xs
xsm
sm
md
lg

สาวญี่ปุ่นเตือนภัยอาหารฟาสต์ฟู้ด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นอาหารจานด่วนที่หลายคนชอบเพราะสะดวกและหารับประทานง่าย บางคนรับประทานอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดบ่อย เพราะมีวิถีชีวิตที่ยุ่งวุ่นวายในแต่ละวัน แต่ทว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นมีแคลอรี่สูงมากทั้งยังมีน้ําตาล , เกลือ, กรดไขมันเลว และสารเติมแต่งมากมาย ในขณะที่มีสารอาหารที่ร่างกายจําเป็นอยู่น้อย การรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดบ่อยๆ ไม่เพียง แค่นําไปสู่โรคอ้วน แต่ยังส่งผลให้เกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิดอื่นๆ เช่น ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และทำให้อารมณ์แปรปวน วันนี้สาวๆ จะแนะนำอันตรายที่ซ่อนอยู่ในอาหารจานด่วนหรือฟาสต์ฟู้ด ตามข้อมูลที่นําเสนอโดยเอกสารทางวิชาการในต่างประเทศและวารสารข้อมูลการดูแลสุขภาพ และแนะนําเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เพื่อป้องกันการกินในปริมาณที่มากเกินไป


อันตรายที่ซ่อนอยู่ในอาหารจานด่วน


1.มีผลทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

บางคนอาจจะเคยได้ยินมาว่ามีแค่แฮมเบอร์เกอร์และพิซซ่าเท่านั้นที่ทําให้โรคอ้วนถามหา แต่มีสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มาแล้วจากการสํารวจและติดตามผลในสหรัฐอเมริกาของกลุ่มเป้าหมายประชากรวัยหนุ่มสาว จำวน 3,000 คน ยืนยันได้ว่าผู้ที่กินอาหารจานด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดบ่อยๆ มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้

การบริโภคอาหารจานด่วนหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์อาจนําไปสู่โรคอ้วนและถ้ามากกว่าสัปดาห์ละสองครั้งอาจนำความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยความเสี่ยงของโรคหัวใจเรื้อรังเพิ่มขึ้น ครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดมากกว่าสัปดาห์ละครั้งดังนั้นหลายสื่อจึงเริ่มเตือนและอธิบายความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และมีเผยแพร่ในญี่ปุ่นเช่นกัน

จำนวนแคลอรี่ที่มีอยู่ในอาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นมากจนน่าตกใจ ตัวอย่างเช่น เบอร์เกอร์แซนวิชชิ้นเล็กแค่หนึ่งในสี่ของขนมปังปอนด์ (ประมาณ 113 กรัม) มีแคลอรี่ประมาณ 500 กิโลแคลอรี่ ขนาดยังไม่รวมเมนูข้างเคียงอื่นๆ เช่น มันฝรั่งทอด ครีมมันฝรั่ง เป็นต้น นอกจากนี้นิตยสารครอบครัวฉบับหนึ่งยังรายงานว่าเบอร์เกอร์ชิ้นเดียวประกอบด้วยไขมัน 25 กรัม คาร์โบไฮเดรต 40 กรัม น้ำตาล 10 กรัมและโซเดียมถึง 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งสามารถมองเห็นได้ว่าเป็นอาหารที่ขาดความสมดุลทางโภชนาการ

นอกจากนี้หากรับประทานมันฝรั่งและน้ําอัดลมด้วยกัน จะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตจะเพิ่มขึ้น ข่าวทางการแพทย์ซึ่งให้ข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพแจ้งข้อควรระวังเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตเหล่านี้ว่ามีผลต่อการหลั่งอินซูลินจํานวนมากซึ่งสามารถกระตุ้นความหิวและทําให้อยากรับประทานอาหารมื้อต่อไปไวขึ้น มันเป็นกับดักที่ไม่คาดคิดเลยทีเดียวที่ทำให้ร่างกายรู้สึกหิวตรงกันข้ามกับปริมาณแคลอรี่ที่มีอยู่


2.เป็นศัตรูตัวร้ายของความงาม

อาหารจานด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นเป็นอาหารที่ไม่มีความสมดุลด้านโภชนาการ มักจะขาดสารอาหารที่จําเป็นต่อร่างกาย นั่นหมายถึงอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นศัตรูตัวร้ายของความงาม อาหารเหล่านี้มีมักจะขาดผักและผลไม้ ปกติแล้วตามหลักโภชนาการมีข้อแนะนําให้รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหาร 25 กรัมต่อวัน แต่อาหารจานด่วนอาหารฟาสต์ฟู้ด นั้นยากที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ การที่ร่างกายขาดเส้นใยอาหารนั้นไม่เพียงแต่ทําให้เกิดอาการท้องผูกมากขึ้น และเมื่อระบบย่อยอาหารแย่ลงมันสามารถนําไปสู่โรคถุงผนังสำไส้อักเสบได้อีกด้วย

นอกจากนี้ต้องระวังปัญหาที่เกี่ยวกับผิว คลินิกเกี่ยวกับโรคผิวหนังกล่าวว่าอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตสามารถทําให้น้ําตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นแบบฉับพลันและทําให้เกิดสิวอุดตันได้

นอกจากนี้นิตยสารซึ่งเกี่ยวกับโภชนาการยังอธิบายว่าอาหารจานด่วนอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งมีแนวโน้มที่มีปริมาณเกลือเกินความต้องการของร่างกายซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อรูปร่างที่สวยงามของสาวๆ สมัยใหม่ด้วย


3.ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

หากยังคงนิสัยการกินอาหารฟาสต์ฟู้ดอยู่จะทำให้ภูมิคุ้มกันขั้นพื้นฐานของร่างกายลดลงในที่สุด คนที่มักจะซื้ออาหารจานด่วนอาหารฟาสต์ฟู้ดรับประทานจะมีปัญหาเรื่องระดับการเผาผลาญสูงกว่าผู้ที่ซื้ออาหารปกติตามซูเปอร์มาร์เก็ต ตามข้อมูลที่ตีพิมพ์ในเอกสารสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศและวารสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ บอกว่ากรดพทาลิกเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบและเมตาโบลิซึ่มของร่างกาย

นอกจากนี้วารสารโภชนาการที่ตีพิมพ์ล่าสุด ระบุว่าน้ําตาล, เกลือและกรดไขมันอิ่มตัวในอาหารจานด่วนทําให้เกิดโรคที่หลากหลาย รวมถึงภูมิคุ้มกันอ่อนแอและเกิดการอักเสบต่างๆ โรคมะเร็งบางชนิด โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคจมูกอักเสบและกลาก เกิดการเสื่อมสภาพของความสมดุลทางโภชนาการเป็นปัจจัยให้เกิดโรคต่าง ๆ นั่นเอง


4.มีผลต่อการทํางานของอารมณ์และสมอง

ไม่เพียงแต่ฟังก์ชั่นทางกายภาพ แต่ยังดูเหมือนว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดจะส่งผลกระทบต่อจิตใจด้วยวารสารเกี่ยวกับโภชนาการและการสาธารณสุขที่ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ชี้ไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารจานด่วนและอาการซึมเศร้า คนที่กินอาหารจานด่วนเดิมๆ และรับประทานบ่อยครั้งขึ้นประมาณ 51 เปอร์เซ็นต์มีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่รับประทานอาหารแบบปกติ

ผลกระทบด้านอารมณ์อื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญกับ ETNT โดยที่รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูงมากเกินไป สามารถนําไปสู่การทําให้เกิดอาการหงุดหงิดมากขึ้นเพราะขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 ไม่เพียงแต่ปัญหาด้านความรู้สึก แต่ยังมีอิทธิพลต่อการทํางานของสมอง คำแนะนําในมุมมองของนักโภชนาการบอกว่ากรดไขมันเลวในอาหารจานด่วนยังมีผลต่อการลดหน่วยความจําและการทํางานของสติปัญญา

วารสารวิชาการทางโภชนาการ แนะนําความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงและคาร์โบไฮเดรตและหน่วยความจําที่แย่ลงและต่อฟังก์ชั่นการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน และการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดในระยะยาวดูเหมือนจะสิ้นเปลืองมากด้วย


5.ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

อาหารจานด่วนและขนมขบเคี้ยวมีเครื่องปรุงรสจำนวนมาก และยังใช้เกลือมากเกินไปมีผลกระทบเชิงลบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นโปรดระวังอย่ากินอาหารเหล่านี้มากเกินไป

นอกจากนั้นน้ําตาลยังเป็นศัตรูที่ยิ่งใหญ่ต่อสุขภาพ มีการอธิบายกลไกที่น้ําตาลส่งผลทำให้หลอดเลือดแดงตีบ ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง แม้ว่าจะรับประทานอาหารจานด่วนเพียงมื้อเดียวปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นในร่างกายของคุณทันที

ซึ่งจัดการกับข้อมูลสุขภาพกระตุ้นให้เกิดความตะหนักและระมัดระวังเรื่องกรดไขมันทรานส์ที่พบในอาหารจานด่วนด้วย และมีผลทำให้ลดไขมันดี เพิ่มไขมันเลวและทําให้เกิดปัญหาหลอดเลือดตีบตัน อาหารที่มีกรดไขมันทรานส์สูงได้แก่ ขนมปัง แป้งในขนมปังพิซซ่า แครกเกอร์และคุกกี้และพายทอดกรอบ เป็นต้น


6.ผลกระทบต่อกระดูกและฟัน

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วอาหารจานด่วนมีแนวโน้มที่จะนําไปสู่โรคอ้วน แต่เมื่อคุณเป็นโรคอ้วนภาระของกระดูกของคุณจะเพิ่มขึ้น มีผลการวิจัยพบว่าคนอ้วนมีมวลกล้ามเนื้อและความหนาแน่นของกระดูกต่ำกว่าคนผอม และมีความเสี่ยงของกระดูกแตกเพิ่มขึ้น

เกลือจํานวนมากในอาหารจานด่วนสามารถนําไปสู่โรคกระดูกพรุน ตัวอย่างเช่น บิ๊กแมคชิ้นเดียวมีโซเดียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัมซึ่งเกินหนึ่งในสามของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันอย่างไรก็ตามปริมาณเกลือที่รวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ขายต่างๆ นั้นเกือบจะมีมากเท่าๆ กันและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วย

นอกจากกระดูกแล้วผลกระทบต่อฟันด้วยเช่นกัน นิตยสารด้านสุขภาพรายงานว่าอาหารจานด่วนและอาหารแปรรูปมีแนวโน้มที่จะสร้างกรดในปาก สิ่งนี้จะส่งผลให้สูญเสียเคลือบฟันที่ปกป้องฟัน ทําให้แบคทีเรียสามารถแทรกเข้าไปในเนื้อฟัน ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดฟันผุได้ง่ายขึ้น


7.มีสารเติมแต่งและการก่อมะเร็ง

หนึ่งในข้อเสียระยะยาวที่น่ากลัวที่สุดคือสารก่อมะเร็ง อาหารจานด่วนจํานวนมากมีสารเติมแต่งจํานวนมากซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งในอนาคต เช่น สารก่อมะเร็งที่พบในอาหารประเภทปิ้ง ย่าง และรมควันนั้นที่มีชื่อว่าสารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon - PAH) เป็นต้น

สรุป

อาหารฟาสต์ฟู้ดจานด่วนทั้งหลายแม้จะมีทั้งความอร่อย หารับประทานง่าย แต่ก็แฝงความอันตรายที่ได้รับการชี้ให้เห็นมานานหลายปี


และอาหารฟาสต์ฟู้ดจานด่วนมีส่วนทำให้เราเกิดการติด นิตยสารทางโภชนาการกล่าวว่าอาหารจานด่วนมีคุณสมบัติที่กระตุ้นระบบทางสมองทันทีเพราะเป็นเรื่องง่ายที่จะรับประทานได้ทันทีและรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้จึงให้มีแนวโน้มที่จะติดอาหารอาหารฟาสต์ฟู้ดจานด่วนต่างๆ แม้ว่าจะลดปริมาณและความถี่ในการรับประทานได้ยากในช่วงแรก แต่จำเป็นต้องพยายาม และเพิ่มเมนูสุขภาพเข้าไปในแต่ละมื้อ


กำลังโหลดความคิดเห็น