xs
xsm
sm
md
lg

อันดับอาหารเสพติดสูง ระวังอย่ากินเพลินเกินไป!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อได้ยินว่าเสพติด พลันนึกถึงบุหรี่และกาเฟอีน แต่ก็ใช้กับอาหารด้วยเช่นกัน ในเงื่อนไขที่ร่างกายไม่สามารถทนต่อการอดอาหารบางชนิดได้เรียกว่าการติดอาหาร หรือการเสพติดการรับประทานอาหาร และง่ายต่อการนำไปสู่โรคอ้วนถ้ากินมากเกินไป นิตยสาร U.S. Health Line ชี้ให้เห็นว่าการทดลองในสัตว์โดยใช้หนูทดลองยังได้รับผลการทดสอบที่แสดงให้เห็นว่าของว่างบางชนิดมีผลต่อการกระตุ้นความรู้สึกอยากรับประทานอีก หรือการเสพติดของร่างกายมากกว่าสารเสพติดบางชนิด

ดังนั้น ควรระวังอาหารประเภทใดบ้างเป็นอาหารที่มีแนวโน้มที่จะทำให้ร่างกายโหยหา?


◆ อันดับที่ 10 : ชีส (คะแนน 3.22)
ชีสเป็นอาหารที่เข้ากันได้ดีกับอาหารทุกชนิด แต่มีสารที่เรียกว่า Casomorphin ที่ได้มาจากโปรตีนขนาดเล็กที่แตกตัวในนม สารตัวนี้จะไปทำปฏิกิริยากับสมองให้หลั่งสารแห่งความสุข Dopamine ออกมาจะทำให้เกิดอาการอยากอาหารแม้จะยังไม่รู้สึกหิวเลยก็ตาม และสิ่งที่ตามมาคือ ความอยากกินๆ อาจนำไปสู่โรคอ้วนได้


◆อันดับที่ 9 : เค้ก (คะแนน 3.26)
เค้กเป็นขนมหวานที่ทำมาจากแป้งสาลี น้ำมัน และน้ำตาลทรายขาว และยังมีกรดไขมันทรานส์จำนวนมาก เนื่องจากมีคาร์โบไฮเดรตจำนวนมาก ปริมาณน้ำตาลในเลือดจึงสูง นั่นคือทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างกะทันหัน ต้องระวังอย่ากินมากเกินไปเนื่องจากฤทธิ์โดปามีนจากน้ำตาล


◆ อันดับที่ 8 : เครื่องดื่มอัดลม (ไม่ใช่สารให้ความหวานเทียม) (คะแนน 3.29)
เครื่องดื่มอัดลมบางชนิดมีขนาดเพียง 350 มล. และมีน้ำตาล 35 กรัม น้ำตาลเพียงอย่างเดียวสามารถติดได้ง่ายจากสารโดปามีน แต่ในกรณีของเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน กาเฟอีนก็อาจทำให้ติดอาหารนั้นๆ ได้ในเวลาเดียวกัน


◆ อันดับที่ 7 : ชีสเบอร์เกอร์ (คะแนน 3.51)
ชีสเบอร์เกอร์ที่มีเกลือและไขมันมากมายไม่เพียงแต่อร่อยเท่านั้น แต่ยังมีผลให้ร่างกายเสพติดสูงอีกด้วยหากกินมากเกินไป อาจมีปัญหาไตหรือประสบปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วนได้


◆อันดับที่ 6 : เฟรนช์ฟราย (คะแนน 3.60)
เฟรนช์ฟรายไม่เพียงแต่มีเกลือเท่านั้น แต่ยังมีเนื้อสัมผัสกรุบกรอบ อร่อยเพลินและอาจทำให้เกิดการเสพติดอาหาร มีเกลือ น้ำมัน และคาร์โบไฮเดรตมากมาย และเป็นสาเหตุที่นําไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด


◆อันดับที่ 5 : ไอศกรีม (คะแนน 3.68)
ไอศกรีมซึ่งมีวัตถุดิบที่ทำจากน้ำตาลและไขมันนม ทำให้เกิดผลเหมือนสารกระตุ้นสมองและช่วยเพิ่มความรู้สึกอยากกินมากขึ้น เพราะรับประทานไอศกรีมแล้วนำความสุขมาให้ แต่ต้องจำไว้ว่าส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการปล่อยสารโดปามีน


◆ อันดับที่ 4 : คุกกี้ (คะแนน 3.71)
คุกกี้รับประทานง่าย มีแป้งสาลี น้ำตาลทรายขาว เนย ไขมัน และกรดไขมันทรานส์มากมาย การใช้หนูทดลองแสดงให้เห็นว่าคุกกี้สามารถกระตุ้นเซลล์ประสาทมากกว่าสารเสพติด ส่งผลให้เกิดการอยากกินอีกในอัตราสูงขึ้น


◆ อันดับที่ 3 : มันฝรั่งแผ่นทอด (คะแนน 3.73)
อร่อย กินเพลิน ช่วยกระตุ้นความรู้สึกอร่อยอย่างเข้มข้น ดังนั้น มันฝรั่งทอดจึงสร้างความพึงพอใจสูง อย่างไรก็ตาม ไตอาจได้รับความเสียหายจากการกอนเกลือมากเกินไป และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างความปรารถนาที่จะกินมากขึ้นๆ


◆ อันดับที่ 2 : ช็อกโกแลต (คะแนน 3.73) นอกจากน้ำตาลจํานวนมากแล้ว ช็อกโกแลตยังมีกรดอะมิโนที่เรียกว่าทริปโตเฟน ซึ่งส่งเสริมการปล่อยฮอร์โมนเซโรโทนินแห่งความสุข ทำให้รู้สึกมีความสุขและยกระดับจิตใจ แต่ในขณะเดียวกันก็เสพติดอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องระวังด้วย


◆ อันดับที่ 1 : พิซซ่า (คะแนน 4.01)
อาหารที่น่าสนใจที่สุดในครั้งนี้คือพิซซ่า ไม่เพียงแต่ไขมันและเกลือเท่านั้น แต่แป้งยังเป็นคาร์โบไฮเดรตหนักๆ อีกด้วย บางคนต้องการยับยั้งตัวเองจากการกินพิซซ่ามากเกินไปเพราะอาจนำไปสู่ความดันโลหิตสูง ออกซิเจนที่ใช้งานอยู่เพิ่มขึ้น และความผันผวนของระดับอินซูลินอย่างกะทันหัน อาหารแปรรูปหลายชนิด เช่น พิซซ่า มีสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางสมองและทำให้รู้สึกว่าอดไม่ได้ที่จะรับประทานเป็นประจำ


กำลังโหลดความคิดเห็น