xs
xsm
sm
md
lg

NIHON TV กล่าวขอโทษ กรณีกุเรื่องเทศกาลกะหล่ำดอกที่ไทยในรายการ “Itte Q!”

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


กลายเป็นข่าวใหญ่ขึ้นมาสำหรับปัญหา “การวางแผนเทศกาล” แบบหลอก ๆ ของรายการ “Sekai no Hate Made Itte Q!” ทางช่อง Nippon TV ซึ่งรวมถึง “เทศกาลกะหล่ำดอกในประเทศไทย” ที่ออกอากาศพิเศษ 2 ชั่วโมงไปเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา

“เทศกาลกะหล่ำดอก” จัดขึ้นปีที่แล้วในวันที่ 14 มกราคม ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งบริเวณชายขอบของจังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะคือเป็นเกมการแข่งขันจับคู่วิ่ง 3 ขาในโคลนตมเพื่อเก็บกะหล่ำดอกรวมน้ำหนัก 20 กิโลกรัมให้เร็วที่สุด โดยรายการดังกล่าวนำเสนอข้อมูลว่าเป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวปีละครั้งในท้องที่ที่มีชื่อเรื่องการปลูกกะหล่ำดอก ในการถ่ายทำรายการ ไดสุเกะ มิยากาวะ จากรายการ Itte Q! และยูยะ เทโงชิ จากวง NEWS ก็ได้มาร่วมแข่งในเทศกาลนี้ด้วย ซึ่งหลังจากออกอากาศไปแล้วก็ทำเรตติ้งได้ถึง 22.2%
ทั้งสองคนตกรอบคัดเลือก ภาพจากรายการ “Sekai no Hate Made Itte Q!” (Nippon TV) ออกอากาศวันที่ 12/2/2017
ทว่าทางผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านดังกล่าวก็ตั้งข้อสงสัยขึ้นมา

“คนท้องถิ่นคนหนึ่งที่มีสามีเป็นผู้ประสานงานรายการโทรทัศน์บอกว่า อยากจะทำละครสั้นเพราะเห็นว่ามีรายการโทรทัศน์จากญี่ปุ่นมา” โดยจากที่ได้พูดคุยกันเมื่อปีก่อนหน้า เห็นว่าราคาผลผลิตพืชผักตกต่ำมาก ก็เลยตัดสินใจจัดกิจกรรมเกมกะหล่ำดอกขึ้นมา ซึ่งวันนั้นความจริงแล้วเป็นวันเด็กที่จัดปีละครั้ง ไม่ใช่วันเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว”
ผู้ใหญ่บ้านคือคนที่ 3 จากทางซ้าย
นอกจากนั้นเมื่อหนังสือพิมพ์บุนชุนรายสัปดาห์ของญี่ปุ่นลงสัมภาษณ์ในพื้นที่ ก็ได้ความว่ามีการจ่ายรางวัลและค่าร่วมงานให้กับผู้ที่มาร่วมเทศกาล โดยมีบริษัท M ซึ่งรับผิดชอบในการประสานงานต่างประเทศของรายการ “Itte Q!” เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

และเมื่อถามทาง Nippon TV เกี่ยวกับที่ไปที่มาของการจัด “เทศกาลกะหล่ำดอก” ก็ได้ความว่า

“ในการวางแผนจัดงานเทศกาลต่าง ๆ รวมถึง “เทศกาลกะหล่ำดอก” นี้ ทางบริษัทผู้ทำหน้าที่ประสานงานเป็นผู้ให้คำแนะนำถึงจุดประสงค์ของรายการให้แก่ผู้จัด โดยมีกรณีที่วางตัวเป็นผู้จัดงานที่แท้จริงเบื้องหลังเทศกาลด้วย อีกทั้งยังมีหลาย ๆ ครั้งที่ทางรายการจ่ายค่าจัดงาน ค่าของรางวัล ค่าจ้างผู้เข้าร่วมงาน ค่าการร่วมมือ และอื่น ๆ จากค่าใช้จ่ายในการถ่ายทำให้แก่บริษัทผู้ประสานงาน ซึ่งทางเราต้องรับผิดชอบต่อความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนานในการร่วมมือกับบริษัทผู้ประสานงาน และการที่เราออกอากาศไปโดยไม่มีการตรวจสอบเรื่องการวางแผนอย่างเพียงพอ ในส่วนของการวางแผน “เทศกาล” นั้น ขณะนี้ทางเรากำลังดำเนินการตรวจสอบรายละเอียด และต้องขออภัยเป็นอย่างสูงที่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น”

ในหนังสือพิมพ์บุนชุนรายสัปดาห์ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ “เทศกาล” ในประเทศไทย, ความเห็นของคุณไดสุเกะ มิยากาวะเกี่ยวกับรายการ และการตอบสนองของทาง Nippon TV ต่อประเด็นข่าวนี้ไว้ 6 หน้าด้วยกัน

เทศกาลอื่น ๆ ของไทยที่รายการ Itte Q! เคยนำเสนอในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ลองดูว่าเพื่อน ๆ รู้จักเทศกาลไหนบ้าง…
2007:เทศกาลยิงจรวด
2007:เทศกาลรถยนต์ต้นไม้พื้นเมือง
2008:เทศกาลแทร็กเตอร์สองล้อ
2010:เทศกาลรถยนต์ต้นไม้พื้นเมือง
2010:เทศกาลชกมวยทะเล
2011:เทศกาลแข่งรถสามล้อ
2012:เทศกาลชกมวยใบปาล์ม
2012:เทศกาลปลาไหลและเทศกาลไม้ไผ่
2012:เทศกาลรถยนต์ต้นไม้พื้นเมือง
2012:เทศกาลหมู
2013:เทศกาลขวดน้ำ
2013:เทศกาลยิงจรวด
2013:เทศกาลการละเล่นหัวล้านชนกัน
2013:เทศกาลดำนา
2014:เทศกาลนาเกลือ
2015:เทศกาลผลไม้
2016:เทศกาลดำนา
2016:เทศกาลชกมวยทะเล
2017:เทศกาลกะหล่ำดอก
2017:การแข่งขันว่ายน้ำในบ่อที่เต็มไปด้วยงูเห่า
2017:เทศกาลดำนา


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ anngle.org




กำลังโหลดความคิดเห็น