สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว
ที่จริงต้นเดือนเมษายนเป็นช่วงที่โรงเรียนเริ่มเปิดภาคเรียน 学校が始まるみたいですね(´・ω・`) แต่บางโรงเรียนก็ยังต้องปิดการเรียนการสอนอยู่เป็นการชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 พูดถึงสถานการณ์ตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสารเด็กๆ อยู่มากเหมือนกัน เด็กๆ บางคนก็ไม่ชอบเพราะอยากไปโรงเรียน แต่ก็มีเด็กๆ อีกหลายคนที่ถูกใจเพราะไม่อยากไปโรงเรียน ไม่ชอบไปโรงเรียนเพราะเวลาอยู่ที่บ้านจะมีกิจกรรมที่ตัวเองสนใจให้ทำมากมาย แต่ว่าเด็กๆ หรือบุคคลประเภทนี้ก็เริ่มมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของเด็กจริงๆ แล้วก็คือต้องไปเรียนนั่นแหละ ถูกต้องที่สุด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ทำให้หลายๆ ฝ่ายเกิดความคิดในประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่าการไปโรงเรียนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญในชีวิตจริงๆ หรือเปล่า
เพราะบางกลุ่มเห็นว่าคนเราไม่จำเป็นต้องไปโรงเรียนก็ได้ หรือบางกลุ่มก็ว่าระบบการศึกษาของญี่ปุ่นมันเอื้อต่อการใช้ชีวิตเมื่อเติบโตขึ้นจริงหรือ
ปัจจุบันมีนักศึกษาต่างชาติหลายคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่น โดยที่อาจจะฝึกการอ่านการฟัง จากการดูการ์ตูนอนิเมชั่นหรือว่าผ่านทางสื่อต่างๆ ที่มีมากมาย ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ว่าบางคนก็อาจจะยังไม่เข้าใจถึงวัฒนธรรมและความรู้สึกลึกๆ จริงๆ ของคนญี่ปุ่น หรือสังคมญี่ปุ่นอย่างแท้จริง เพราะเนื้อหาในละคร หรือในการ์ตูนอนิเมชั่น ต่างๆ จะสร้างเรื่องราวขึ้นมาและมีพล็อตที่คล้ายๆ กันซ้ำไปซ้ำมา อาทิเช่น เด็กผู้ชายกับผู้หญิงที่เรียนมาด้วยกันตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษา ฝ่ายชายจะทึมๆ ทำอะไรไม่ค่อยเป็นคล้ายๆ โนบิตะที่ทำอะไรไม่ค่อยเป็น แต่ฝ่ายสาวเป็นผู้หญิงที่น่ารัก มีความ Popular ในชีวิต แต่ก้มาสารภาพรักหนุ่มทึมอย่างโนบิตะ หรือในเคสที่ว่าสาวใส่แว่นเด็กเรียนท่าทางซึมๆ ไม่เป็นที่นิยมของคนทั่วไป มักมีชีวิตอยู่ในห้องสมุดตลอดเวลาแต่ว่าวันหนึ่งเธอเปลี่ยนตัวเองมาใส่คอนแทคเลนส์ เปลี่ยนตัวเองทำให้เกิดความน่ารักและทุกคนหันมาสนใจในตอนสุดท้ายที่จบการศึกษาก็เกิดความ Popular ขึ้นมาก แต่ว่าในชีวิตจริงมันไม่ได้มีแบบนี้เลยสักเท่าไหร่นัก
แต่มีสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและเหมือนการ์ตูนหลายเรื่องที่เขียนไว้คือ คุณครูที่สอนพละศึกษาจะถือเคนโด้ ใส่เสื้อเชิ้ตมาในงานพิธีจบการศึกษา อันนี้เป็นเรื่องจริงในสังคมญี่ปุ่นครับ ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับครูพละศึกษาญี่ปุ่น 体育教師 นั้นอาจจะแปลกกว่าประเทศอื่นนิดหนึ่ง ผมฟังจากเพื่อนๆ คนไทยและต่างชาติมา เขาบอกว่า ครูพละศึกษาจะเป็นแค่ครูที่สอนวิชาพละ สอนการออกกำลังกายซะส่วนใหญ่ แต่ที่ญี่ปุ่นจะโหด เหมือนผู้คุมภาษี คือส่วนใหญ่จะดุๆ โหดๆ แล้วก็จะลงโทษเด็กๆ เลยทำให้นักเรียนเกลียดและมักถูกนักเรียนหัวโจกกลั่นแกล้งต่างๆ นานา เช่น เอาฝาถังน้ำมันรถมอเตอร์ไซค์ครูไปทิ้ง หรือว่าแกล้งเจาะยางรถ เป็นต้น
ซึ่งระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นจากสื่อต่างๆ บอกไว้ว่า การศึกษาคือสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เด็กญี่ปุ่นทุกคนจะต้องเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และต้องเรียนให้จบการศึกษาภาคบังคับคือจบมัธยมศึกษาตอนต้น แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ก็เรียนต่อจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเรียนต่อมหาวิทยาลัยในลำดับต่อไป การศึกษาจะมี 3 ทาง คือ เด็กๆ ที่เรียนในโรงเรียนรัฐบาลสำหรับการศึกษาภาคบังคับ หรือเด็กๆ ที่เรียนในโรงเรียนเอกชนสำหรับการศึกษาภาคบังคับ หรือเด็กๆ ที่เรียนในโรงเรียนเอกชนที่ไม่ได้ยึดมาตรฐานของกระทรวงการศึกษาธิการ นั่นหมายถึงรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนทางการศึกษาแต่เพียงผู้เดียว แต่โรงเรียนเอกชนก็มีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษาโรงเรียนเอกชนที่อยู่นอกระบบ ก็มีบทบาทสำคัญในการศึกษาเช่นกัน
บางทีการศึกษาภาคบังคับของญี่ปุ่นก็ไม่ได้สวยงามนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนรัฐบาลตามต่างจังหวัด เพื่อนๆ เคยอ่านหนังสือวรรณกรรมต่างๆ ก็มีเขียนไว้แนวการศึกษามากมาย โดยเฉพาะวรรณกรรมที่เครียดแค้นการศึกษา บางทีโรงเรียนที่ญี่ปุ่นก็มีเหตุการณ์เช่นนั้นเหมือนกัน สำหรับวรรณกรรมก็อาทิเช่น
●โรอัลด์ ดาห์ล (Roald Dahl) นักเขียนเรื่องสั้น เรื่องยาว เรื่องสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก งานเขียนของเขาจำนวนหนึ่งถูกนำมาปรับและสร้างเป็นภาพยนตร์ แม้ว่าเรื่องที่โด่งดังที่สุดอาจจะเป็นเรื่องชาร์ลีกับช็อกโกแลต แต่ว่าเค้าก็เขียนหนังสืออีกหลายหลายเรื่อง ในวรรณกรรมเด็กหลายเรื่องของเขามักมีผู้ใหญ่เป็นตัวร้าย และหลายเรื่องยังประทับอยู่ในความทรงจำของผู้คนมากมาย ในวรรณกรรมเด็กหลายเรื่องของเขามักมีผู้ใหญ่เป็นตัวร้าย เช่น เรื่อง Boy เด็กชายโรอัลด์ ดาห์ล โรอัลด์ ดาห์ล เขียนถึงชีวิตของเขาในวัยเด็ก บางเรื่องไม่น่าพึงใจ ที่สำคัญ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องจริง กล่าวถึงชีวิตวัยเด็กอันทรหดในโรงเรียนประจำ และโรงเรียนกินนอนที่เวลส์และอังกฤษ เป็นที่มาให้เขาเขียนเรื่องเกี่ยวกับตัวละครเด็กต่อสู้กับผู้ใหญ่ใจโหดร้าย และส่วนใหญ่จะพูดเกี่ยวกับเรื่องกฎระเบียบที่เคร่งครัดมากเกินไปของโรงเรียนเช่นกฎระเบียบของเกมการแข่งขันรักบี้ในชมรมกีฬาโรงเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความทรงจำในครั้งเยาว์วัยของเค้าเอง มีคำวิจาณ์งานเขียนของ โรอัลด์ ดาห์ล ในอินเตอร์เน็ตว่า " เด็กๆ หลงไหลเรื่องราวของโรอัลด์ ดาห์ล ที่สะท้อนความโหดเหี้ยมหยาบคายต่อผู้ใหญ่ และตัวละครที่พิลึกพิลั่นตลกขบขัน แต่ผู้ใหญ่นักวิจารณ์หลายคนกลับไม่ชอบใจเท่าไหร่ "
●แฮร์มัน คาร์ล เฮ็สเซอ (Hermann Karl Hesse ) เป็นนักกวี นักเขียน และจิตรกรชาวเยอรมัน-สวิส เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปีค.ศ. 1945 ผลงานที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น Beneath the Wheel (Unterm Rad) ทำเป็นโมเดลนักเรียนของตัวเอง เรียนที่โรงเรียนคริสต์และเกิดปัญหามากมายจนเกิดปัญหาทางจิตใจและสุดท้ายก็ติดสุราในขณะที่ยังเป็นนักเรียนอยู่ และจบชีวิตอย่างน่าสงสาร
ซึ่งเปรียบเสมือนเด็กที่มีความใสบริสุทธิ์ทั้งจิตใจแต่ว่าต้องไปพบเห็นเรื่องที่บีบคั้นและกดดันและเรื่องราวต่างๆ ที่คุณครูกระทำหรือว่าสังคมกระทำที่ไม่ดีมากมายจนเกิดความบอบช้ำในจิตใจ โรงเรียนที่ญี่ปุ่นก็มีครูโหดทำร้ายจิตใจนักเรียนเยอะเลยครับ
เมื่อผมเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่โตเกียวซึ่งที่มหาวิทยาลัยก็จะมีเด็กต่างจังหวัดเข้ามาเรียนกันมากมาย เพื่อนผมที่มาจากต่างจังหวัดต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เจอคุณครูที่สอนสมัยมัธยมต้นที่ไม่ค่อยได้คุณภาพนัก โดยเฉพาะครูที่สอนพละศึกษาญี่ปุ่น หรือระบบต่างๆ ในโรงเรียน เช่น สมมุติว่ามีนักเรียนที่โยนลูกบอล หรือสิ่งของจนทำให้ก็กระจกหน้าต่างของห้องเรียนแตก แต่คุณครูจะเรียกนักเรียนทุกคนมารวมตัวกันแล้วก็ใช้เวลาสืบสวนนานมากกว่าจะหาคนที่ทำผิดได้ ก็ใช้เวลามากมายและเสียเวลาสำหรับคนที่ไม่มีความผิดต้องมายืนและรับเคราะห์ไปด้วย หรืออย่างที่บอกว่ามีนักเรียนแกล้งขโมยฝาน้ำมันรถมอเตอร์ไซต์คุณครูไป ครูก็จะเรียกนักเรียนทุกคนมารวมตัวทำให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องเสียเวลามากมาย ซึ่งลักษณะแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นที่โรงเรียนเอกชนแน่นอน เพราะว่าเด็กที่เรียนโรงเรียนเหล่านั้นจะไม่ทนเหตุการณ์แบบนี้เด็ดขาด บางคนก็ลาออกไปเลย
คือเด็กนักเรียนในต่างจังหวัดไม่ใช่ว่าไม่อยากไปโรงเรียนเอกชนที่ดีๆ แต่ว่าด้วยความที่อยู่ต่างจังหวัดมันไม่มีโรงเรียนที่รองรับความเป็น Elite เลย ซึ่งโรงเรียนเอกชนบางโรงเรียนในเมืองหลวงมีระบบดีๆ แต่เด็กต่างจังหวัดไม่สามารถเข้ามาเรียนได้ทั้งหมด ทำให้พวกเราต้องจำใจที่จะต้องเรียนในระบบแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ชอบเท่าไหร่
ที่จริงคุณครูโหดดังกล่าวนี้ ผมก็ไม่ได้เกลียดเค้าหรอก แต่ว่าด้วยวีรกรรมมากมายที่เขาทำกับนักเรียน ทั้งพูดจาต่ำหยาบคาย โหด สร้างความเสียเวลาต่างๆ บางทีในชั่วโมงเรียนของเค้า เค้าก็จะรวบรวมแต่คนที่เป็นผู้ชายแล้วก็พูดจาไม่ดีพูดจาออกแนวทะลึ่งซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ หรือในชั่วโมงฟุตบอลส่วนใหญ่จะนั่นดูเฉยๆ เมื่อเริ่มเลี้ยงลูกบอลไป เขาจะแจกการตบฉาดหนึ่งที่หัวเด็กๆ แทนใบเหลือง yellow card , และชกเด็กๆ แทนใบแดง red card และถึงแม้ผมจะเคยโดนเค้าตบมาหลายทีแต่ว่าผมก็ไม่ได้รู้สึกรังเกียจอะไร แต่ที่ผมนึกถึงเรื่องเค้าช่วงนี้ก็เพราะเรื่องโรงเรียนปิดเรียน และเรื่องโรคระบาดโควิดในตอนนี้ ก็เหมือนไวรัสนะครับ ที่ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรนัก ไม่ได้คิดอะไร แต่สร้างความสูญเสียได้มาก แต่ผมก็ไม่ได้เกลียดหรือสิ้นหวังเท่ากับที่โรนัลดาห์ (Roald Dahl) คิดนะครับ เพราะถ้าถึงขั้นเกลียดกันก็คงไม่นึกถึงและไม่พูดถึงในบทความไหนๆ เป็นแน่ แต่ผมก็รู้สึกประหลาดใจแทบตกเก้าอี้ก็ตอนที่รู้ว่าเขาได้ขึ้นเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนนี่แหละ (´・ω・`) .....!! แต่ถ้าคุณครูมาทำพฤติกรรมแบบนี้ในเป็นปัจจุบันก็คงจะถูกตำรวจจับไปแล้วกระมัง
เพราะสำหรับเด็กๆ ในโรงเรียนประถมที่ไม่ได้ทําอะไรผิด (การกระทำต่อเด็กๆ ไม่ใช่แค่การตบตีนิดหน่อย มันจะกลายเป็นความรุนแรงต่อจิตใจ ) การที่ครูที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ แต่ต่อมาได้เลื่อนขั้นเป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี Archbishop of Canterbury แบบในวรรณกรรม หรือคุณครูพละสุดโหดที่ทำงานนานวันจนไต้เต้าตามวัยวุฒิขึ้นเป็นครูใหญ่ เช่นนี้ "have doubts about religion and even about God" จึงเกิดข้อสงสัยขึ้นมากมายแม้กระทั่งเกี่ยวกับพระเจ้าถึงความยุติธรรม!!
ต่างๆ เหล่านี้เป็นประเด็นหนึ่งที่กำลังถูกพูดคุยในสังคม และผมคิดว่าอิทธิพลของโรคโควิด-19 หรือโรคระบาดจากเชื้อโคโรน่านี้ จะเปลี่ยนทุกรูปแบบวิถีชีวิตเดิมๆ ทั้งการสื่อสาร การศึกษา, การทํางาน, การเดินทาง, และอื่น ๆ วันนี้สวัสดีครับ