เกียวโดนิวส์ รายงาน (19 ก.ย.) ญี่ปุ่นยังคงมีอัตราการหย่าร้างที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่สถิติใหม่จากรัฐบาลญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า อัตราหย่าร้างในคู่สมรสวัยกลางคนตอนหมดภาระเรื่องลูกแล้วกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในช่วงหลังสงคราม อัตราการหย่าร้างในญี่ปุ่นลดลงอย่างมาก ในทศวรรษที่ 1960 มีระดับต่ำสุด 0.67% (จำนวนการหย่าร้างต่อ 1,000 คนในประชากร) จากนั้นเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอดหลายทศวรรษ จนถึงปี 2000 เมื่อเพิ่มขึ้นเป็น 2.10%
ตั้งแต่นั้นมาอัตราการหย่าร้างก็ลดลงที่ประมาณ 1.7% ทำให้ญี่ปุ่นอยู่ในจุดต่ำสุดของการหย่าร้างเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั้งทางตะวันตกและเอเชีย โดยจำนวนการหย่าร้างที่สูงที่สุดอยู่ที่เมืองโอกินาวา ที่อัตราการหย่าร้างคือ 2.52% ส่วนเมืองที่หย่าร้างต่ำสุดคือ นีงาตะ ที่ 1.28%
สาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้สำหรับอัตราการหย่าร้างที่ต่ำ? อาจไม่ใช่อะไร แต่คือคนญี่ปุ่นแต่งงานกันน้อยลง สังคมเข้าสู่โครงสร้างประชากรสูงอายุ สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ และปัจจัยอื่นๆ หมายความว่าคนหนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นเลือกที่จะไม่แต่งงาน
อย่างไรก็ตาม มีสถิติหย่าร้างหนึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ จำนวนการหย่าร้างในวัยกลางคนหรือช่วงปลายชีวิต ซึ่งวัดจากสถิติเป็นคู่รักที่หย่าร้างกันหลังจากครองคู่กันมา 20 ปีหรือมากกว่านั้น แนวโน้มนี้เริ่มปรากฏให้เห็นในปี 2020 ซึ่งจำนวนการหย่าร้างของวัยกลางคนเพิ่มขึ้นทั้งๆ ที่อัตราการหย่าร้างโดยรวมลดลง
สถิติล่าสุดในปี 2022 แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มนี้ไม่ได้ลดลงเช่นกัน สถิติล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ระบุว่า การหย่าร้างของคนวัยกลางคนพุ่งถึง 21.5% ของการหย่าร้างทั้งหมด นั่นคืออัตราสูงสุดที่เคยมีมา
FNN สัมภาษณ์คนบางคนบนท้องถนนเพื่อขอความคิดเห็น สุภาพสตรีคนหนึ่งบอกว่าเธอรู้จักคู่รักหลายคู่ที่หย่าร้างกันตอนวัยกลางคนและพูดว่า "พวกเธอเบื่อกับการซักผ้า"
ประมาณ 8% ของการหย่าร้างในญี่ปุ่นทั้งหมดเกิดจากความรุนแรงในครอบครัว
แม้ไม่มีปัจจัยการซักรีด หรือความรุนแรงในครอบครัว แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ คาเมะยะมะ ซานาเอะ เล่าถึงสตรีคนหนึ่งที่ตระหนักว่าการแต่งงานของเธอเป็นเรื่องที่น่าสังเวช ในวันที่ลูกสาวคนโตของเธอเกิด สามีของเธอแทบจะไม่เคยอุ้มลูกๆ เลย และแทบไม่ได้พาไปไหนเลย
ถึงกระนั้นเธอต้องใช้เวลา 28 ปีในการหย่าร้าง “ฉันต้องคิดถึงความยากลำบากทางเศรษฐกิจ ฉันอยากเห็นเด็กๆ เรียนถึงวิทยาลัยถ้าทำได้ ฉันไม่สามารถส่งพวกเขาไปโรงเรียนเตรียมอุดมด้วยเงินที่ฉันได้รับจากงานนอกเวลาได้”
กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าหลายคน โดยเฉพาะผู้หญิง อาจไม่ต้องการหย่าร้างจนกว่าลูกจะโต เพราะการเลี้ยงดูบุตรร่วมกันในญี่ปุ่นเป็นปรากฏการณ์ที่หาได้ยากในการหย่าร้าง ผู้ปกครองคนเดียวซึ่งมักจะเป็นแม่ จะต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการเลี้ยงดูลูกของคู่สมรส (ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าพ่อญี่ปุ่นช่วยทุกอย่างที่บ้านตั้งแต่แรกด้วย)
นักเคลื่อนไหวบางคนกำลังรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้น และทำให้การเลี้ยงดูร่วมกันเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์อีกคนหนึ่งคือ ยามาซากิ เซมิโกะ ให้เหตุผลกับ FNN ว่า การสะสมความไม่พอใจนานหลายปี ความแค้นนั้นก่อตัวขึ้นตามกาลเวลา คู่รักต้องตัดขาดกันที่สุดอาจเพียงด้วยเหตุผลเล็กน้อยเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่มัดพันความสัมพันธ์คู่สมรสไว้”
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนที่เคยอยู่ด้วยกันจะเบื่อหน่ายกัน เป็นเรื่องราวที่ซ้ำซากในโลกทุกวัน เพียงแต่มันเพิ่งเกิดขึ้นเร็วในญี่ปุ่น