xs
xsm
sm
md
lg

อินาโมริ บิดาการบริหารแบบอะมีบา ผู้ฟื้น JAL กลับมาผงาด ถึงแก่กรรมในวัย 90

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


คาซูโอะ อินาโมริ (Kazuo Inamori) บิดาแห่งศาสตร์การบริหารแบบอะมีบา ผู้ฟื้น JAL สายการบินล้มละลายกลับมาผงาด ถึงแก่กรรมในวัย 90 ปี (ภาพเจแปนทูเดย์)
คาซูโอะ อินาโมริ (Kazuo Inamori) บิดาแห่งศาสตร์การบริหารแบบอะมีบา ผู้ฟื้น JAL สายการบินล้มละลายกลับมาผงาด ถึงแก่กรรมในวัย 90 ปี

เจแปนทูเดย์ / กลุ่มสื่อญี่ปุ่นรายงาน (30 ส.ค.) คำแถลงของบริษัทเคียวเซร่า เมื่อวันอังคาร ว่า คาซูโอะ อินาโมริ (Kazuo Inamori) หนึ่งในผู้นำธุรกิจที่ทรงอิทธิพลและเป็นที่เคารพนับถือมากที่สุดของญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งเคียวเซร่า (Kyocera) และพลิกฟื้น สายการบิน JAL ถึงแก่กรรมเนื่องจากความชราที่บ้าน ในเมืองเกียวโต เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา มีอายุ 90 ปี

อินาโมริ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดคาโกชิมา ก่อตั้งบริษัทเคียวเซร่า (Kyocera) ในปี 1959 ที่เมืองเกียวโต เมื่ออายุ 27 ปี บริษัทเริ่มต้นด้วยพนักงาน 28 คน แต่ในที่สุดก็กลายเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนรายใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 80,000 คนทั่วโลก

นอกจากนี้ เขายังร่วมก่อตั้ง DDI ในปี 1984 ซึ่งสืบต่อมาเป็น KDDI เพื่ออำนวยความสะดวกในการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม จากนั้นเข้าร่วมเป็น NTT KDDI เป็นหนึ่งในสามผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในญี่ปุ่น

“พลิกฟื้นวิกฤตของสายการบินแห่งชาติเจแปนแอร์ไลน์”
หลังจากที่เกษียณจากบริษัทที่ตนก่อตั้ง อินาโมริ ได้รับคำเชิญจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดย ยูกิโอะ ฮาโตะยามา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นขอให้เขามาเป็นผู้นำบริหารพลิกฟื้นวิกฤตของสายการบินแห่งชาติ เจแปนแอร์ไลน์ (Japan Airlines) ซึ่งกำลังประสบภาวะล้มละลายในปี 2010

อินาโมริ ยอมรับงานนี้โดยไม่รับค่าตอบแทนและปฏิรูปฟื้น JAL ในตำแหน่งประธาน ได้เข้ามาปฏิรูปการจัดการ JAL จนกลับมาผงาด ได้กำไรอีกครั้งหลังจากล้มละลายไม่ถึง 3 ปี กลายเป็นหนึ่งในสายการบินชั้นนำของโลก

“Amoeba Management การบริหารแบบอะมีบา”
อินาโมริ ได้รับการยกย่องเป็นผู้คิดค้นปรัชญาการบริหารอะมีบา ซึ่งเขากล่าวไว้ในหนังสือ Amoeba Management ว่า ปรัชญการบริหารอะมีบาไม่ใช่วิธีการแบบสูตรสำเร็จ โนว์ฮาว หรือฮาวทู แต่เป็นระบบควบคุมการบริหารทั้งหมด เพราะจะเกี่ยวข้องกับการบริหารในทุกส่วนขององค์กร การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการบริหารอะมีบาจึงสำคัญ

การบริหารแบบอะมีบา มี 3 วัตถุประสงค์ ประการแรก สร้างระบบบัญชีที่สะท้อนกลไกตลาดภายในหน่วยงานต่างๆ ขององค์กร (market-oriented divisional accounting system) ประการที่สอง พัฒนาให้เกิดผู้นำองค์กรที่ตระหนักในเรื่องการบริหารจัดการ และประการที่สาม ทำให้เกิด “การบริหารจัดการโดยทุกคน” (management by all)

แนวทางบริหารธุรกิจแบบอะมีบา ของอินาโมริ เปรียบการเคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoeboid movement) อะมีบาไม่มีโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่โดยเฉพาะ คนงานจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่เรียกว่าอะมีบา สนับสนุนให้ทำงานราวกับว่าพวกเขาเป็นหน่วยงานอิสระภายในบริษัท เข้าใจรายละเอียดและเห็นผลลัพธ์แบบเรียลไทม์ ติดตามประสิทธิภาพรายชั่วโมงโดยใช้ระบบบัญชีดั้งเดิม เป็นวิธีการบริหารแนวใหม่สำหรับกิจการญี่ปุ่นที่จะปฏิวัติทั้งองค์กรให้ยืดหยุ่น โปร่งใส และทำกำไรได้มหาศาล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ JAL สามารถฟื้นตัวแบบตัว V ในปีงบดุลถัดมาที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2011 หลังจากที่ขาดทุนติดต่อกันมาหลายปี ทำให้ JAL สามารถทำกำไรได้เป็นครั้งแรก

บริษัทบางแห่งที่เคยนำโดยอินาโมริ ซึ่งรวมถึง Kyocera, KDDI และ JAL ที่นำระบบอะมีบามาใช้ ล้วนประสบความสำเร็จในการเติบโตขึ้นเป็นผู้เล่นหลักในวงการของตน

“ผมใช้เวลาหลายปีในการจัดการและเรียนรู้จากประสบการณ์ของผมว่า การมีระบบที่ช่วยให้คุณเข้าใจรายละเอียดและเห็นผลลัพธ์แบบเรียลไทม์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถนำเสนอแนวคิดเพื่อปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ” อินาโมริ กล่าวเมื่อครั้งการประชุมในเดือนตุลาคม 2010 ขณะที่เขาเข้ารับงานปรับโครงสร้าง JAL

อินาโมริ ซึ่งเคยบวชเป็นพระภิกษุ ยังได้ตีพิมพ์หนังสือและบทความมากมายเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ ความเป็นผู้นำ และปรัชญา และเป็นแรงบันดาลใจให้บุคคลสำคัญทางธุรกิจอีกมากมาย

ซาชิโอะ เซมโมโตะ หนึ่งในผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงที่สุดของญี่ปุ่นและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งรุ่นก่อนของ KDDI บอกกับ เจแปนไทม์ส ในการให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2018 ว่า อินาโมริ คือผู้เปลี่ยนชีวิตของเขา

“การได้พบกับผู้นำธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ท่านนี้ ผมไม่คิดว่าผมจะก่อตั้ง (DDI) ได้ หากผมไม่ได้พบกับอินาโมริ” เซมโมโตะกล่าว พร้อมเสริมว่าอินาโมริ สอนเขามากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำทางธุรกิจ


“โรงเรียนสอนธุรกิจและมูลนิธิอินาโมริ”

อินาโมริ ยังเปิดโรงเรียนสอนธุรกิจระหว่างปี 1983 ถึง 2019 และใช้ทรัพย์สมบัติส่วนตัวของเขาในการทำบุญ

ในปี 1984 เขาใช้เงินประมาณ 2 หมื่นล้านเยนเพื่อก่อตั้งมูลนิธิอินาโมริ องค์กรมอบรางวัลให้บุคคลที่มีคุณูปการต่อสังคมอย่างโดดเด่น และให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการวิจัยที่ไม่เหมือนใคร

เมื่อมีผู้ถามเคล็ดลับสักสิ่งที่ทำให้อินาโมริ แตกต่างจากผู้นำธุรกิจโลกคนอื่นๆ คืออะไร เขาบอกว่า เขาแสดงความสงสัยเกี่ยวกับวิธีการของทุนนิยมตะวันตก ความคิดเห็นของเขาเป็นเครื่องเตือนใจถึงการบริหารบริษัทต่างๆ ที่เอาแต่ให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้น

“ถ้าคุณต้องการไข่ จงดูแลแม่ไก่”
“ถ้าคุณต้องการไข่ จงดูแลแม่ไก่” อินาโมริ กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 23 ต.ค. “ถ้าคุณรังแกหรือฆ่าไก่ มันจะไม่ได้ผล”

เป็นมุมมองที่มีน้ำหนักเนื่องจากความสำเร็จของอินาโมริ เพราะเขาบริหาร KDDI และ Kyocera มีมูลค่าตลาดรวมกันประมาณ 8.2 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานบริหารของเจแปนแอร์ไลน์ ในปี 2010 ซึ่งเขาตอนนั้นอายุ 77 ปีแล้ว และไม่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนี้ด้วยซ้ำ แต่สามารถฟื้นคืนสายการบิน ทำกำไรและออกจากภาวะล้มละลายได้ในปี 2012 โดยนำกิจการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์โตเกียวได้สำเร็จ

ความลับตามที่ อินาโมริ บอกคือ เปลี่ยนความคิดของพนักงาน หลังจากรับตำแหน่งประธาน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง เขาได้พิมพ์หนังสือเล่มเล็กๆ เกี่ยวกับปรัชญาของพนักงานแต่ละคน ซึ่งประกาศว่าบริษัททุ่มเทให้กับการเติบโตของพวกเขา เขายังอธิบายความสำคัญของงานของพวกเขาที่มีกับสังคม และสรุปหลักการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศาสนาพุทธว่า พนักงานควรดำเนินชีวิตอย่างไร เช่น การอ่อนน้อมถ่อมตนและการทำสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งนี้ทำให้พนักงานภูมิใจในสายการบินและพร้อมที่จะทำงานหนักขึ้นเพื่อความสำเร็จ

หลักคำสอน/บริหารของอินาโมริ นั้น “ผู้นำบริษัทควรพยายามทำให้พนักงานทุกคนมีความสุข ทั้งทางวัตถุและทางปัญญา” อินาโมริ กล่าว “ผู้นำบริษัทไม่ควรทำงานเพื่อผู้ถือหุ้น”

อินาโมริ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดคาโกชิมา ก่อตั้งบริษัทเคียวเซร่า (Kyocera) ในปี 1959 ที่เมืองเกียวโตเมื่ออายุ 27 ปี บริษัทเริ่มต้นด้วยพนักงาน 28 คน แต่ในที่สุดก็กลายเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนรายใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 80


กำลังโหลดความคิดเห็น