เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นได้กล่าวในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ว่า
「私は、ここに、第32回近代オリンピアードを記念する、東京大会の開会を宣言します」
“ข้าพเจ้า ขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโตเกียว เพื่อเป็นที่ระลึก (記念する คิเน็นสุรุ) ถึงโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 32 ณ บัดนี้”
ฟังดูแปลกไหมครับ?
ปกติในโอกาสเช่นนี้ น่าจะต้องใช้คำว่า “เฉลิมฉลอง” (祝い อิไวอิ) มิใช่หรือ?
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ตามแบบแผนพิธี (protocol) ปกตินั้น ประมุขของประเทศเจ้าภาพจะเป็นผู้กล่าวเปิดงาน โดยใช้คำว่า celebrating (เฉลิมฉลอง) ซึ่งตอนที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2507 ก็ยังใช้คำว่า “เฉลิมฉลอง” แต่ก็แบบว่าครับ ด้วยวิธีการคิดตามประสาญี่ปุ่น เขาเห็นว่าตอนนี้โลกเรากำลังเจอวิกฤติโควิด จะใช้คำว่า “เฉลิมฉลอง” ก็ดูจะใช่ที่ คำกล่าวเปิดงานก็เลยต้องบิดการใช้คำไปหน่อยหนึ่ง จาก “เฉลิมฉลอง” เป็น “ที่ระลึก” ด้วยประการฉะนี้แล
แต่ทั้งนี้ การบิดคำตรงนี้ทำเฉพาะคำกล่าวที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น ส่วนภาษาอังกฤษ รูปแบบการใช้ถ้อยคำในคำกล่าวเปิดงานจะต้องสั้นกระชับและเดินตามมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยง “การใช้ประโยชน์ทางการเมือง” (เพราะเคยมีกรณีที่ประธานาธิบดีบุชแห่งสหรัฐฯ เคยใส่ถ้อยคำยกประเทศตัวเองว่าปราบผู้ก่อการร้าย ตอนแข่งโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองซอลท์เลคซิตี้เมื่อปี พ.ศ. 2545 มาแล้ว) ซึ่งจริงๆ แล้วการจะเปลี่ยนแปลงถ้อยคำใดๆ ก็ตามจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) แต่ว่ากันว่าในคำกล่าวฉบับภาษาญี่ปุ่นนั้น “ได้รับการอนุมัติก่อนหน้าแล้ว”
ถ้อยคำนั้นสำคัญไฉน? สำคัญตรงที่ใครเป็นคนพูด และพูดในโอกาสไหน นี่แหละครับ
ข้อมูลจาก : Anngle Thailand