สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้ว ตอนนี้ทั่วโลกยังคงเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถ้าพูดถึงประเทศญี่ปุ่นแล้วคนในประเทศมีทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องโรคโควิด-19 แบ่งเป็นสองฝ่ายใหญ่ๆ ซึ่งทั้งสองฝ่ายนี้ต่างก็มีความเห็นไม่ค่อยจะลงรอยกันนัก ความเห็นฝ่ายแรกคือเห็นว่าโรคโควิด-19 เป็นแค่โรคไข้หวัดธรรมดาไม่ได้น่ากลัวจริงอย่างที่พูดๆ กัน ส่วนความเห็นอีกฝ่ายเห็นว่าโรคโควิด-19 คือโรคระบาดร้ายแรงที่จะทำให้โลกของเราเกิดสภาวะย่ำแย่และเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเรื่องของความคิดเห็นส่วนบุคคลครับ
แต่ไม่ว่าจะฝ่ายไหนก็มีสิ่งที่คิดเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ทั้งสองฝ่ายต่างไม่เชื่อสิ่งที่รัฐบาลประกาศออกมาในแต่ละวันเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์การรองรับโรคโควิด-19 เช่น เรื่องของจำนวนคนที่ติดเชื้อในแต่ละวัน ฝ่ายที่มองว่าโรคโควิด-19 เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดามองว่าสิ่งที่รัฐบาลประกาศนั้นหลอกลวงเนื่องจากอยากจะให้คนเห็นว่ามีคนติดโรคโควิด-19 เยอะและมีคนเสียชีวิตจำนวนมาก รัฐบาลบวกตัวเลขเข้าไปแน่ๆ บางคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุหรือโรคอื่นแต่ก็ลงข้อมูลว่าเสียชีวิตเพราะโรคโควิด-19 ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งที่เชื่อว่าโรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดน่ากลัวก็มองว่ารัฐบาลรายงานตัวเลขน้อยลงกว่าความเป็นจริงเพราะเป็นห่วงภาพลักษณ์และเรื่องเศรษฐกิจและเป็นห่วงเรื่องงานโอลิมปิกที่กำลังจะเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้ จึงสร้างตัวเลขคนติดเชื้อและคนเสียชีวิตให้มีจำนวนน้อยกว่าความเป็นจริง คนอีกส่วนหนึ่งก็เห็นว่าเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเมือง ซึ่งทุกฝ่ายต่างก็สงสัยในเรื่องของการนับตัวเลขของรัฐบาล
เหตุผลหนึ่งที่คนญี่ปุ่นไม่ค่อยเชื่อรัฐบาลเพราะว่ารัฐบาลใช้ระบบ Excel ในการนับจำนวน มีแหล่งข่าวรายงานว่าเดิมทีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องการติดเชื้อของแต่ละศูนย์สาธารณสุขนั้นมีการรายงานข้อมูลไปยังเมืองหลวงทางโทรสาร ( FAX📠) โดยศูนย์สุขภาพที่จัดตั้งขึ้นโดย 23 อําเภอและ 2 เทศบาล ศูนย์สุขภาพตามหมู่เกาะในเขตการปกครองโตเกียว 6 แห่ง รวมศูนย์สุขภาพทั้งหมด 31 แห่งในโตเกียว ผลการตรวจ PCR ระบุผู้ติดเชื้อของศูนย์สุขภาพทั้ง 31 แห่ง ซึ่งจะส่งโทรสารไปยังสํานักงานสวัสดิการและสุขภาพของโตเกียวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บสถิติข้อมูลเพื่อรายงานอาการและเส้นทางการติดเชื้อรวมถึงข้อมูลสำคัญอื่นๆ ทำให้เกิดความผิดพลาดและล้มเหลวในการระบุจํานวนหรือรายงานการติดเชื้อ
จนถูกเรียกว่า 神エクセル or ネ申エクセル → kami excel หรือพระเจ้า Excel คืออะไร? เนื่องจากใช้ระบบลงบันทึกข้อมูลและนำเสนอในโปรแกรมเอ็กเซล Excel หรือโปรแกรมที่จริงๆ แล้วมีไว้ใช้เพื่อทำตารางคำนวน และมีการเก็บข้อมูลในกระดาษ (Kami) ที่อ่านพ้องเสียงกับคำว่า "พระเจ้า" (神 Kami) คนจึงเรียกแบบแสลงว่า พระเจ้า Excel บนทวิตเตอร์มีการพูดถึงชนวนปัญหา "พระเจ้า Excel" อีกครั้งซึ่งเป็น "ปัญหาใหญ่" ในแง่ของประสิทธิภาพและการจัดการ
ส่วนสถานการณ์การระบาดที่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ประเทศอินเดียที่กำลังระบาดหนักมาก คนญี่ปุ่นเห็นตัวเลขแล้วต่างก็รู้สึกตกใจเป็นอย่างมากว่าทำไมเยอะขนาดนี้บางวันตรวจเจอคนติดโรคโควิด-19 มากกว่าวันะ 3- 4 แสนคน แค่ตัวเลขที่ได้ยินก็ตกใจแล้ว แต่ที่ตกใจยิ่งกว่าก็คือเขาสามารถที่จะใช้เครื่องมือ PCR ตรวจได้มากกว่าวันละ 3-4 แสนคนแน่ๆ ถึงรู้ผลว่ามีคนติดเยอะขนาดนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งทำให้รู้สึกทึ่งมากกว่า ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นที่ตรวจได้น้อยมาก
ในช่วงที่คนญี่ปุ่นติดตามข่าวสถานการณ์โควิด-19 แล้วพบความผิดหวังหลายๆ เรื่องจากการจัดการของทางรัฐบาล ต่างก็เกิดคำถามขึ้นมากับตัวเองว่าที่จริงแล้วญี่ปุ่นไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือเปล่า? ที่ผ่านมาแม้ว่าจะเคยเจอปัญหาภัยพิบัติมากมายทั้งแผ่นดินไหวใหญ่ หรือเรื่อง Oil shock , ฟองสบู่แตก, วิกฤตมากมาย ก็แก้ปัญหามาได้ แต่เรื่องโรคระบาดโควิด-19 ผมคิดว่ามันเป็นครั้งแรกที่ประเทศเจอปัญหาโรคระบาดดังกล่าวใช่ไหมจึงล้มเหลวไม่เป็นท่า
ในสถานการณ์ที่โลกเรายังผจญกับโรคระบาดโควิด -19 นี้ ถือว่าค่าเงินของญี่ปุ่นค่อนข้างแข็ง คนยังต้องการเงินเยน เงินเยนถูกซื้อเป็น "สินทรัพย์ที่ปลอดภัย" เช่นเดียวกับทองคําและฟรังก์สวิส แต่เรื่องการฉีดวัคซีน? ฉีดได้น้อยแบบนี้เพราะไม่มีวัคซีนหรือ ? ไม่มีเงินหรือ? ไม่ใช่ครับ คำตอบคือมีวัคซีนมากเพียงพอที่จะฉีดให้ประชาชนโดยเฉพาะเพียงพอต่อกลุ่มเป้าหมายแรกที่เป็นผู้สูงอายุแต่ระบบการบริหารจัดการไม่ดีพอ อัตราการฉีดวัคซีนยังต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เพราะขาดการจัดการที่ดีพอในเรื่องโลจิสติกและขาดกําลังคน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นปัญหาคอขวด
มาดูข้อมูลเปรียบเทียบการฉีดวัคซีน COVID-19 แต่ละประเทศ ต่อประชากร 100 คน ( 1 คน ฉีด 2 ครั้ง ) ข้อมูลจาก The Spectator Index
วันที่ 25 พฤษภาคม จะเห็นว่าประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการฉีดวัคซีนน้อยมาก
UAE: 123
Israel: 122
Chile: 90
UK: 89
US: 85
Canada: 56
Germany: 54
Spain: 52
Italy: 51
France: 48
Norway: 44
Saudi: 37
China: 36
Turkey: 33
Brazil: 27
Mexico: 20
Russia: 18
India: 14
Indonesia: 9
** Japan: 7.5 **🇯🇵
ความรู้สึกของตัวผมเองคิดว่าคนญี่ปุ่นตอบสนองมาตรการต่างๆ อย่างใจเย็น แม้ว่าที่จริงเป็นแค่การร้องขอจากรัฐบาลเท่านั้น คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีความเป็นผู้ใหญ่มีระดับวุฒิภาวะสูงพอสมควร หมายถึงคนที่มีบุคลิกสงบอ่อนโยนใจกว้าง คิดบวก มีความรอบคอบ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจ มีความรับผิดชอบ เป็นที่พึ่งได้ ตระหนักถึงความแตกต่างในค่านิยมและความรู้สึกของบุคคล และมีพลังใจและความแข็งแกร่งทางจิตใจที่จะเอาชนะความยากลําบากต่างๆ ที่พบเจอด้วยพลังของตัวเอง ด้วยความที่ส่วนใหญ่มีลักษณะและวุฒิภาวะเช่นนี้ ทำให้สังคมยังอยู่ด้วยกันแบบใจเย็น จะเห็นว่าเวลาที่มีภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติรุนแรงต่างๆ เช่น แผ่นดินไหวใหญ่ หรือพายุถล่ม ต่างๆ อาจจะได้ยินข่าวการขโมยของกิน ขโมยของเล็กๆ น้อยๆ บ้าง แต่ไม่เคยมีกรณีผู้ร้ายถือปืนเข้าไปปล้นร้านค้าในยามที่เกิดวิกฤตหรือในภาวะที่ทุกคนกำลังเดือดร้อนจากภัยพิบัติ หรืออาจจะมีเรื่องลุงลามกพูดจาลวนลามคนอื่นในขณะที่อยู่ในศูนย์หลบภัยพิบัติบ้าง แต่ก็ไม่มีกรณีฉุดคนในศูนย์หลบภัยไปข่มขืน เป็นต้น
ระดับวุฒิภาวะของบุคคลจึงไม่ใช่ปัญหาอย่างที่บอกไป แต่ระบบการจัดการนั้นไม่เอื้อ ทำให้ไม่สามารถผลักดันงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนั้นก็เรื่องขาดแคลนกำลังคน และเรื่องการจัดการระบบโลจิสติกที่ไม่ดีพอ เช่น การนัดหมายผู้สูงอายุ บางคนไม่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน จะแจ้งข้อมูลและนัดหมายอย่างไร บางแห่งให้คนแก่คนสูงอายุมาติดต่อที่หน่วยงานราชการท้องถิ่น ซึ่งทำให้เกิดการรวมตัวและเกิดคลัสเตอร์ขึ้นได้อีก
เพราะญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรืองานอดิเรก รวมทั้งมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นต่างก็ยึดติดและมีความต้องการทำให้ถึงที่สุดนี่คือคนญี่ปุ่น เช่น
●ประธานบริษัทที่ซื้อพัตเตอร์ใหม่มาตั้งไว้ในห้องทำงาน เขาทำงานยุ่งมากๆ หาเวลาไปตีกอล์ฟได้ปีละไม่กี่ครั้ง แต่ก็มีพัตเตอร์ใหม่ที่ซื้อมาไว้ในห้องทำงานเพื่อให้ได้ฝึกทุกวัน (อืม..แบบนี้แหละญี่ปุ่น! (´・ω・ ` ))
●หรือนักกีต้าร์มืออาชีพที่ซื้อกีต้าร์สเปคใหม่มาเพื่อซ้อมบันไดเสียงท่อนโซโล่ประมาณ 10 วินาที วนไป 3 ชั่วโมงทุกวันๆ ที่จริงด้วยความเป็นนักกีต้าร์มืออาชีพอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องซ้อมท่อนโซโล่ก็ได้ แต่เพราะซื้อกีต้าร์สเปคใหม่มาแล้วเลยต้องซ้อมเข้าไป (อืม..แบบนี้แหละญี่ปุ่น! (´・ω・ ` ))
●ก็เหมือนกับซามูไรในยุคเอโดะที่ไม่เคยหยุดฝึกดาบตลอดทั้งชีวิตแม้ว่าเขาแทบไม่มีโอกาสฆ่าคนในช่วงเวลาที่บ้านเมืองสงบสุขก็ตาม
นั่นคือตัวอย่างความแข็งขันยึดติดแน่นและความต้องการทำให้ถึงที่สุดในการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ดังกล่าว ที่เหมาะกับระบบงานอุตสาหกรรมมากกว่า ผลดีอย่างหนึ่งของความสุดในเรื่องนี้เช่นทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ก่อนหน้านี้ด้วยเทคโนโลยีเครื่องกลึงความแม่นยำ 0.0 มม. และทำให้อุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นที่กลายเป็นอันดับต้นๆ
กลับกันเมื่อโลกเดินมาถึงยุคไอทีมันต้องไม่ใช่ระบบเดิมๆ แบบนี้ เช่นการที่ใช้โปรแกรม Excel เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำเอกสารให้ดูดีและใช้เพื่อการนำเสนอ presentation แบบที่ทำกันอยู่มันมีประโยชน์ทันต่อสถานการณ์จริงๆ หรือไม่ ใครๆ ก็ตั้งคำถามขึ้นมา "พระเจ้า Excel จะเป็นอย่างไร? " ส่งแฟกซ์และต้องตรวจสอบทางโทรศัพท์เพิ่มเติมเพื่อดูว่าโทรสารที่ส่งไปถึงหรือยัง แบบนี้ใช่ไหม มันทำให้ทุกคนคิดเกี่ยวกับความยุ่งเหยิงของเรื่องการจัดการวัคซีนในปัจจุบัน เล่าสู่กันฟังครับวันนี้สวัสดีครับ