xs
xsm
sm
md
lg

(ญี่ปุ่น) ผลวิจัยพฤติกรรมสัตว์แสนรู้ สุนัข เพนกวิน แมว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



◇[ผลการวิจัย] ลูกหมาสามารถเข้าใจสิ่งที่มนุษย์พูดได้ แต่ว่า …

แม้สุนัขจะพูดไม่ได้แต่มันพยายามใช้หู, หาง, ตา, และเสียงของมันเพื่อพูดกับมนุษย์ได้อย่างสุดกำลัง

สุนัขที่เติบโตและอยู่กับเจ้าของมาเป็นเวลานานแล้วสามารถสื่อสารได้อย่างราบรื่น แต่ลูกสุนัขแรกเกิดที่เพิ่งมาล่ะ จะสื่อสารยากไหม?


ซึ่งจากงานวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ จากมหาวิทยาลัย Arizona ชี้ให้เห็นว่าสุนัขอาจมีทักษะในการสื่อสารทางสังคมได้ทันทีหลังคลอด โดยได้นำลูกสุนัขสายพันธุ์รีทรีฟเวอร์ อายุ 8 สัปดาห์ จำนวน 375 ตัว ซึ่งแทบไม่มีการติดต่อกับมนุษย์แบบตัวต่อตัวมาทำการวิจัย

โจทย์ที่น้องหมาน่ารักท้าทาย รวม 4 อย่าง เช่น ดูขนม ขอความช่วยเหลือ หรือเลือกถ้วยที่มีขนมโดยอาศัยกิริยาท่าทางของมนุษย์ในการกินขนมสักถ้วย และการขอกินขนมในภาชนะปิดแล้วขอความช่วยเหลือ ฯลฯ การวิจัยพบว่าการตอบสนองตามการเคลื่อนไหวของมนุษย์และความเต็มใจที่จะส่งเสียงแบบเบบี้ทอล์คอย่างมีความสุขนั้น มากกว่า 40% เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม


และเนื่องจากการมีส่วนร่วมทางพันธุกรรมในบุคลิกภาพของมนุษย์อยู่ที่ 30-50% จึงเป็นที่เข้าใจได้เช่นกันว่าความเป็นมิตรของสุนัขมีมาแต่กำเนิด

อย่างไรก็ตาม จากผลลัพธ์ที่ลูกสุนัขไม่กี่ตัวขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ในการ "เปิดภาชนะปิด" สรุปได้ว่าความสามารถในการเริ่มการสื่อสาร เกิดจากตัวสุนัขเองที่เกิดขึ้นในภายหลังตามการเรียนรู้ เช่นเดียวกับเด็กๆ ที่มีพัฒนาการตามวัย

ถึงกระนั้น ก็จะมีลูกสุนัขที่ผล็อยหลับไปบนฝาขนมที่เปิดไม่ได้เช่นกัน


◇[ผลการวิจัย] การเปิดเผย "บ้านเกิด" ของเพนกวิน?

บรรพบุรุษร่วมกันของนกเพนกวินสมัยใหม่ปรากฏบนโลกเมื่อใดและอย่างไร

ความลึกลับที่นักวิจัยหลายคนกำลังศึกษาได้รับการเปิดเผยในที่สุด


จากการศึกษายุคใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ พบว่านกเพนกวินไม่ได้เกิดในแอนตาร์กติกาซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่เคยเข้าใจกัน แต่มีข้อมูลว่าเกิดในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เมื่อประมาณ 22 ล้านปีก่อนในยุคกลาง (ตามเวลาทางธรณีวิทยา) มีการวิวัฒนาการที่นั่นก่อนแล้วมันจึงข้ามทะเลแอนตาร์กติก

การศึกษาร่วมกับสถาบันของมหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก วิเคราะห์ตัวอย่างเลือดและเนื้อเยื่อของเพนกวิน 18 ประเภท โดยมีการติดตามประวัติวิวัฒนาการของเพนกวินที่มีมานับพันปีจากข้อมูลจีโนม เป็นที่เข้าใจได้ เหตุผลที่นกเพนกวินในแอนตาร์กติกาไม่อยู่ในขั้วโลกเหนือนั้น เชื่อมโยงกัน


แล้วบรรพบุรุษของนกเพนกวินที่เดินทางไปยังทวีปแอนตาร์กติกาขยายถิ่นที่อยู่ของพวกมันไปยังแอฟริกาตอนใต้และอเมริกาใต้ได้อย่างไร

อันที่จริงนี่เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ใกล้เคียงกับภาวะโลกร้อนนั่นเอง

ในมุมมองของนักวิจัย เมื่อ 12 ล้านปีก่อน น้ำแข็งที่ขวางกั้น Drake Passage ระหว่างแอนตาร์กติกาและแอฟริกาใต้ละลาย จากนั้น เพนกวินก็ถูกปล่อยและย้ายไปยังบริเวณชายฝั่งทะเลที่อุ่นขึ้น


เบื้องหลังการแพร่พันธ์อย่างแพร่หลายของนกเพนกวินในปัจจุบัน ตั้งแต่น้ำเย็นไปจนถึงน้ำอุ่น คือการปรับตัวทางพันธุกรรมที่ยอดเยี่ยมของพวกมันให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ถึงกระนั้นดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่คิดว่าถึงแม้เพนกวินจะปรับตัวได้สูง แต่ก็ไม่มีเวลามากพอที่จะปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งในปัจจุบัน

◇[การวิจัย] ถ้าแมวเป็นมนุษย์ มันเป็นไซโคพาธใช่ไหม?

“ไซโคพาธ” (Psychopaths) เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) โดยบุคคลที่มีอาการของโรคมีลักษณะ ขาดความเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว ขาดความยับยั้งชั่งใจ เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง เป็นต้น


คำสแลงจีน มีกลุ่มคนรักแมวที่เรียกว่า "ทาสแมว"

โดยทั่วไปแล้วจะพูดได้ว่าแมวเป็นสัตว์ที่รักอิสระมากกว่าสุนัข แต่ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาในทุกประเทศที่พวกแมวไม่รู้ว่าพวกมันถูกเลี้ยงไว้หรือไม่ถูกเลี้ยง

ในการเชื่อมโยงกับเรื่องนี้มีนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Liverpool ในสหราชอาณาจักร เพิ่งประกาศผลการวิจัยเกี่ยวกับการตรวจสอบระดับของโรคไซโคพาธในแมว


นักจิตวิทยาได้สร้างแบบสอบถาม 46 หัวข้อแรกที่เรียกว่า "CAT-Tri + Measuring" เพื่อวัดระดับโรคไซโคพาธของแมวบ้าน

จากนั้นให้ผู้เข้าร่วม 549 คนตอบคำถามเช่น "แมวรู้สึกผิดหลังจากทำชั่วหรือไม่", "จู่ๆ ก็กระโดดออกจากส่วนที่เป็นมุมมืดในบ้าน" และ "ป่วยกะทันหัน"

เมื่อดูจากผลลัพธ์แล้ว ดูเหมือนว่าแมวหลายตัวมีแนวโน้มจะเป็นโรคไซโคพาธ และความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของและสัตว์เลี้ยงดูเหมือนจะมีอิทธิพลอย่างมากด้วย


“เดิมที แมวทุกตัวมักแย่งชิงกันเพื่อหาอาหาร ดินแดนส่วนตัว โอกาสในการผสมพันธุ์ ฯลฯ ดังนั้นพวกมันจึงอาจมีองค์ประกอบทางจิตบางอย่าง” นักจิตวิทยาสรุป (อย่างไรก็ตาม จุดสิ้นสุดของบทความนี้ลงท้ายด้วย "ขอบคุณผู้เข้าร่วม (ทั้งสองขาและสี่ขา) ที่ร่วมมือในการวิจัยนี้"

แน่นอนว่าถ้าแมวเป็นมนุษย์ อาจเป็นโรคไซโคพาธก็ได้ แต่ความจริงแล้วดูเหมือนจะมีอะไรมาเปลี่ยนความสัมพันธ์ของเรากับแมวเท่าไหร่นัก ทาสแมวก็ยังรักน้องแมวเหมือนเดิมไม่ว่าจะเป็นอย่างไร
กำลังโหลดความคิดเห็น