ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยมากมาย หนึ่งในนั้นคือบริการที่ชื่อว่า “Soloban” ตัวช่วยทางธุรกิจในการจัดการข้อมูลจำนวนมากให้เป็นระบบได้อย่างง่ายดาย เรามีโอกาสได้พูดคุยกับคุณซุซุกิและคุณฮิราโนะ สองหนุ่มมากความสามารถผู้ก่อตั้ง “Soloban” ซึ่งเป็นบริการน้องใหม่จากประเทศญี่ปุ่นสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจากประเทศญี่ปุ่น เรามาดูกันว่าบริการที่ว่านี้คืออะไร และจะช่วยให้การทำธุรกิจของเราสะดวกและง่ายขึ้นได้อย่างไรบ้าง
เทรนด์ธุรกิจโลกในปัจจุบันกับที่มาที่ไปของ Soloban
เทรนด์ของซอฟต์แวร์หรือ BI Tools* (Business Intelligence Tools) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น ในญี่ปุ่นมีการคาดการณ์ว่าตลาดจะแตะ 7 แสนล้านเยนภายในปี 2025 ส่วนในยุโรปและอเมริกาสิ่งนี้ได้กลายมาเป็นเทรนด์ธุรกิจที่เน้นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ ปรับแต่ง และสรุปตัวชี้วัดเฉพาะสำหรับผู้จัดการและนักลงทุน
ปัจจุบันนี้ BI Tools และแดชบอร์ดสำหรับทำงานส่วนมากจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในระดับหนึ่ง แต่ Soloban นั้นมีความเรียบง่ายและง่ายต่อการใช้งาน มีแนวคิดให้สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่นได้ง่าย Soloban เป็น SaaS** ที่ให้บริการโดย Apollo บริษัทสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งขึ้นโดยผู้บริหารที่มีประสบการ์ทำงานที่ Google และ Microsoft โดยมีกลุ่มผู้บริหารหลักเป็นนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ
ที่น่าจับตามองคือ Soloban ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือที่เอาแต่พัฒนาฟังก์ชั่นเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือล้ำสมัยที่ออกแบบแนวคิดผลิตภัณฑ์จากนักวิจัยภายในบริษัทและผลการวิจัยในต่างประเทศด้วย ตั้งแต่แรกเริ่มบริษัทตั้งเป้าที่จะสร้างเครื่องมือแบบ New Normal ที่ผู้คนทั่วโลกจะหลงรักโดยมีการทำการตลาดหรือการสร้างคอมมูนิตี้ที่มุ่งไปที่ผู้ใช้งานทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะแต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น
ซึ่งตอนนี้ Soloban กำลังมองหาผู้เข้าร่วมทดลองใช้งานเวอร์ชั่นเบต้าโดยให้สิทธิ์กับผู้ที่มาลงทะเบียนก่อนจำกัดจำนวน 100 คน/บริษัท ซึ่งคาดว่าจำนวนที่เปิดรับอาจจะลดลงจากความสนใจที่ล้นหลาม ดังนั้นใครที่สนใจก็แนะนำว่าให้รีบสมัครไว้แต่เนิ่นๆ
*Business Intelligence Tools (บีสเน็ซ อินเทรีเจน ทูล) คือ ซอฟต์แวร์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวกับการเก็บรวมรวบข้อมูลทั้งข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลเทคโนโลยี ข้อมูลการตลาด และข้อมูลทางธุรกิจอื่นๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ธุรกิจในแต่ละด้าน ทำสามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆ รวมถึงการวิเคราะห์วางแผนการดำเนินการล่วงหน้าได้ (อ้างอิง: mindphp.com)
**SaaS ย่อมาจาก Software-as-a-Service คือการให้บริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงโปรแกรมต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอินเตอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดเครื่องไว้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้อีเมล และโปรแกรมสำนักงานอย่าง Google Drive เป็นต้น (อ้างอิง: finnomena)
Soloban เป็นผลิตภัณฑ์แบบไหน?
-ก่อนอื่นเลย ช่วยเล่าเรื่องเกี่ยวกับ Soloban ให้ฟังหน่อยได้ไหม
ซุซุกิ: “Soloban เป็นเครื่องมือแชร์ข้อมูลที่ช่วยให้ทุกคนสามารถเก็บ รวบรวม และมองเห็นข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือใน SaaS ได้อย่างง่ายดาย ตัวแดชบอร์ดใช้ UI แบบการ์ดเหมือนกับ Pinterest ทำให้สามารถแสดงผลและแชร์ข้อมูลของแต่ละงานระหว่างแผนกและทีมได้”
ฮิราโนะ: “การเกิดขึ้นของ SaaS ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานแต่ละงานมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ว่าก็มีบริษัทและบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาในการติดต่อร่วมงานแบบข้ามไปมา เพื่อส่งเสริม DX และประสิทธิภาพในการจัดการ Soloban จึงมุ่งที่จะทลายช่องโหว่ของข้อมูลและส่งเสริมการทำงานร่วมกันของทุกคนที่เกี่ยวข้องในโปรเจกต์โดยการบุ๊กมาร์กข้อมูลความคืบหน้าของงานและโปรเจกต์ในรูปแบบของการ์ด”
1. เพียงแค่ก็อปปี้และวาง URL ก็สร้างแดชบอร์ดได้เรียบร้อย!
2. ค้นดูข้อมูลที่ต้องการได้ในชั่วพริบตา!
3. สามารถปรับแต่งได้ตามชอบ จะแชร์หรือแก้ไขกับใครก็ได้!
Soloban ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง
-Soloban เกิดขึ้นจากการตระหนักถึงปัญหาใด
ซุซุกิ: “เดิมที Apollo ให้บริการโซลูชั่น AI และการใช้ข้อมูลให้กับองค์กรในส่วนของทรัพยากรบุคคล แต่อีกด้านหนึ่ง เรากลับรู้สึกว่าเทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลยังมีข้อจำกัดอยู่ ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรไม่มีวิธีการแก้ปัญหาอื่นนอกจากการให้ “คน” มามีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เราคิดว่าในการสื่อสารหรือกระบวนการทำงานนั้นน่าจะมีทางแก้ไขได้โดยการใช้เทคโนโลยีพวกเราจึงได้คิดค้น Soloban ขึ้นมาเพื่อการนี้ การใช้ Soloban จะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปกติของเรา ซึ่งในวันข้างหน้าจะถูกปลูกฝังให้กลายเป็นวัฒนธรรมไปในที่สุด”
ฮิราโนะ: “เมื่อเริ่มทำโปรเจกต์แบบข้ามแผนก ผมคิดว่าทุกคนคงเคยมีประสบการณ์ที่กว่าจะรู้ว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่ “ฝ่ายไหน” และอยู่ใน “เครื่องมือใด” ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือพอคุณกำลังจะเริ่มดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งกับบุคคลทั้งบริษัท ก็ต้องพบว่าการแชร์ข้อมูลหรือทำงานร่วมกับทีมอื่นมักจะไม่ราบรื่นและทำให้คุณเหนื่อยล้า ซึ่งปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง”
-การสื่อสารกันระหว่างแผนกดูจะเป็นเรื่องยากจริงๆ สินะ
ซุซุกิ: “ใช่ครับ เมื่อดูจากการสื่อสารขาดหายที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในกรณีส่วนใหญ่นั้นสามารถสรุปได้เป็น 2 ข้อคือ “จะต้องใช้ชั่วโมงทำงานเพิ่มจากปกติในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น” และ “ไม่สามารถแชร์ข้อมูลไปมาระหว่างกันได้” ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงพยายามพัฒนาระบบที่จะช่วยให้ทั้งทีมเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการและแชร์กันได้แบบเรียลไทม์”
ฮิราโนะ: “จากที่ได้สัมผัสกับทำงานกับลูกค้าหลายบริษัท ผมพอจะทราบตั้งแต่แรกแล้วว่า ส่วนใหญ่มักต้องการกระตุ้นการสื่อสารภายในบริษัท และยังมีความต้องการที่จะรับรู้ข้อมูลของทีมแบบเรียลไทม์”
-คุณให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นใดเพื่อลดการสื่อสารขาดหายที่เกิดจากช่องโหว่ของข้อมูลเหล่านี้
ซุซุกิ: “ผมคิดว่าไม่ว่าโปรเจกต์ไหนก็ควรจะ “อยู่ในสถานะที่ไม่มีช่องว่างของข้อมูลและสามารถแชร์ข้อมูลภายในทีมได้อย่างถูกต้องแม่นยำ” ซึ่งเราได้ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงและมองเห็นข้อมูลเป็นพิเศษเพื่อให้สถานะนั้นเกิดขึ้นได้ Soloban จึงมีอินเทอร์เฟซสำหรับบุ๊กมาร์กข้อมูลของงานด้วยการ์ด เพื่อให้เราสามารถเข้าใจการเคลื่อนไหวภายในทีมได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง”
แนวคิดทางวิชาการของ Soloban
-ได้ยินว่า Soloban เกิดจากผลการวิจัยทางวิชาการ มันเป็นอย่างไรหรือ
ซุซุกิ: “ Soloban ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับแนวคิดเรื่อง Switching Cost, Schema และ Directory System ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของประสาทวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสารสนเทศ มนุษย์เราไม่สามารถทำงานหลายๆ อย่าง(multi task) พร้อมกันได้ แต่จะประมวลผลข้อมูลโดยทำงานแต่ละงาน(single task) สลับไปมาซ้ำๆ ได้ ภาระทางปัญญานี้ทำให้เกิด Switching Cost ขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง การประมวลผลข้อมูลจะมีความคล่องตัวขึ้นได้จากการจัดกลุ่ม (grouping) ข้อมูลที่เรียกว่า Schema ดังนั้น Soloban จึงมีแนวคิดในการจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อลดภาระการประมวลผล อีกทั้ง จากมุมมองของวิศวกรรมข้อมูล ในปัจจุบันแม้จะมีการนำระบบไดเร็กทอรีมาใช้ภายใต้การนำของบริษัทที่ฮิราโนะและผมเคยสังกัดอยู่ (Google และ Microsoft) แต่ถ้าใช้ระบบดังกล่าวเพียงอย่างเดียว จะทำให้โครงสร้างแบบลำดับชั้นมีความซับซ้อนขึ้น ต้องใช้วีธีประมวลผลข้อมูลที่ต่างจากกระบวนการประมวลผลข้อมูลทั่วไปของมนุษย์ สำหรับข้อมูลสนับสนุนด้านวิชาการเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ Soloban ครับ”
ฮิราโนะ: “Soloban ได้เล็งเห็นวิธีการใหม่ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อลดภาระอันหนักของพนักงานทุกคน รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพในการคิดและการสื่อสาร เพื่อตอบสนองต่อภาวะที่ผู้คนมีภาระทางปัญญาและมีความเครียดทางจิตใจสูง ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ Soloban สามารถแก้ปัญหาได้ไม่ขึ้นอยู่กับประเทศ บริษัท หรือลักษณะการทำงาน แต่ขึ้นอยู่กับประสาทวิทยาศาสตร์ ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ให้ทุกคนได้”
-ก็คือไม่ใช่ความต้องการเฉพาะกลุ่ม แต่เป็นความต้องการของทุกคน ที่ข้ามขอบเขตของประเทศและสาขาอาชีพ
ซุซุกิ: “ใช่ครับ โชคดีที่ผมคิดแผนงานนี้ขึ้นมาได้จากแนวทางประสาทวิทยาศาสตร์ และสามารถร่างแนวคิดที่ชัดเจนโดยไม่ผูกติดกับอุปสงค์และอุปทานที่เฉพาะเจาะจง แน่นอนว่าในตอนนี้ยังมีหลายจุดที่ยังเป็นข้อสันนิษฐานอยู่ ดังนั้นพวกเราจึงขยายขอบเขตการรับสมัครผู้สนใจใช้งานเวอร์ชั่น closed beta ออกไป ไม่เฉพาะแค่ในญี่ปุ่นแต่รวมถึงทั่วโลก เราพยายามสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้สามารถรับความคิดเห็นที่หลากหลายได้มากกว่าช่วงแรก เพื่อให้บริการสามารถเข้าได้กับผู้คนที่หลายหลาย”
ฮิราโนะ: “นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารและสมาชิกหลักของเรา เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการบริหารบริษัทในต่างประเทศและประสบความความสำเร็จทางการตลาดมามากมาย จากจุดแรกเริ่มในการเปิดตัวร่วมกับพวกเขา ในระยะยาวเราตั้งใจวางแผนก่อตั้งคอมมูนิตี้ที่ผู้คนสามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและสร้างเป็นระบบนิเวศขึ้นมา ซึ่งแม้ในตอนนี้เราก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากทั้งผู้มาสมัครงานจากหลายประเทศ หรือจากนักลงทุนที่เข้ามาปรึกษา ทำให้ผมรู้สึกว่า Soloban มีศักยภาพที่ดีทีเดียว”
เริ่มเปิดรับสมัครผู้ร่วมประสบการณ์ทดลองใช้งานเวอร์ชั่น closed beta ในเดือนสิงหาคม 2021
-ในที่สุด Soloban ก็จะเปิดให้คนทั่วไปใช้งานได้ในเดือนสิงหาคมแล้ว
ซุซุกิ: “ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 เป็นต้นไป เราประกาศรับสมัครผู้ทดลองใช้งานเวอร์ชั่น closed beta โดยรับตามลำดับ 100 คนแรกเท่านั้น ซึ่งตอนนี้เราได้รับสมัครจาก referral สมาชิกหลักไปบ้างแล้ว ดังนั้นจำนวนที่รับสมัครได้น่าเหลือน้อยลงแล้ว แต่ผมจะดีใจมากๆ ถ้าคนที่ต้องการจะร่วมสร้าง Soloban ไปกับเราติดต่อสมัครกันเข้ามา”
ฮิราโนะ: “สำหรับผู้สมัครให้ความร่วมมือเข้ามานั้นจะไม่ใช่แค่ผู้ทดสอบเท่านั้น เพราะผมจะเตรียมคอมมูนิตี้และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จำกัดให้เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมใน closed beta เท่านั้นด้วย โดยผู้ที่สมัครเข้ามาในครั้งนี้แต่โควต้าเต็มก่อนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมในเวอร์ชั่น open beta แบบ early access โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ด้วยความที่เรามีวิสัยทัศน์ในการ “ทำงานให้มีความสุข” เราจึงจะให้ทุกคนจะได้เพลิดเพลินและมีส่วนร่วมไปกับเราอย่างแข็งขันผ่านกิจกรรมอย่างเช่นการใช้ฟังก์ชั่นที่ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นและได้คะแนนโหวตสูงสุด 1-3 อันดับแรกในทุกๆ เดือน สุดท้ายนี้ต้องขอโทษจริงๆ ที่จำนวนที่รับสมัครมีไม่เยอะ แต่ถ้าหากมีใครสนใจแม้สักเล็กน้อยละก็ เราก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ
เรียกได้ว่าเป็นบริการแนวใหม่ที่น่าสนใจและน่าจะตอบโจทย์การทำธุรกิจในปัจจุบันได้มากทีเดียว สำหรับใครที่สนใจ สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมหรือสมัครสมาชิกที่เว็บไซต์ด้านล่างได้เลย (มีภาษาอังกฤษ)
เว็บไซต์: Soloban Official Website (English Ver.)
สมัครทดลองใช้บริการ: Try Soloban
เกี่ยวกับผู้ก่อตั้ง Soloban
เคย์ตะ อัลเลน ซุซุกิ
สำเร็จการศึกษาจากคณะสิ่งแวดล้อมและสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยเคโอ มีความสนใจเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชันและ data analysis มาตั้งแต่สมัยเรียน เมื่อเรียนจบได้เข้าทำงานที่บริษัท Microsoft ในตำแหน่งวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี มีจุดแข็งคือการออกแบบทางเทคนิค การวางแผนกลยุทธ์ข้อมูล การพัฒนาแอปพลิเคชัน และการออกแบบองค์กรในด้านทรัพยากรบุคคลไอที เป็นต้น
ฮิราโนะ อิซามุ
สำเร็จจบการศึกษาจากภาควิชาวัสดุโลกและดาวเคราะห์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโทโฮคุ สมัยเป็นนักศึกษาได้เข้าฝึกงานด้านการตลาดที่บริษัท CyberAgent Capital Indonesia และ SHOWROOM และเมื่อเรียนจบก็เข้าทำงานที่บริษัท Google ก่อนที่จะย้ายไปทำงานในทีมสตาร์ทอัพเพื่อช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจสตาร์ทอัพในต่างประเทศและทำธุรกิจการลงทุน มีจุดแข็งคือการวางแผนกลยุทธ์ด้านบุคลากร โดยเน้นที่กลยุทธ์การสรรหาบุคลากรและการตลาดดิจิทัล
ที่มา : Anngle Thailand