xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่​นปรับแผน​อพยพ​ ให้เดินเท้าหนีภัยภูเขาฟู​จิ​ปะทุ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร ปะทุครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ.1707 ในเวลานั้น การปะทุได้ดำเนินเป็นเวลา 16 วัน ทิ้งชั้นเถ้าภูเขาไฟหนาประมาณ 4 เซนติเมตรในสถานที่ต่างๆ ใจกลางกรุงโตเกียว
เกียว​โด​นิวส์​รายงาน​ (30​ มี.ค.)​ แผนการอพยพใหม่ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนในกรณีที่ภูเขาไฟฟูจิปะทุ​ โดยเรียกร้องให้ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงอพยพด้วยการเดินเท้า

สภาจัดการภัยพิบัติสำหรับภูเขาที่สูงที่สุดของญี่ปุ่นกล่าวเมื่อวันพุธว่า​ แผนการใหม่จะเปลี่ยนจากแผนก่อนหน้านี้ที่ต้องใช้รถยนต์

สภาฯ​ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งรัฐบาลกลาง จังหวัดยามานาชิ และจังหวัดชิซูโอกะ ซึ่งอยู่รอบภูเขาไฟฟูจิ รวมทั้งจังหวัดคานางาวะที่อยู่ใกล้เคียง ได้ปรับปรุงแผนอพยพเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี โดยพิจารณาจากการแก้ไขแผนที่ความเสี่ยงจากภูเขาไฟฟูจิ ในปี 2564

แผนดังกล่าวเรียกร้องให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่คาดว่าลาวาจะไหลไปถึงภายใน 24 ชั่วโมงหลังการปะทุ​อพยพด้วยการเดินเท้า​ เพื่อป้องกันการจราจรวิกฤต​ แม้ว่าพวกเขาจะใช้ยานพาหนะได้​ หากอพยพโดยสมัครใจก่อนการปะทุ

แผนดังกล่าว​อนุญาตให้ใช้ยานพาหนะสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับปากปล่องภูเขาไฟ ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงผู้สูงอายุและผู้พิการ โดยสามารถใช้ยานพาหนะได้ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ไหนก็ตาม

ตามแผนล่าสุด เทศบาลรอบภูเขาฟูจิแต่ละแห่งจะรวบรวมแผนการอพยพที่มีรายละเอียดมากขึ้น แต่คาดว่าจะต้องเผชิญกับความกังวลจากลูกบ้านที่ใช้รถในชีวิตประจำวัน

เมื่อตรวจพบสัญญาณของการปะทุ เทศบาลจะเรียกร้องให้มีการอพยพผู้อยู่อาศัยโดยสมัครใจแต่เนิ่นๆ เพื่อไปอยู่ในที่ปลอดภัยซึ่งทางการได้จัดไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและความวุ่นวายภายหลังการปะทุจริง

สำหรับนักปีนเขาบนภูเขาไฟฟูจิ เทศบาลจะแนะนำให้เดินทางออกจากพื้นที่โดยรถประจำทางหรือเดินเท้า​ จำกัดการเข้าสู่พื้นที่​ หลังจากได้รับแจ้งความเป็นไปได้ที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นจะเพิ่มระดับการเตือนภูเขาไฟ​ในระดับ 3 จาก​ 5​ ระดับ

ตามแผนดังกล่าว ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่คาดการณ์ว่าจะมีเถ้าถ่านขนาดใหญ่​จะต้องอพยพก่อนที่จะเกิดการปะทุ เนื่องจากการพยายามหลบภัยหลังจากเกิดภัยพิบัติดังกล่าวจะเป็นไปไม่ได้ และขอบเขตของผลกระทบขึ้นอยู่กับทิศทางลมที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้

“เราให้ความสำคัญกับการอพยพอย่างปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็เอาใจใส่ความต่อเนื่องของกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ” สภาฯ ระบุ พร้อมเสริมว่ายังไม่สามารถคาดการณ์​ภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับภูเขาไฟ

ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร ปะทุครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ.1707 ในเวลานั้นการปะทุได้ดำเนินเป็นเวลา 16 วัน ทิ้งชั้นเถ้าภูเขาไฟหนาประมาณ 4 เซนติเมตรในสถานที่ต่างๆ ใจกลางกรุงโตเกียว


กำลังโหลดความคิดเห็น