เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก หรือ JR East เริ่มแคมเปญ “งดเดินบนบันไดเลื่อน” อย่างจริงจัง โดยให้มีเจ้าหน้าที่คอยส่งเสียงเตือนผู้ใช้งานบันไดเลื่อนในสถานีรถไฟโตเกียวตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีการประกาศแจ้งผู้ใช้งานใยสถานีอีกว่า “หากลูกค้าท่านใดมีความเร่งรีบ กรุณาใช้บันไดแทน” นอกจากนี้ บริเวณที่จับบนบันไดเลื่อนยังมีข้อความ “งดเดิน” เขียนกำกับไว้ อีกทั้ง ยังมีภาพประกอบที่อธิบายการใช้งานบันเลื่อนติดอยู่ที่พื้น โดยวาดเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้งานหยุดยืนและเอามือจับราวบันไดเลื่อน
วัฒนธรรมการแบ่งพื้นที่บันไดเลื่อนให้ว่างข้างใดข้างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปี 1960 โดยเว้นช่องว่างไว้สำหรับผู้ใช้งานที่เร่งรีบ แต่ทว่า การเว้นที่ว่างสำหรับคนเดินก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามมา ทั้งการเดินชนผู้ใช้งานด้วยกันและเดินชนสัมภาระผู้อื่น ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มพลิกคว่ำ และหลังจากนั้นมา ญี่ปุ่นก็ได้เกิดแคมเปญให้ผู้ใช้งาน “จับราวบันไดเลื่อนไว้เสมอ” ขึ้นมา
#歩かないで 毎日のように使う #エスカレーター 。歩いて乗るのは、つまづいて転倒したり、人にぶつかったりして、危険です。本来の利用方法は「立ち止まって乗る」。歩くことでどんな危険があるのでしょうか。今夜の放送を見れば「えっ?」と思うことがあるかもしれません。 #nhk #NW9 pic.twitter.com/b5X18faRlY
— ニュースウオッチ9 (@nhk_nw9) December 17, 2018
และในปี 2017 กระทรวงคมนาคม ประเทศญี่ปุ่น จึงตัดสินใจออกแคมเปญใหม่ “เพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนบันไดเลื่อน” หวังให้ผู้ใช้งานงดเดินและหยุดยืนบนบันไดเลื่อนทั้งสองฝั่งโดยไม้เว้นว่าง โดยตั้งเป้าให้วัฒนธรรม “การแบ่งช่องเดินบนบันไดเลื่อน” หายไปก่อนการเปิดพิธิจัดงานโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020
นอกจากนี้ จากข้อมูลการสำรวจพบว่า การยืนบนบันไดเลื่อนให้เต็มสองฝั่ง ช่วยลดปัญหาการแออัดของผู้ใช้งานได้มากกว่าการแบ่งช่องเดินบนบันไดเลื่อนเสียอีก แต่อย่างไรก็ตาม การจะแก้ไขวัฒนธรรมการแบ่งช่องเดินบนบันไดเลื่อนให้หายไปในทันทีก็เป็นเรื่องที่ยาก เพราะถึงแม้ว่า JR East จะส่งเจ้าหน้าที่คอยสอดส่องประจำบันไดเลื่อนและส่งเสียงเตือนตลอดเวลา แต่ก็ยังมีผู้ใช้งานบางส่วนเดินบนบันไดเลื่อนให้เห็น ซึ่งปัญหานี้จะต้องถูกแก้ไขในระยะยาวต่อไป โดย JR East จะจัดแคมเปญป้องกันอุบัติเหตุบนบันไดเลื่อนในสถานีโตเกียวไปจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2019
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ anngle.org