อมาจากที่ไหนกันแน่ ...
อาการคือเจ็บคออย่างรุนแรงที่สุด ...
แต่ผมคิดว่าอาการที่เกิดกับแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป อาจเพราะภูมิคุ้มกันส่วนตัว หรือคนที่ฉีดไม่ฉีดวัคซีน รวมทั้งเรื่องอายุและโรคประจำตัวด้วย
และเมื่อผมค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ดูเหมือนว่ามีคนญี่ปุ่นจำนวนมากที่บ่นเรื่องอาการปวดหลังส่วนล่าง และปวดกระดูกเหมือนกับที่ผมเป็น
เพราะช่วงที่ป่วยนอนซมอยู่หลายวัน นอกจากจะขาดการออกกำลังกายแล้ว สิ่งที่ทำให้อาการปวดบั้นเอวมันจะแย่ลงก็มาจากอาการไอ และสะสมอาการปวดมาจากการนั่งบนเก้าอี้ที่ไม่พอดีกับสรีระเป็นเวลานานจนมีผลกับเอวของตัวเองนั่นเอง
ผมจึงได้หาข้อมูลที่น่าสนใจเรื่องการใช้หมอนข้างเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างหรือบั้นเอว มาให้เพื่อนๆ อ่านด้วยครับ เขาบอกว่า
ในยุคปัจจุบันที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและสมาร์ทโฟนกันอย่างแพร่หลาย และจากกิจวัตรประจำวันและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนรุ่นใหม่จะมีอาการปวดหลังเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น
บางคนอาจตระหนักถึงท่าทางการนั่งที่ถูกต้องเมื่ออยู่ที่ทํางานเพื่อระมัดระวังและพยายามแก้ไขอาการปวดหลัง แต่ในความเป็นจริงท่าทางการนอนขณะหลับก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในรายการที่แนะนำท่าทางการนอนในอุดมคติบอกว่าสิ่งที่แนะนำในเวลานอนก็คือหมอนข้างครับ
● มีคำถามว่าการนอนคว่ำหน้าเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังหรือไม่?
ในรายการนี้ได้พูดถึงสาเหตุหลัก 4 ประการของอาการปวดหลัง คือ
1.การบิดเบี้ยวของกระดูก หรือความเสื่อมของร่างกาย
2.การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อและสภาพของการไหลเวียนโลหิตที่ผิดปกติ
3.ปัญหาเส้นประสาท เช่น ไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
4.โรคต่างๆ เช่น โรคไต
ส่วนสาเหตุของอาการปวดหลังที่ไม่ได้เกิดจากการเจ็บป่วยอาจเกี่ยวข้องกับท่าทางและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงเมื่อทำงานและทำงานบ้านในระหว่างวันด้วย แต่สิ่งเดียวที่รายการอยากจะแนะนำให้ระวังคือท่าทางการนอนระหว่างที่เรานอนหลับนั่นเอง
รู้ไหมว่าไม่ว่าจะมีท่าทางการนอนแบบไหน เอวต้องรับภาระน้ำหนัก ซึ่งระดับของภาระที่เอวรับนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งการนอนในท่าทางต่างๆ เช่น การนอนหงาย การนอนคว่ำ และการนอนราบ ซึ่งตำแหน่งการนอนที่เป็นภาระมากที่สุดคือการนอนคว่ำหน้าลง เพราะหากเรานอนคว่ำหน้า กระดูกสันหลังส่วนเอวของเราจะบิดเบี้ยว ดังนั้นภาระที่เอวจะมากเป็นพิเศษ และความเจ็บปวดระหว่างการนอนหลับมักจะรุนแรงขึ้น
● หมอนข้างสามารถบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างได้หรือไม่?
ในที่นี้เราไม่พูดถึงอาการปวดหลังที่เกิดจากการเจ็บป่วยนะครับ ถ้าปวดหลังส่วนล่างจากการยืนเดินนั่งผิดท่า หรือจากการไอหนักๆ จนปวดหลังอย่างผมก็สามารถคาดหวังที่จะบรรเทาอาการปวดได้โดยใช้หมอนข้างครับ ด้วยการรักษาเสถียรภาพของท่าทางการนอนด้วยหมอนข้าง สามารถลดภาระของเส้นประสาท เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ และไขสันหลังที่เกี่ยวข้องกับเอวได้
ซึ่งจะเป็นผลให้กล้ามเนื้อคลายตัว การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และคาดว่าอาการปวดหลังส่วนล่างจะดีขึ้นด้วย
<แนะนำวิธีการใช้หมอนข้างเวลานอน>
1.นอนลงโดยให้ด้านซ้ายของร่างกายอยู่ด้านล่าง
※ หากมีอาการปวดที่ด้านซ้ายของหลังส่วนล่าง จะนอนตะแคงให้ด้านขวาจะอยู่ล่างก็ได้ อย่างไรก็ตาม มีเส้นเลือดทั้งด้านขวาและด้านซ้ายของร่างกาย หากไม่มีอาการปวดมากด้านใดด้านหนึ่งให้พลิกด้านซ้ายลงดีกว่า
2.งอเข่าของขาด้านบน
ในท่านี้จะช่วยลดภาระที่หลังส่วนล่างได้และช่วยปรับปรุงการไหลเวียนโลหิตหากมีการขยับตัวบ้าง แทนที่จะทับขาทั้งสองข้างไว้
3.ใช้ท่าทางใกล้กับการนอนคว่ำหน้า (เรียกว่าการดัดไปข้างหน้า)
การทำให้รู้สึกเหมือนกําลังนอนคว่ำหน้าแนวตะแคงข้าง สามารถลดภาระที่เอวได้
□ ส่วนหมอนต้องมีความหนาที่เหมาะสม
ควรเลือกหมอนที่หนาพอดี ที่ทำให้ศีรษะและลำตัวขนานกันเมื่อนอนราบ และสิ่งสำคัญคือต้องเลือกหมอนและหมอนข้างที่มีผ้าฝ้ายที่แน่นสม่ำเสมอกัน เพื่อให้ร่างกายส่วนล่างสมดุลในแนวนอนเมื่อใช้หมอนข้างหนุนขา
นอกจากนี้ ยังมีหมอนรองร่างกายที่มีรูปทรงต่างๆ เพื่อเพิ่มความมั่นคงและสมดุลของท่าทางการนอนด้วย รายการนี้แนะนำให้มีกระพุ้งตรงกลางให้มากที่สุดและไม่มีช่องว่างในช่วงกลาง และควรคำนึงถึงความหนาเป็นสิ่งสำคัญเมื่อรับตำแหน่งของร่างกายนั่นคือสิ่งที่ควรตระหนักถึงครับ
อนึ่ง อาการปวดหลังส่วนล่างอาจจะแย่ลงถ้าเรามีอาการไอมากๆ เราควรรู้เกี่ยวกับสาเหตุและมาตรการรับมือ และวิธีป้องกันอาการปวดหลังไม่ให้เรื้อรัง ถ้าสาเหตุหลักมาจากกล้ามเนื้อ ก็สามารถรักษาได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง และลองใช้หมอนข้างช่วยดูครับ โควิดตัวร้ายมันคงอยู่ในสภาพแวดล้อมของโลกเราไม่หายไปไหน อยากให้เพื่อนๆ ปลอดภัย และดูแลสุขภาพกันนะครับ วันนี้เล่าสู่กันฟัง พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีครับ