เกียวโดนิวส์รายงาน (19 เม.ย.) รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่นและฝรั่งเศสเห็นพ้องกันเมื่อวันอังคารที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยยืนยันถึงความสำคัญของเสถียรภาพทั่วช่องแคบไต้หวัน ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสเตือนไม่ให้เข้าสู่วิกฤตไต้หวันท่ามกลางการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ และจีน
อ้างอิงจากกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นในการพูดคุยของรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น โยชิมาสะ ฮายาชิ และแคทเธอรีน โคลอนนา ของฝรั่งเศส กล่าวว่า ความปลอดภัยของอินโดแปซิฟิกและยุโรปนั้น "แบ่งแยกไม่ได้" และเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเคารพระเบียบระหว่างประเทศที่ยึดหลักนิติธรรม
ทั้งสองจัดการเจรจาในกรุงโตเกียวหลังจากเดินทางออกจากคารุอิซาวะ เมืองตากอากาศในภาคกลางของญี่ปุ่น ซึ่งการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มจี7 ได้จัดขึ้นจนถึงวันอังคาร
การประชุมของจี7 เกิดขึ้นหลังจากมาครงปะทุความขัดแย้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เนื่องจากเรียกร้องให้ชาวยุโรปอย่าเป็น "ผู้ตาม" ของสหรัฐอเมริกาหรือจีน และเตือนถึงการถูกดึงเข้าสู่วิกฤตไต้หวันซึ่งเร้าโดยสิ่งที่เขาเรียกว่า "ตามจังหวะแบบอเมริกันและความหนักมือเกินไปของจีน”
ในการเจรจาที่คารุอิซาวะ นักการทูตชั้นนำจากอังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา รวมถึงสหภาพยุโรป ต่างยืนยันถึงความสำคัญของ "สันติภาพและเสถียรภาพทั่วช่องแคบไต้หวัน" โดยเรียกสิ่งนี้ว่า "องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ ในความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในประชาคมระหว่างประเทศ”
ด้านปักกิ่งถือว่าไต้หวันซึ่งปกครองตนเองและเป็นประชาธิปไตย คือมณฑลที่แยกตัวออกมา และจะต้องรวมเป็นหนึ่งกับแผ่นดินใหญ่ แม้ต้องใช้กำลังหากจำเป็น
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา คารุอิซาวะ ฮายาชิได้พบกับเมลานี โจลี รัฐมนตรีต่างประเทศแคนาดา พวกเขาให้คำมั่นว่าจะทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อบรรลุถึงอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง และร่วมมือในการจัดการกับเกาหลีเหนือ ซึ่งยังคงยิงขีปนาวุธฝ่าฝืนมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ทั้งสองยังจัดการหารือเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ตามที่กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นอ้างถึงข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ TPP11 ซึ่งญี่ปุ่นและแคนาดาเป็นสมาชิก
ในช่วงปลายเดือนมีนาคม สมาชิกได้ตกลงให้อังกฤษเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี 11 ประเทศ ซึ่งนับเป็นการขยายข้อตกลงครั้งแรก และเพิ่มส่วนแบ่งผลผลิตทางเศรษฐกิจทั่วโลกของกลุ่มเป็น 15 เปอร์เซ็นต์