ช่วงฤดูร้อนที่ญี่ปุ่นนั้นจะอยู่ในช่วง เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม จะมีอุณหภูมิสูง อากาศค่อนข้างจะร้อนมากแม้ว่าเทอร์โมมิเตอร์จะแสดงค่าที่ 36 องศาเซลเซียส แต่ความรู้สึกจริงที่เรารู้สึกได้นั้นจะร้อนกว่านั้น มีบางวันถึง 45 องศาก็เป็นไปได้ เพราะญี่ปุ่นมีความชื้นสูง ความชื้นก็เป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อความรู้สึกร้อนได้ เพราะภูมิภาคที่มีอากาศชื้นจะส่งผลให้เรารู้สึกร้อนกว่าพื้นที่ที่อากาศแห้งแม้ว่าอุณหภูมิที่พยากรณ์จะเท่ากัน การที่ความชื้นมีผลต่อความรู้สึกร้อนเพราะร่างกายของเราจะระบายความร้อนในร่างกายผ่านเหงื่อเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายและเลือดให้คงที่อยู่ประมาณ 37 °C เลือดจึงทำหน้าที่เหมือนน้ำหล่อเย็นด้วยที่จะช่วยนำพาความร้อนจากอวัยวะภายในไปยังเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังแล้วระบายออก แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง คือมีปริมาณไอน้ำในอากาศมาก การระเหยของเหงื่อบนผิวหนังก็จะทำได้ได้ยากขึ้น การระบายความร้อนของร่างกายก็เกิดช้าไปด้วย เราจะยิ่งรู้สึกร้อนและเหนื่อยล้านั่นเอง
และแม้ว่าจะดื่มน้ำไปแล้ว แต่การดื่มน้ำแค่อย่างเดียวเท่านั้น อาจจะยังไม่สามารถเติมเต็ม "แร่ธาตุ" ที่สูญเสียไปกับเหงื่อได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความอ่อนล้าตามมา แต่กระนั้นน้ำผลไม้หวานๆ หรือเครื่องดื่มอัดลม กาแฟและชาเขียว อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับการเติมเต็มและแก้ไขปัญหาความอ่อนล้าจากการสูญเสียเหงื่อได้อย่างแท้จริง
ซึ่งในวันนี้จะแนะนำเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการช่วยฟื้นฟูความอ่อนล้าในช่วงฤดูร้อน รวมถึงเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยงในฤดูร้อนด้วย
ลักษณะการดื่มและเครื่องดื่ม 3 อย่าง ที่ไม่คาดคิดว่าอาจจะเป็นสาเหตุของความอ่อนล้าในช่วงฤดูร้อน
● การจิบน้ำผิดเวลา
การที่มีของเหลวไปปนในกระเพาะอาหาร อาจจะทำให้ประสิทธิภาพการย่อยอาหารไม่ดีนัก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ โรคกระเพาะ, อาการบวม, การจับตัวของไขมัน, และความเมื่อยล้าอ่อนล้า ได้ นอกจากนี้ ถ้าเลือดจางเกินไปหรือมีระดับความเข้มข้นน้อย มีการจางมากแบบเร็วเกินไป อาจมีผลต่อระบบหมุนเวียนเลือด ต่อหัวใจและไต และสมองอาจบวมและกลายเป็น "น้ำเป็นพิษ" ได้
● เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เช่น กาแฟ, ชา, ชาเขียว, โคล่า, โกโก้, แอลกอฮอล์, ฯลฯ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมีผลต่อการขับปัสสาวะ และจะกลายเป็นผลตรงกันข้ามที่ไปทำลายสมดุลของร่างกายได้
● น้ำผลไม้หวานและเครื่องดื่มอัดลม
ถ้าดื่มน้ำผลไม้หวานๆ และเครื่องดื่มอัดลมมากเกินไป อาจจะทำให้เลือดมีความหนืดมากและคุณภาพเลือดแย่ลง ซึ่งมีผลทำให้เซลล์ของร่างกายจะไม่ถูกเลี้ยงด้วยสารอาหารหรือออกซิเจนที่พอเพียงนัก เหล่านี้ส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้า อ่อนเพลีย และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น เนื่องจากน้ำตาลมากเกินไป
การดื่มน้ำหรือชามากเกินไปทำให้เกิดสุขภาพที่ไม่สมดุลย์ได้ เนื่องจากการทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมในในกระเพาะอาหารไม่ดีและลดการดูดซึมสารอาหาร ดังนั้นสิ่งสำคัญคือจะไม่ดื่มมากเกินไปก่อนรับประทานอาหาร.
ในฤดูร้อน ร่างกายสูญเสียเหงื่อ เราต้องมีการเติมเต็มแร่ธาตุที่สูญเสียออกไปกับเหงื่อ (※การดื่มน้ำเพียงอย่างเดียวไม่สามารถชดเชยได้) นอกจากนี้ คาเฟอีนมันจะมีผลให้เกลือแร่สำคัญถูกขับออกไปจากร่างกายโดยขับออกทางปัสสาวะ ดังนั้นพยายามที่จะเลือกเครื่องดื่มที่ไม่ใช่คาเฟอีน มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
◇เครื่องดื่มที่ตอบสนองความต้องการเกลือแร่ และไม่ใช่คาเฟอีน!
○ Mugicha ชาข้าวบาร์เลย์
ชาข้าวบาร์เลย์ ธัญพืชชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าสูง มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิดตัวแทนของเครื่องดื่มฤดูร้อน มันช่วยระบายให้ความร้อนของร่างกายออก แค่ต้มกับน้ำก็ดื่มแล้วให้ความรู้สึกสดชื่น หรือบางคนอาจจะผสม "ชาข้าวบาร์เลย์ + น้ำตาลน้อย + มะนาวและนม" จะลิ้มรสอร่อยหอมหวานตามที่ชื่นชอบ และยังเหมาะสำหรับดื่มกับอาหารว่างด้วย
○ชาโดกุดามิ
ชานี้คล้ายน้ำสมุนไพรบำรุงสุขภาพ และยังผสานคุณค่าบริสุทธิ์จากธรรมชาติ มีชื่อเสียงว่าเสมือนเป็นยาพิเศษ เหมาะสำหรับดื่มในช่วงฤดูร้อน เพราะมันช่วยขับพิษและของเสียในร่างกาย.
○ชา hatomugi
ถือว่าเป็นชาสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายและทำให้ผิวสวยด้วย
○ ชาโซบะ
ชาที่เหมาะกับดื่มในฤดูร้อน ที่ส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตและช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และอีกมีหลายชนิดเช่น bostea, ชาถั่วดำ, ชาโกยา, ชาแบบดอกแดนดิไล, เป็นต้น
○การดื่มน้ำผสมเกลือและกลูโคส ส่วนใหญ่จะใช้ในการรักษาภาวะขาดน้ำเนื่องจากโรคอุจจาระ ร่วงอาเจียน ไข้หรือสูญเสียเหงื่อมากเกินไป และยังมีประสิทธิภาพในการช่วยลดความร้อน อาจจะดื่มเมื่อเกิดในกรณีต่อไปนี้.
* หลังจากสูญเสียเหงื่อจำนวนมาก
* เมื่อมีไข้
* เมื่ออาเจียนหรือท้องเสีย
* เมื่อคุณไม่มีความอยากอาหาร
นอกจากเป็นน้ำเกลือแร่ที่มีวางขายแบบขวดแล้ว ยังมีแบบซองชงด้วย สามารถดื่มได้โดยการละลายผงในน้ำ เราสามารถเลือกให้เหมาะกับความสะดวกตามที่ต้องการ