สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อยรักษาสุขภาพกันทุกคนนะครับ ไม่แน่ใจว่าทางเหนือของไทยจะเริ่มหนาวหรือยัง แต่ที่ญี่ปุ่นน่าจะเริ่มเข้าฤดูใบไม้ร่วงแล้ว ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกก็เริ่มมีอากาศเย็นลง บางเมืองเมื่อวานยังมีอากาศร้อนอยู่เลย ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อให้ความเย็นอยู่ดีๆ พออีกวันอากาศเย็นลงกะทันหันต้องรีบปรับโหมดเป็น Heater เครื่องทำความร้อน ให้ความอุ่นแทบไม่ทัน คือเป็นช่วงที่อากาศไม่เสถียรมาก อาจจะร้อนสองวัน หนาวสามวัน สลับกันไปมา ทำให้คนไม่สบายกันเยอะเลยล่ะครับ

ตามร้านสะดวกซื้อจะมีอาหารอย่างหนึ่งที่ขายดีเป็นพิเศษนั่นคือโอเด้งครับ ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่จะขายดีมาก ต่อเนื่องมาจากฤดูร้อน พอเริ่มมีอากาศเย็นอาหารที่ทานแล้วให้ความอุ่นจึงขายดีมาก เพราะโอเด้งจะอุ่นร้อนตลอดทานแล้วฟินมาก และอย่างที่เคยเล่าไปก่อนหน้านี้ครับว่าช่วงฤดูร้อนที่ญี่ปุ่นเป็นช่วงที่มีงานเทศกาลเยอะมาก ยาวต่อเนื่องมาถึงฤดูกาลนี้ที่ถือว่าเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งปีหนึ่งจะมีฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวแค่ครั้งเดียวคือช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงนี้เองครับ เพราะว่าปีหนึ่งเก็บเกี่ยวได้แค่ครั้งเดียวนี่เองทำให้ชาวนาชาวไร่จัดเทศกาลขอบคุณข้าว ขอบคุณเทพเจ้าที่ประทานข้าวมาให้ และขอบคุณความทุ่มเทความเหน็ดเหนื่อยที่ตั้งใจทำมาตลอดฤดูกาล

เทศกาลขอบคุณข้าวและความเหน็ดเหนื่อยก็ถือว่าเป็นเทศกาล 祭 まつり Matsuri อย่างหนึ่ง Matsuri หรือที่ทุกคนรู้จักกันทั่วไปว่าเทศกาล เฉลิมฉลอง ซึ่งจะจัดเพื่อเฉลิมฉลองตามจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นที่วัดและศาลเจ้าต่างๆ อาจจะมีขบวนแห่ต่างๆ ที่งาน Matsuri และมักจะมีร้านค้าร้านแผงลอยมาขายของขายอาหารมากมาย เช่น ร้านขายบะหมี่ผัดแบบญี่ปุ่น หรือยากิโซบะ ร้านขายทาโกยากิ ,น้ำตาลสายไหมและอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นยังมีร้านแผงลอยประเภทร้านเกมส์ด้วย เช่น เกมส์ปาเป้าบอลลูน เกมส์ตักปลาทอง เกมส์ยิงปืน เด็กๆ และผู้มาร่วมงานต่างก็มีความสนุกสนานกันอย่างมากมาย
ที่จริงแล้วรูปแบบของ Matsuri มีหลากหลายรูปแบบมาก อย่างเช่นวันนี้ผมจะเล่าเรื่องประสบการณ์การเชิดสิงโตในงาน Matsuri แถวบ้านผมครับ เพื่อนๆ เคยดูเชิดสิงโตใช่ไหมครับ ตอนที่ผมมาเที่ยวเมืองไทย มาเลเซียแรกๆ ได้เห็นงานเทศกาลที่มีการเชิดสิงโตด้วย โดยเฉพาะตามศาลเจ้าต่างๆ แล้วมีการจุดประทัดดังลั่น นอกจากนั้นยังเป็นการเชิดแบบผาดโผน มีเด็กไต่ไม้ไผ่ไปกับนักเชิดผู้ใหญ่ แล้วโชว์ทิ้งตัวลงมา ทำเอาทุกคนร้องตกใจแต่เด็กมีเชือกมัดตัวไว้ก็เลยไม่เป็นอะไร แล้วทีมนักเชิดก็มาเลี่ยไล่ขอเงินบริจาคทำบุญ ซึ่งผมประทับใจมากก็ให้เงินไปด้วย ที่จริงผมเคยเห็นทีมงานนักเชิดสิงโตซ้อมด้วยครับ ตามศาลเจ้าเป็นการซ้อมที่จริงจังและดุมาก ไม่เหมือนการซ้อมกีฬาหรือซ้อมอะไรๆ ทั่วไปที่ไทยเลย ทำให้ผมนึกถึงสมัยที่ผมเป็นเด็กน้อยไปด้วยเลยทีเดียว


การเชิดสิงโตของญี่ปุ่นจะต่างจากที่ไทยและมาเลเซียเล็กน้อยครับ เรียกการเชิดสิงโตว่า 獅子舞 Shishimai คือ ศิลปะการแสดงเต้นระบำภายใต้หัวสิงโตดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยเป็นการเต้นระบำเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวของสิงโตจริงๆ ตามงานเทศกาลต่างๆ การเชิดสิงโต น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาชินโตด้วย และดีไม่ดีเป็นเรื่องทางธุรกิจซะอีก ไม่ใช่แค่เต้นหรือเชิดแบบสนุกสนานเท่านั้น แต่ความเชื่อทางศาสนาที่ว่าคือ เชื่อกันว่าเป็นการนำพาความสุขมาสู่ที่พักอาศัย สิงโตจะถูกเชิดไปตามบ้านแต่เข้าบ้านไหนหรือไปเต้นเชิดบ้านไหน บ้านนั้นต้องมีการจ่ายเงินบริจาคให้นักเชิดสิงโตด้วยนะครับ มีงบระบุไว้ด้วยว่าเท่าใดๆ ตอนเป็นเด็กๆ ครั้งแรกที่ผมเห็น Shishimai อายุเกือบจะ 3 ปีแล้วผมกลัวมาก ผมมองว่าสิงโตหัวโต ปากกว้างน่ากลัวอะไรเช่นนี้ ตอนนั้นผมเรียนอยู่โรงเรียนอนุบาลมี Shishimai มาเต้นเชิดในโรงเรียนด้วย ทำให้เด็กๆ ร้องไห้กันยกใหญ่รวมทั้งผมด้วย ผมกลัวมากยังจำได้ดี แต่ผู้ใหญ่ทุกคนจะชอบเพราะเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ยิ่งถ้า Shishimai อ้าปากกัดใคร คนๆ นั้นก็จะยิ่งโชคดี เด็กๆ เห็นคนโดน Shishimai งับยิ่งกลัวกันจนตัวสั่นเลย

Shishimai นั้นเดิมทีได้รับอิทธิพลมาจากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นนานแล้ว แต่หลังจากนั้นก็กลืนเข้าสู่วัฒธรรมญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละส่วนภูมิภาค ตำบลที่ผมอยู่จะมีเทศกาลเชิด Shishimai ด้วยโดยจะจัด 4 ปีครั้งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี่เอง คนที่มาร่วมทีมเชิดต้องเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ของศาลเจ้านั้นๆ พูดง่ายๆ คือผู้ที่มีรายชื่อบริจาคเงินบำรุงศาลเจ้านั่นเอง โดยในทีมจะมี ทีมเชิดที่อยู่ในตัวเอง Shishimai รวมประมาณ 12 คน ทั้งหมดเป็นผู้ใหญ่ นักเล่นดนตรี เป่าขลุ่ย ตีกลอง รวมประมาณ 5 คนมีแต่ลุงๆ อายุน่าจะเกิน 65 ปีขึ้นไปทุกคน และมีเด็กน้อยทีมแรกอายุ 6-8 ปี ประมาณ 3 คนจะเต้นวิ่งไปวิ่งมารอบๆ Shishimai และเด็กโตอายุ 10-12 ปี ประมาณ 3-5 คน ก็เต้นวิ่งไปวิ่งมารอบๆ Shishimai แต่จะมีการเต้นในท่าทางที่ยากกว่าเด็กเล็ก เด็กๆ ที่มาร่วมแสดงในงาน ต้องผ่านเงื่อนไขที่ว่าต้องเป็นเด็กผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 12 ปี และมีครอบครัวอยู่ในพื้นที่ของศาลเจ้านี้ แต่ยิ่งนับวันเด็กๆ ก็น้อยลงทุกทีละครับ โดยทีมนักเชิด Shishimai ทั้งหมดจะซ้อมกันตลอดหลายเดือนของฤดูร้อน ช่วงเช้าก็ไปเรียนไปทำงานตามปกติ เลิกงานแล้วก็มารวมตัวกันที่ศาลาประชาคมประจำเมืองและซ้อมกันทุกวัน วันละ 2-3 ชั่วโมง งานเทศกาล Shishimai ครั้งที่สองในชีวิตผมก็อีก 4 ปีหลังจากร้องไห้ตอนเป็นเด็กอนุบาล เมื่ออายุเกือบจะ 7 ปี ผมและเพื่อนเด็กๆ ได้ถูกเลือกให้มาร่วมแสดงด้วย ต้องมาซ้อมเป็นหนูน้อยนักเต้นในทีมเชิดด้วย โค้ชที่เป็นหัวหน้าซ้อมน่ากลัวมาก ผมก็ต้องมาซ้อมกับพวกเขาตลอดทุกวันซึ่งเหนื่อยมาก ตอนแรกคิดว่าอีก 4 ปีข้างหน้าคงไม่ต้องมาแล้วเพราะโตแล้ว

ที่ไหนได้อีก 2 ปีต่อมาเป็นปีที่ต้องฉลองครบรอบ 100 ปีของศาลเจ้าเค้าเลยจัดเชิด Shishimai อีกเป็นกรณีพิเศษ เอาละสิผมต้องโดนเลือกให้มาเต้นกับเขาอีก ไม่พ้นสักที ซ้อมตั้งนานพอถึงวันเทศกาลที่ต้องไปเชิด Shishimai ก็ใช้เวลาประมาณครึ่งวันเอง ตอนเช้าเด็กๆ ก็ต้องไปโรงเรียนก่อน พอทานอาหารกลางวันเสร็จแล้วก็กลับไปเตรียมตัวได้ ผมก็ดีใจระดับหนึ่งที่ได้กลับบ้านไว แต่ก็ต้องไปเต้นก็ลำบากเหมือนกัน จบงานเหนื่อยมาก วันนั้นเต้นเสร็จปุ๊บฝนตกพอดีต้องเดินกลับบ้านเอง ยังนึกว่าทำไมมันลำบากแบบนี้น้า แต่พอโตขึ้นนึกย้อนกลับไปแล้วรู้สึกว่าเป็นความทรงจำที่ดีงามอีกอย่างหนึ่งในชีวิตเลยครับ แล้วไม่ใช่เต้นเฉยๆ นะครับ จบงานยังได้ซองค่าขนมด้วย 50,000 เยน ( ประมาณ 17,000 บาท) ถือว่าเยอะนะครับ สงสัยศาลเจ้าคงได้รับเงินบริจาคเยอะอยู่ ยิ่งถ้าเทียบกับเงินเดือนสตาร์ทเริ่มต้นของเด็กจบใหม่ที่น้อยมาก กี่สิบปีผ่านไปก็ได้อัตราเดิม ถือว่ามาซ้อมเต้นนี่ได้ค่าแรงเยอะเลย
ที่บอกว่าเด็กน้อยลงทุกที เพราะจากเงื่อนไขที่ต้องเป็นเด็กผู้ชายอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะเชื่อว่าเด็กยังเป็นตัวแทนของเทพเจ้า แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าจะมีเด็กมัธยมเอย เด็กผู้หญิงเอยมาร่วมด้วยเพราะเด็กไม่พอนั่นเอง


พูดถึงโค้ชที่เป็นผู้ฝึกสอนให้ทีมเชิด Shishimai และสอนนักเต้นสักหน่อยครับ ลุงเป็นคนที่น่ากลัวมาก เพราะเขาเอาจริงเอาจัง อาจจะไม่ถึงขั้นเตะต่อย หรือทำร้ายร่างกายแต่ถือว่าเสียงดังและดุ คล้ายๆ รุ่นพี่ที่เป็นพี่ว้าก ตอนที่รับน้องเข้ามหาวิทยาลัยล่ะครับ เขาเป็นญาติกับเจ้าของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งธุรกิจแบบนี้ที่ญี่ปุ่นก็คือกลุ่มบริษัทที่มีผู้มีอิทธิพลทำเยอะ ความทรงจำตอนนั้นอย่างที่บอกว่าโค้ชดุมาก แต่อยู่มาวันหนึ่งลุงโค้ชก็อ่อนหวานใจดีขึ้นมาอย่างกะหน้ามือเป็นหลังมือ ทำให้ผมรู้สึกว่าไม่ไว้ใจเลย มันแปลกไปจากที่เคยเจอ ผมคิดว่าคงมีใครไปบอกเขาว่าเขาดุมากเกินไปแล้วและเขาคงแก้ไขตัวเองแต่ดูขัดๆ อย่างไรบอกไม่ถูก ข้อนี้นับว่าเป็นอีกจุดที่คนญี่ปุ่นมีคือ ถ้ามีคนร้องเรียนอะไรมาก็มักจะนำไปคิดและปรับปรุงตัวครับ ตอนนั้นผมอายุแค่ 6-7 ปี โค้ชอายุประมาณ 60- 65 ปี ถ้าถามตอนนี้ก็คงลาจากโลกไปแล้วอย่างแน่นอนครับ ตอนนั้นผมกลัวและไม่ชอบที่เขาดุและใช้คำรุนแรง แต่ตอนนี้ผมนึกย้อนกลับไปแล้วก็ขอบคุณเขาล่ะครับ

งาน Matsuri แบบนี้บางทีผมก็มองว่าเหมือนทำเป็นธุรกิจ เพราะทำให้เกิดการหมุนเวียนเงินในระบบอย่างมาก และยังมีจดหมายมาตามบ้านขอเรียกรับเงินบริจาค ถ้าใครมาร่วมทีมเชิดได้ก็ขอความร่วมมือมาซ้อม ถ้าใครมาไม่ได้ต้องจ่ายค่าบำรุงมา ฟังดูแปลกๆ นะเนี่ย แต่งานแบบนี้ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนครับ เพราะ

* ทำให้เกิดอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานเทศกาลเชิด Shishimai หลายอาชีพ เช่น คนที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาชินโต ถ้าไม่ใช่ศาลเจ้าใหญ่ๆ ก็จะไม่มีผู้ที่ทำพิธีกรรมของศาลเจ้าตัวเอง ต้องจ้างมาจากศาลเจ้าใหญ่ๆ เพื่อมาช่วยงานในวันประกอบพิธี และได้รับค่าแรงที่ค่อนข้างสูง
* ทำให้เกิดอาชีพเหรัญญิก ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผนทางการเงินการสร้างงบประมาณ ทำบัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆ ทีมเขียนป้ายส่งตามบ้านเพื่อขอรับเงินบริจาคต่างๆ
* เรื่องการเก็บเงินบริจาค มีการเขียนเอกสารเชิญมาร่วมงาน ถ้าไม่มาขอให้ช่วยบริจาคเท่าไหร่ๆ จะระบุไปเลย และเงินหมุนเวียนในระบบเยอะมาก อย่างที่ผมบอกว่าขนาดผมเป็นเด็กน้อยผมยังได้เงินค่าแรง 5 หมื่นเยน แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสมัยนั้นดีมาก แต่สมัยนี้ได้ยินว่านอกจากอนุญาตให้เด็กโตมาร่วมแล้ว ยังมีเด็กผู้หญิงมาร่วมทีมด้วย และเงินค่าแรงที่ได้ก็ไม่มากกว่าสมัยก่อนแถมดีไม่ดีอาจจะน้อยกว่าเดิมด้วย

สมัยโชวะ หรือสมัยที่ผมเป็นเด็กนั้นญี่ปุ่นยังมีความสว่างไสว มีประชากรเด็กอยู่บ้างถึงแม้จะน้อยลงๆ เข้าสู่ยุคเฮเซย์แถมปีนี้เป็นปีสุดท้ายของยุคสมัยเฮเซย์แล้วด้วย ได้ข่าวมาว่าเทศกาลเชิด Shishimai ของท้องถิ่นบ้านผมก็ดูเหมือนจะค่อยๆ ถูกยกเลิกไปเป็นแน่ ก็คงเพราะไม่มีคนสืบทอด ไม่มีประชากรรุ่นต่อไปที่จะสืบสาน เห็นมีคนบอกว่าคนในกลุ่มของศาลาประชาคมที่ศาลเจ้านี้เหลือแค่ 100 กว่าคนและคงจะมีแต่ผู้สูงอายุ ซึ่งอีกไม่นานคงจะไม่มีการเชิด Shishimai ที่เมืองนี้อีกก็เป็นได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายอยู่เหมือนกันครับ ดังนั้นถ้าท่านใดยังมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่นและได้ชมการเชิด Shishimai ลองดูนะครับ เพราะคนเชิดทุกคนซ้อมหนักมากและตั้งใจมาก อีกหน่อยอาจไม่มีให้ชมแล้วก็เป็นได้ วันนี้สวัสดีครับ
ตามร้านสะดวกซื้อจะมีอาหารอย่างหนึ่งที่ขายดีเป็นพิเศษนั่นคือโอเด้งครับ ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่จะขายดีมาก ต่อเนื่องมาจากฤดูร้อน พอเริ่มมีอากาศเย็นอาหารที่ทานแล้วให้ความอุ่นจึงขายดีมาก เพราะโอเด้งจะอุ่นร้อนตลอดทานแล้วฟินมาก และอย่างที่เคยเล่าไปก่อนหน้านี้ครับว่าช่วงฤดูร้อนที่ญี่ปุ่นเป็นช่วงที่มีงานเทศกาลเยอะมาก ยาวต่อเนื่องมาถึงฤดูกาลนี้ที่ถือว่าเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งปีหนึ่งจะมีฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวแค่ครั้งเดียวคือช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงนี้เองครับ เพราะว่าปีหนึ่งเก็บเกี่ยวได้แค่ครั้งเดียวนี่เองทำให้ชาวนาชาวไร่จัดเทศกาลขอบคุณข้าว ขอบคุณเทพเจ้าที่ประทานข้าวมาให้ และขอบคุณความทุ่มเทความเหน็ดเหนื่อยที่ตั้งใจทำมาตลอดฤดูกาล
เทศกาลขอบคุณข้าวและความเหน็ดเหนื่อยก็ถือว่าเป็นเทศกาล 祭 まつり Matsuri อย่างหนึ่ง Matsuri หรือที่ทุกคนรู้จักกันทั่วไปว่าเทศกาล เฉลิมฉลอง ซึ่งจะจัดเพื่อเฉลิมฉลองตามจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นที่วัดและศาลเจ้าต่างๆ อาจจะมีขบวนแห่ต่างๆ ที่งาน Matsuri และมักจะมีร้านค้าร้านแผงลอยมาขายของขายอาหารมากมาย เช่น ร้านขายบะหมี่ผัดแบบญี่ปุ่น หรือยากิโซบะ ร้านขายทาโกยากิ ,น้ำตาลสายไหมและอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นยังมีร้านแผงลอยประเภทร้านเกมส์ด้วย เช่น เกมส์ปาเป้าบอลลูน เกมส์ตักปลาทอง เกมส์ยิงปืน เด็กๆ และผู้มาร่วมงานต่างก็มีความสนุกสนานกันอย่างมากมาย
ที่จริงแล้วรูปแบบของ Matsuri มีหลากหลายรูปแบบมาก อย่างเช่นวันนี้ผมจะเล่าเรื่องประสบการณ์การเชิดสิงโตในงาน Matsuri แถวบ้านผมครับ เพื่อนๆ เคยดูเชิดสิงโตใช่ไหมครับ ตอนที่ผมมาเที่ยวเมืองไทย มาเลเซียแรกๆ ได้เห็นงานเทศกาลที่มีการเชิดสิงโตด้วย โดยเฉพาะตามศาลเจ้าต่างๆ แล้วมีการจุดประทัดดังลั่น นอกจากนั้นยังเป็นการเชิดแบบผาดโผน มีเด็กไต่ไม้ไผ่ไปกับนักเชิดผู้ใหญ่ แล้วโชว์ทิ้งตัวลงมา ทำเอาทุกคนร้องตกใจแต่เด็กมีเชือกมัดตัวไว้ก็เลยไม่เป็นอะไร แล้วทีมนักเชิดก็มาเลี่ยไล่ขอเงินบริจาคทำบุญ ซึ่งผมประทับใจมากก็ให้เงินไปด้วย ที่จริงผมเคยเห็นทีมงานนักเชิดสิงโตซ้อมด้วยครับ ตามศาลเจ้าเป็นการซ้อมที่จริงจังและดุมาก ไม่เหมือนการซ้อมกีฬาหรือซ้อมอะไรๆ ทั่วไปที่ไทยเลย ทำให้ผมนึกถึงสมัยที่ผมเป็นเด็กน้อยไปด้วยเลยทีเดียว
การเชิดสิงโตของญี่ปุ่นจะต่างจากที่ไทยและมาเลเซียเล็กน้อยครับ เรียกการเชิดสิงโตว่า 獅子舞 Shishimai คือ ศิลปะการแสดงเต้นระบำภายใต้หัวสิงโตดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยเป็นการเต้นระบำเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวของสิงโตจริงๆ ตามงานเทศกาลต่างๆ การเชิดสิงโต น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาชินโตด้วย และดีไม่ดีเป็นเรื่องทางธุรกิจซะอีก ไม่ใช่แค่เต้นหรือเชิดแบบสนุกสนานเท่านั้น แต่ความเชื่อทางศาสนาที่ว่าคือ เชื่อกันว่าเป็นการนำพาความสุขมาสู่ที่พักอาศัย สิงโตจะถูกเชิดไปตามบ้านแต่เข้าบ้านไหนหรือไปเต้นเชิดบ้านไหน บ้านนั้นต้องมีการจ่ายเงินบริจาคให้นักเชิดสิงโตด้วยนะครับ มีงบระบุไว้ด้วยว่าเท่าใดๆ ตอนเป็นเด็กๆ ครั้งแรกที่ผมเห็น Shishimai อายุเกือบจะ 3 ปีแล้วผมกลัวมาก ผมมองว่าสิงโตหัวโต ปากกว้างน่ากลัวอะไรเช่นนี้ ตอนนั้นผมเรียนอยู่โรงเรียนอนุบาลมี Shishimai มาเต้นเชิดในโรงเรียนด้วย ทำให้เด็กๆ ร้องไห้กันยกใหญ่รวมทั้งผมด้วย ผมกลัวมากยังจำได้ดี แต่ผู้ใหญ่ทุกคนจะชอบเพราะเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ยิ่งถ้า Shishimai อ้าปากกัดใคร คนๆ นั้นก็จะยิ่งโชคดี เด็กๆ เห็นคนโดน Shishimai งับยิ่งกลัวกันจนตัวสั่นเลย
Shishimai นั้นเดิมทีได้รับอิทธิพลมาจากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นนานแล้ว แต่หลังจากนั้นก็กลืนเข้าสู่วัฒธรรมญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละส่วนภูมิภาค ตำบลที่ผมอยู่จะมีเทศกาลเชิด Shishimai ด้วยโดยจะจัด 4 ปีครั้งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี่เอง คนที่มาร่วมทีมเชิดต้องเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ของศาลเจ้านั้นๆ พูดง่ายๆ คือผู้ที่มีรายชื่อบริจาคเงินบำรุงศาลเจ้านั่นเอง โดยในทีมจะมี ทีมเชิดที่อยู่ในตัวเอง Shishimai รวมประมาณ 12 คน ทั้งหมดเป็นผู้ใหญ่ นักเล่นดนตรี เป่าขลุ่ย ตีกลอง รวมประมาณ 5 คนมีแต่ลุงๆ อายุน่าจะเกิน 65 ปีขึ้นไปทุกคน และมีเด็กน้อยทีมแรกอายุ 6-8 ปี ประมาณ 3 คนจะเต้นวิ่งไปวิ่งมารอบๆ Shishimai และเด็กโตอายุ 10-12 ปี ประมาณ 3-5 คน ก็เต้นวิ่งไปวิ่งมารอบๆ Shishimai แต่จะมีการเต้นในท่าทางที่ยากกว่าเด็กเล็ก เด็กๆ ที่มาร่วมแสดงในงาน ต้องผ่านเงื่อนไขที่ว่าต้องเป็นเด็กผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 12 ปี และมีครอบครัวอยู่ในพื้นที่ของศาลเจ้านี้ แต่ยิ่งนับวันเด็กๆ ก็น้อยลงทุกทีละครับ โดยทีมนักเชิด Shishimai ทั้งหมดจะซ้อมกันตลอดหลายเดือนของฤดูร้อน ช่วงเช้าก็ไปเรียนไปทำงานตามปกติ เลิกงานแล้วก็มารวมตัวกันที่ศาลาประชาคมประจำเมืองและซ้อมกันทุกวัน วันละ 2-3 ชั่วโมง งานเทศกาล Shishimai ครั้งที่สองในชีวิตผมก็อีก 4 ปีหลังจากร้องไห้ตอนเป็นเด็กอนุบาล เมื่ออายุเกือบจะ 7 ปี ผมและเพื่อนเด็กๆ ได้ถูกเลือกให้มาร่วมแสดงด้วย ต้องมาซ้อมเป็นหนูน้อยนักเต้นในทีมเชิดด้วย โค้ชที่เป็นหัวหน้าซ้อมน่ากลัวมาก ผมก็ต้องมาซ้อมกับพวกเขาตลอดทุกวันซึ่งเหนื่อยมาก ตอนแรกคิดว่าอีก 4 ปีข้างหน้าคงไม่ต้องมาแล้วเพราะโตแล้ว
ที่ไหนได้อีก 2 ปีต่อมาเป็นปีที่ต้องฉลองครบรอบ 100 ปีของศาลเจ้าเค้าเลยจัดเชิด Shishimai อีกเป็นกรณีพิเศษ เอาละสิผมต้องโดนเลือกให้มาเต้นกับเขาอีก ไม่พ้นสักที ซ้อมตั้งนานพอถึงวันเทศกาลที่ต้องไปเชิด Shishimai ก็ใช้เวลาประมาณครึ่งวันเอง ตอนเช้าเด็กๆ ก็ต้องไปโรงเรียนก่อน พอทานอาหารกลางวันเสร็จแล้วก็กลับไปเตรียมตัวได้ ผมก็ดีใจระดับหนึ่งที่ได้กลับบ้านไว แต่ก็ต้องไปเต้นก็ลำบากเหมือนกัน จบงานเหนื่อยมาก วันนั้นเต้นเสร็จปุ๊บฝนตกพอดีต้องเดินกลับบ้านเอง ยังนึกว่าทำไมมันลำบากแบบนี้น้า แต่พอโตขึ้นนึกย้อนกลับไปแล้วรู้สึกว่าเป็นความทรงจำที่ดีงามอีกอย่างหนึ่งในชีวิตเลยครับ แล้วไม่ใช่เต้นเฉยๆ นะครับ จบงานยังได้ซองค่าขนมด้วย 50,000 เยน ( ประมาณ 17,000 บาท) ถือว่าเยอะนะครับ สงสัยศาลเจ้าคงได้รับเงินบริจาคเยอะอยู่ ยิ่งถ้าเทียบกับเงินเดือนสตาร์ทเริ่มต้นของเด็กจบใหม่ที่น้อยมาก กี่สิบปีผ่านไปก็ได้อัตราเดิม ถือว่ามาซ้อมเต้นนี่ได้ค่าแรงเยอะเลย
ที่บอกว่าเด็กน้อยลงทุกที เพราะจากเงื่อนไขที่ต้องเป็นเด็กผู้ชายอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะเชื่อว่าเด็กยังเป็นตัวแทนของเทพเจ้า แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าจะมีเด็กมัธยมเอย เด็กผู้หญิงเอยมาร่วมด้วยเพราะเด็กไม่พอนั่นเอง
พูดถึงโค้ชที่เป็นผู้ฝึกสอนให้ทีมเชิด Shishimai และสอนนักเต้นสักหน่อยครับ ลุงเป็นคนที่น่ากลัวมาก เพราะเขาเอาจริงเอาจัง อาจจะไม่ถึงขั้นเตะต่อย หรือทำร้ายร่างกายแต่ถือว่าเสียงดังและดุ คล้ายๆ รุ่นพี่ที่เป็นพี่ว้าก ตอนที่รับน้องเข้ามหาวิทยาลัยล่ะครับ เขาเป็นญาติกับเจ้าของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งธุรกิจแบบนี้ที่ญี่ปุ่นก็คือกลุ่มบริษัทที่มีผู้มีอิทธิพลทำเยอะ ความทรงจำตอนนั้นอย่างที่บอกว่าโค้ชดุมาก แต่อยู่มาวันหนึ่งลุงโค้ชก็อ่อนหวานใจดีขึ้นมาอย่างกะหน้ามือเป็นหลังมือ ทำให้ผมรู้สึกว่าไม่ไว้ใจเลย มันแปลกไปจากที่เคยเจอ ผมคิดว่าคงมีใครไปบอกเขาว่าเขาดุมากเกินไปแล้วและเขาคงแก้ไขตัวเองแต่ดูขัดๆ อย่างไรบอกไม่ถูก ข้อนี้นับว่าเป็นอีกจุดที่คนญี่ปุ่นมีคือ ถ้ามีคนร้องเรียนอะไรมาก็มักจะนำไปคิดและปรับปรุงตัวครับ ตอนนั้นผมอายุแค่ 6-7 ปี โค้ชอายุประมาณ 60- 65 ปี ถ้าถามตอนนี้ก็คงลาจากโลกไปแล้วอย่างแน่นอนครับ ตอนนั้นผมกลัวและไม่ชอบที่เขาดุและใช้คำรุนแรง แต่ตอนนี้ผมนึกย้อนกลับไปแล้วก็ขอบคุณเขาล่ะครับ
งาน Matsuri แบบนี้บางทีผมก็มองว่าเหมือนทำเป็นธุรกิจ เพราะทำให้เกิดการหมุนเวียนเงินในระบบอย่างมาก และยังมีจดหมายมาตามบ้านขอเรียกรับเงินบริจาค ถ้าใครมาร่วมทีมเชิดได้ก็ขอความร่วมมือมาซ้อม ถ้าใครมาไม่ได้ต้องจ่ายค่าบำรุงมา ฟังดูแปลกๆ นะเนี่ย แต่งานแบบนี้ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนครับ เพราะ
* ทำให้เกิดอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานเทศกาลเชิด Shishimai หลายอาชีพ เช่น คนที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาชินโต ถ้าไม่ใช่ศาลเจ้าใหญ่ๆ ก็จะไม่มีผู้ที่ทำพิธีกรรมของศาลเจ้าตัวเอง ต้องจ้างมาจากศาลเจ้าใหญ่ๆ เพื่อมาช่วยงานในวันประกอบพิธี และได้รับค่าแรงที่ค่อนข้างสูง
* ทำให้เกิดอาชีพเหรัญญิก ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผนทางการเงินการสร้างงบประมาณ ทำบัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆ ทีมเขียนป้ายส่งตามบ้านเพื่อขอรับเงินบริจาคต่างๆ
* เรื่องการเก็บเงินบริจาค มีการเขียนเอกสารเชิญมาร่วมงาน ถ้าไม่มาขอให้ช่วยบริจาคเท่าไหร่ๆ จะระบุไปเลย และเงินหมุนเวียนในระบบเยอะมาก อย่างที่ผมบอกว่าขนาดผมเป็นเด็กน้อยผมยังได้เงินค่าแรง 5 หมื่นเยน แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสมัยนั้นดีมาก แต่สมัยนี้ได้ยินว่านอกจากอนุญาตให้เด็กโตมาร่วมแล้ว ยังมีเด็กผู้หญิงมาร่วมทีมด้วย และเงินค่าแรงที่ได้ก็ไม่มากกว่าสมัยก่อนแถมดีไม่ดีอาจจะน้อยกว่าเดิมด้วย
สมัยโชวะ หรือสมัยที่ผมเป็นเด็กนั้นญี่ปุ่นยังมีความสว่างไสว มีประชากรเด็กอยู่บ้างถึงแม้จะน้อยลงๆ เข้าสู่ยุคเฮเซย์แถมปีนี้เป็นปีสุดท้ายของยุคสมัยเฮเซย์แล้วด้วย ได้ข่าวมาว่าเทศกาลเชิด Shishimai ของท้องถิ่นบ้านผมก็ดูเหมือนจะค่อยๆ ถูกยกเลิกไปเป็นแน่ ก็คงเพราะไม่มีคนสืบทอด ไม่มีประชากรรุ่นต่อไปที่จะสืบสาน เห็นมีคนบอกว่าคนในกลุ่มของศาลาประชาคมที่ศาลเจ้านี้เหลือแค่ 100 กว่าคนและคงจะมีแต่ผู้สูงอายุ ซึ่งอีกไม่นานคงจะไม่มีการเชิด Shishimai ที่เมืองนี้อีกก็เป็นได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายอยู่เหมือนกันครับ ดังนั้นถ้าท่านใดยังมีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่นและได้ชมการเชิด Shishimai ลองดูนะครับ เพราะคนเชิดทุกคนซ้อมหนักมากและตั้งใจมาก อีกหน่อยอาจไม่มีให้ชมแล้วก็เป็นได้ วันนี้สวัสดีครับ