xs
xsm
sm
md
lg

คาดอีก 5 ปี ญี่ปุ่นผงาดอันดับ 3 มหาอำนาจทางการทหาร รองแค่สหรัฐฯ-จีน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นซ้อมรบต่อต้านเรือดำน้ำไตรภาคี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปราบปรามภัยคุกคามทางทหารของเกาหลีเหนือ (ภาพโดยกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้)
army-technology.com สื่อผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีการทหาร คาดอีก 5 ปี #ญี่ปุ่นผงาดอันดับ 3 มหาอำนาจทางการทหาร รองแค่สหรัฐฯ-จีน แต่ความร่วมมือแบบ 'ทวิภาคี' จะมีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยทั่วโลกหรือไม่?

แอนดริว ซาเลอโน-การ์ธเวท (Andrew Salerno-Garthwaite) คอลัมนิสต์สื่อเทคโนโลยีการทหาร ประเมินว่า หากญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายด้านงบประมาณในอีก 5 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นจะเปลี่ยนจากชาติมหาอำนาจทางทหารที่แข็งแกร่งที่สุดอันดับที่ 5 หรือ 7 ในแง่งบประมาณการใช้จ่ายด้านการป้องกันตามลำดับ ทะยานขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียง สหรัฐฯ และจีน

ตามข้อมูลของ GlobalData ค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศของญี่ปุ่นคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 5.31 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีหน้า เป็น 7.04 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2027 ซึ่งเติบโตต่อปีที่ 7.3%

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชิเงรุ โยชิดะ นักการทูตและนักการเมืองชาวญี่ปุ่นผู้ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ.1946 ถึง ค.ศ.1947 และ ค.ศ.1948 ถึง ค.ศ.1954 ยึดนโยบาย 'การป้องกันความเสี่ยงแบบคู่ขนาน' โดยส่งเสริมความสัมพันธ์กับทั้งจีนและสหรัฐฯ ตลอดกระทั่งช่วงสงครามเย็น นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนต่อๆ มา ก็ได้รักษาอธิปไตยของตนเองด้วยการพึ่งพาสหรัฐฯ เป็นหลักในการสนับสนุนด้านการป้องกันประเทศและเศรษฐกิจ โดยมีข้อจำกัดในการขยายอำนาจทางทหารของตนเอง ซึ่งจำกัดการใช้จ่ายทางทหารไว้ที่ 1% ของ GDP

ทว่าเมื่อสิ้นสุดสงครามเย็น โตเกียวได้ต้องการหลุดจากสหรัฐฯ ในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการค้ากับจีน แต่ขณะเดียวกัน กลับต่อต้านความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับปักกิ่ง ด้วยการกระชับพันธะทางทหารกับสหรัฐฯ ยิ่งขึ้น

เมื่อสิ้นสุดยุคป้องกันความเสี่ยงของญี่ปุ่น “ญี่ปุ่นไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากการพึ่งพาสหรัฐฯ อีกต่อไปแล้ว” ดร.คริสโตเฟอร์ ฮิวจ์ส ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาภาษาญี่ปุ่นและการเมืองระหว่างประเทศ และรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยวอริก กล่าวในการหารือออนไลน์กับ East-West Center วันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา

ผู้กำหนดนโยบายของญี่ปุ่นไม่รับรู้หลักคำสอนของโยชิดะ เรื่องการทูตทางเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงไม่ต้องการพึ่งพาทางการทหารกับสหรัฐอเมริกาว่าเป็นกลยุทธ์ที่คงอยู่เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายด้านการป้องกันและความมั่นคงที่ญี่ปุ่นเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

โยชิดะ อดีตนายกฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยให้อำนาจทางทหาร สำคัญรองลงมา ในโลกร่วมสมัยที่มีหลายขั้วซึ่งมีภัยคุกคามในระดับภูมิภาค แนวโน้มของนโยบายต่อต้านการทหารของญี่ปุ่นได้ค่อยๆ สูญเสียแรงสนับสนุน ตั้งแต่ปี 2015 กลยุทธ์หลักของโตเกียว จึงได้หันกลับไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้พันธมิตรทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

การวิเคราะห์วิถีทางการทหารของญี่ปุ่นฉบับใหม่ นำเสนอโดย Hughes ในหนังสือของเขา Japan as a Global Military Power : New Capabilities, Alliance Integration, Bilateralism-Plus ให้เหตุผลว่า ญี่ปุ่นกำลังตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยภายนอกที่ท้าทายด้วยการกลายเป็น “มีความสามารถและเชื่อถือได้มากขึ้น และ – ที่สำคัญ – รวมพันธมิตรของสหรัฐฯ”

ความพยายามในการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย คือการทำให้กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศใกล้ชิดกันมากขึ้น ตลอดจนเข้าสู่โดเมนใหม่ รวมถึงการปฏิบัติการทางไซเบอร์และภาคพื้นสนาม

เมื่อเร็วๆ นี้ ญี่ปุ่นเปิดตัว Kawasaki P-1 ในปี 2013 โดยมีเครื่องบิน 33 ลำประจำการกองทัพ และอีก 60 ลำเพื่อทดแทนฝูงบิน P3-C ของประเทศ นอกจากนี้ ในปี 2013 ญี่ปุ่นได้ลงนามในข้อตกลงกับ Lockheed Martin สำหรับเครื่องบินรบรุ่นที่ 5 F-35B จำนวน 42 ลำ จากนั้นจึงขยายข้อตกลงในปี 2019 เพื่อซื้อ F-35A ทั้งหมด 105 ลำและ F-35B จำนวน 42 ลำ

ในปี 2020 ได้มีการลงนามข้อตกลงกับ Mitsubishi Heavy Industries ในฐานะผู้พัฒนาหลักสำหรับเครื่องบินขับไล่ล่องหน F-X รุ่นที่ 6 เกือบ 100 ลำ

ในอาณาเขตของกองทัพเรือ ญี่ปุ่นกำลังขยายขีดความสามารถผ่านการแปลงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งสามารถใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35B ได้ กองเรือผิวน้ำมีเรือรบและเรือพิฆาตมากกว่า 40 ลำ ยังรวมถึงเรือดำน้ำชั้น Sōryū

โตเกียวกำลังทุ่มเทมุ่งมั่นเพื่อการป้องกันมาตุภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเกาะทางตะวันตกเฉียงใต้ของตนที่มีความเสี่ยงจากการรุกรานของจีน กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น (JSDF) และกองกำลังสหรัฐฯ กำลังเริ่มการป้องกันแบบลูกโซ่ล้อมรอบเกาะ และเชื่อมศักยภาพในการป้องกันไต้หวัน เมื่อผนวกเข้ากับยุทธศาสตร์โดยรวมของสหรัฐฯ “การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ หากจำเป็น ญี่ปุ่นอาจรับผิดชอบระดับโลกบางภารกิจ” ฮิวจ์ส กล่าว

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความรับผิดชอบร่วมกัน
ฮิวจ์ส กล่าวว่า "พันธมิตรที่มองโลกในแง่ดีเกินจริงซึ่งหวังว่าจะได้รับความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น อาจจะผิดหวังหากพวกเขาหวังว่าญี่ปุ่นจะแสวงหาความเป็นอิสระจากสหรัฐฯ มากขึ้น ผ่านการจัดการความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ

ญี่ปุ่น หันมาให้ความสำคัญในการป้องกันประเทศที่มากขึ้น ซึ่งรวมถึงการป้องกันระดับภูมิภาคในระดับหนึ่ง โดยดำเนินการผ่านพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น และภาพรวมความมั่นคงของสหรัฐฯ

แต่ในขณะที่โตเกียวทำภารกิจร่วมกับพันธมิตร และความร่วมมือทางทหารระดับภูมิภาค/ระดับโลก ที่ขยายออกไปมีปริมาณเพิ่มขึ้น ความพยายามดังกล่าวได้รับการออกแบบมาโดยพื้นฐานแล้วเพื่อเสริมสร้างสหรัฐฯ เป็นศูนย์กลางสำหรับการป้องกันประเทศ “ญี่ปุ่นกำลังกลายเป็นมหาอำนาจทางการทหารระดับโลก” ฮิวจ์สกล่าว “แต่ก็มีความเฉพาะเจาะจงมากและอยู่ในเกณฑ์เหล่านี้"

“ญี่ปุ่นจะออกไปทั่วโลก จะทำภารกิจร่วมกับพันธมิตรอื่นๆ ได้มากขึ้น แต่จะทำอย่างนั้นเพื่อสนองความต้องการของพันธมิตรสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น และเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของตนเองเท่านั้น”

ความเปลี่ยนแปลงแบบ "ทวิภาคีร่วม" Bilateralism Plus และพันธมิตร 'plug-and-play' คือสัญญาณการเปลี่ยนแปลงจากหลักการของโยชิดะ อดีตนายกรัฐมนตรี มาเป็นหลักการของอาเบะ”

ญี่ปุ่นได้สร้างความสัมพันธ์ด้านการป้องกันความมั่นคงกับประเทศอื่นๆ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยความสัมพันธ์แบบทวิภาคี พหุภาคี หรือระดับย่อย สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของระบบพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น โดยใช้พันธมิตรเป็นแม่แบบเพื่อให้เกิดการป้องปรามแบบบูรณาการ

“มันเป็น 'ปลั๊กแอนด์เพลย์' ที่สามารถรวมพันธมิตรอื่นๆ เข้ากับระบบพันธมิตรที่มีศูนย์กลางคือสหรัฐฯ - ญี่ปุ่น” ฮิวจ์ส กล่าว

ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่ East-West Center ฮิวจ์ส ยอมรับว่าความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นนั้นซับซ้อน ญี่ปุ่นพยายามที่จะทำให้ตัวเอง 'ขาดไม่ได้' สำหรับประเทศจีน ในด้านสำคัญๆ มากขึ้น ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีและการลงทุนที่สำคัญ

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นก็ตระหนักดีว่าในหลายพื้นที่ จีนเป็น "ศัตรู" ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญ เทคโนโลยีหลัก และแร่ธาตุหายาก

ด้งนั้น ความกังวลทางเศรษฐกิจต้องนำมาพิจารณาในบริบทที่มีลำดับความสำคัญอื่นๆ ด้วย ซึ่งฮิวจ์สให้เหตุผลว่า สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจในที่สุด รวมทั้งการวางนโยบายการทหารที่กร้าวแกร่งในอินโดแปซิฟิก

“ตอนนี้จีนกำลังข้ามเส้นสีแดงเพื่อความมั่นคงของชาติญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นดินแดนพิพาทของญี่ปุ่น-จีน ไม่ว่าจะเป็นไต้หวันที่มีเส้นทางเดินเรือ ซึ่งล้วนบ่อนทำลายระบบรักษาความปลอดภัยของสหรัฐฯ ทั่วทั้งภูมิภาค นี่เป็นสถานการณ์จริงสำหรับญี่ปุ่นในเวลานี้” ดร.คริสโตเฟอร์ ฮิวจ์ส ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาภาษาญี่ปุ่นและการเมืองระหว่างประเทศ และรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยวอริก กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น