xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นแก้ กม.ดูหมิ่นไซเบอร์บูลลี่ มีโทษจำคุกหนึ่งปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


การฆ่าตัวตายของนักมวยปล้ำสาว ฮานะ คิมูระ ที่ร่วมในรายการเรียลิตีโชว์ Terrace House ที่ทำให้เธอถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง จนกลายเป็นกระแสการกลั่นแกล้งที่แสดงออกด้วยคำพูดด่าทอ กลั่นแกล้ง คุกคาม หรือระรานผู้อื่นเหยียดหยามจิตใจของเธออย่างรุนแรง (หรือไซเบอร์บูลลี่ Cyberbullying) ผลักดันให้ฝ่ายนิติบัญญัติเพิ่มบทลงโทษสำหรับการล่วงละเมิดทางออนไลน์โซเชียลมีเดีย (ภาพไอจี)
ซีเอ็นเอ็น รายงาน (7 ก.ค.) การฆ่าตัวตายของนักมวยปล้ำสาว "ฮานะ คิมูระ" ที่ร่วมในรายการเรียลิตีโชว์ Terrace House ที่ทำให้เธอถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง จนกลายเป็นกระแสการกลั่นแกล้งที่แสดงออกด้วยคำพูดด่าทอ กลั่นแกล้ง คุกคาม หรือระรานผู้อื่นเหยียดหยามจิตใจของเธออย่างรุนแรง (หรือไซเบอร์บูลลี่ Cyberbullying) ผลักดันให้ฝ่ายนิติบัญญัติเพิ่มบทลงโทษสำหรับการล่วงละเมิดทางออนไลน์โซเชียลมีเดีย

รายงานข่าวกล่าวว่า การดูหมิ่นใครบางคนทางออนไลน์อาจทำให้บุคคลในญี่ปุ่นได้รับโทษจำคุกหนึ่งปีภายใต้การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาของประเทศที่ประกาศใช้เมื่อเช้าวันพฤหัสบดี หลังจากที่ก่อนหน้านี้ การกระทำดังกล่าวมีโทษเพียงค่าปรับเล็กน้อย 9,000 เยน (ประมาณ 2,389 บาท) เมื่อผู้ชายคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าบูลลี่ดาราฮานะ คิมูระ ในปี 2020

กระแสต่อว่าบูลลี่ดาราฮานะ คิมูระ เริ่มบานปลายไปแบบควบคุมไม่ได้ และไม่ใช่แค่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในรายการ หลายคนลามปามไปถึงเรื่องรูปร่างหน้าตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ คิมูระ เป็นนักกีฬา และไม่ได้มีรูปร่างพิมพ์นิยมเหมือนสาวๆ ญี่ปุ่นทั่วๆ ไป ล้อเลียนหนักขึ้นเรื่อยๆ มีคนเหยียดรูปร่างหน้าตาของเธอมากมาย มีกระทั่งคนที่เรียกเธอว่าเป็น "กอริล่า" และคำด่าคำล้อเลียนสุดรุนแรงอีกมากมาย

เชื่อว่าเรื่องนี้ทำให้ ฮานะ คิมูระ เครียดหนักกับสิ่งที่เกิดขึ้น จนเริ่มกลายเป็นอาการซึมเศร้า ข่าวบอกว่าก่อนจะเสียชีวิตเธอทวีตข้อความมากมาย รวมถึงข้อความที่คล้ายเป็นการลาตายว่า

"ที่ผ่านมาในแต่ละวันฉันได้รับข้อความต่อว่าต่างๆ นานาอย่างรุนแรงเกือบ 100 ข้อความ ปฏิเสธไม่ได้ว่าฉันเองรู้สึกเจ็บปวด และรู้สึกเหมือนตายทั้งเป็น ขอบคุณแม่ที่ทำให้ฉันเกิดมา ฉันอยากมีชีวิตที่ได้รับความรัก ขอบคุณทุกคนที่คอยสนับสนุน ฉันรักมัน แต่ฉันอ่อนแอเกินไป ฉันขอโทษ ฉันไม่ต้องการเป็นมนุษย์อีกต่อไป ฉันอยากมีชีวิตที่ได้รับความรัก ขอบคุณทุกคน ฉันรักคุณ ลาก่อน" คิมูระ เขียนก่อนที่จะตัดสินใจปลิดชีพด้วยตัวเองด้วยการกรีดข้อมือในเวลาหลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง

โศกนาฏกรรมนี้ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้เริ่มทบทวนกฎหมายการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของญี่ปุ่น ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญาฉบับก่อนหน้า บทลงโทษสำหรับการโพสต์ดูหมิ่นทางออนไลน์มีโทษปรับ 10,000 เยน (2,654 บาท) หรือน้อยกว่าและต้องโทษจำคุกไม่เกิน 30 วัน ตอนนี้กฎหมายอนุญาตให้มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับเงินสูงถึง 300,000 เยน (ราว 79,641 บาท)

แม้จะมีแรงกดดันจากสาธารณชนต่อรัฐบาลให้จัดการกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต แต่ร่างกฎหมายที่เสนอการแก้ไขนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ CNN รายงานว่า หลังจากที่พรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่นได้เพิ่มบทบัญญัติที่เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนกฎหมายภายใน 3 ปีเพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออก ยังมีข้อกังวลว่ากฎหมายไม่ได้เจาะจงเพียงพอเกี่ยวกับพฤติกรรมใดที่ถือเป็นการดูถูก ดูหมิ่น กลั่นแกล้ง เหยียดหยามทำร้ายจิตใจ กับความผิดฐานหมิ่นประมาท

ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศกำหนดว่า การดูหมิ่นเป็นความพยายามที่จะดูหมิ่นผู้อื่นโดยไม่ต้องอ้างอิงข้อเท็จจริงเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับพวกเขา – ในทางตรงกันข้าม ความผิดการหมิ่นประมาทรวมถึงการอ้างอิงลักษณะเฉพาะ

“จำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติที่ทำให้เห็นความแตกต่างในสิ่งที่ถือเป็นการดูหมิ่น” เซโฮ โช ทนายความคดีอาญาในญี่ปุ่น บอกกับซีเอ็นเอ็น “ในตอนนี้ แม้ว่าจะมีคนเรียกผู้นำของญี่ปุ่นว่า "งี่เง่า" แต่ก็อาจอยู่ภายใต้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งอาจจัดว่าเป็นการดูถูกได้”


กำลังโหลดความคิดเห็น