สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้ว พูดเรื่องภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติแล้ว บางกรณีก็ยากที่จะคาดเดาได้ เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว บางกรณีก็อาจจะคาดการณ์และรองรับล่วงหน้าได้บ้าง เช่นเหตุการณ์น้ำท่วมที่คาดคะเนจากปริมาณน้ำที่ไหลมาตามแม่น้ำ การพยากรณ์อากาศ ฟ้าในต่างๆ ว่าฝนจะตกไหม พายุเข้าเมื่อไหร่ แต่บางเหตุการณ์ก็เกินกว่าจะคาดเดาและรองรับได้เพราะเหนือความคาดหมายเป็นอย่างมาก เรียกว่ามีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นเกินความคาดคิด ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะกรณีไหนๆ ต่างก็ทำให้เกิดความสูญเสียและส่งผลกระทบมากมาย
จากเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมและดินถล่มที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2561 ในครั้งนี้ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คนแล้ว นอกจากนั้นยังมีผู้สูญหายไปอีกเป็นจำนวนมาก และคาดว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจจะเพิ่มสูงขึ้นอีก มีบ้านเรือนในพื้นที่ภัยพิบัติกว่า 200,000 หลังคาเรือนในหลายพื้นที่ของ จ.Hiroshima , Okayama , Hyogo, Kyoto เป็นต้น เป็นภัยพิบัติครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งนับตั้งแต่เหตุแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา และมีหลายกระแสกล่าวว่า เมืองหนึ่งที่สูญเสียมากจากภัยพิบัติในครั้งนี้ เป็นเมืองที่ทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่าวันหนึ่งอาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นได้
ที่จริงแล้วตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบภัยน้ำท่วมบ่อยมาก อาจจะบ่อยกว่าเมืองไทยอีกด้วย เพราะตามภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นที่มีภูเขาสูงเยอะ แหล่งน้ำมาจากภูเขาสูง บางแห่งอาจจะไหลลงมาจากความสูงกว่า 30 เมตรมาสู่แหล่งน้ำที่พื้นดินด้านล่าง ดังนั้นปริมาณและมวลน้ำและความเร็วจึงส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านล่างเป็นอย่างมาก ในขณะที่ปกติแล้วแม่น้ำทั่วๆ ไปจะมีปริมาณน้ำที่ไหลตามทิศทางใดทิศทางหนึ่งไปเรื่อยๆ เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ระดับน้ำระบายได้และลดลงได้เรื่อยๆ ต่างจากแหล่งน้ำหลายแห่งที่ญี่ปุ่น ที่น้ำไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ เมืองที่อยู่ใต้น้ำจึงค่อนข้างอันตรายมาก
จังหวัดโอกายามาและจังหวัดฮิโรชิมา เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากภัยพิบัติในครั้งนี้ครับ แต่วันนี้ผมจะพูดถึงเมือง Sōja (総社市 Sōja-shi) ในจังหวัด Okayama และอีกประเด็นของภัยพิบัติที่เกิดที่ Kyoto ครับ
#ภัยพิบัติครั้งนี้ที่เกิดขึ้นที่เมือง Sōja 総社, Okayama
หนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติในครั้งนี้มากที่สุด คือ Sōja 総社 สมัยเมื่อ 400 กว่าปีก่อน มีเรื่องเล่าว่า 織田信長 Oda Nobunaga ได้สั่งการให้ 豊臣秀吉 Toyotomi Hideyoshi มาตีเมืองนี้ โดยตั้งกองทัพล้อมล้อมปราสาท (備中)高松城 Takamatsu Castle อยู่หลายปี ในปราสาทนั้นมีหัวหน้าผู้ดูแลปราสาทและผู้คุมกองกำลังชื่อ 清水宗治 Shimizu Muneharu
豊臣秀吉 Toyotomi Hideyoshi ตั้งฐานทัพล้อมรอบเมืองนี้และเฝ้ารออยู่รอบๆ ปราสาทอยู่นาน เพราะหวังจะให้เมืองนี้ขาดน้ำขาดอาหารไปเอง และเนื่องจากเป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบการทำลายเมืองนี้แค่ทำอย่างไรก็ได้ให้น้ำท่วม!! เขาจึงมีอุบายสร้างเขื่อนเพื่อกักน้ำบนภูเขาที่อยู่ล้อมรอบเมือง โดยมีแผนจะใช้มวลน้ำจำนวนมากนั้นให้ไหลเข้าถล่มทำลายพื้นที่เมืองและปราสาทดังกล่าว เพราะที่จริงแล้วเมืองนี้มีจุดอ่อนที่สามารถทำลายล้างด้วยมวลน้ำจำนวนมากที่ไหลลงมาจากภูเขาเท่านั้น แต่ยังถือว่าโชคดีของชาวเมืองในขณะที่เขื่อนยังไม่ทันจะสร้างเสร็จ แต่ Oda Nobunaga หัวหน้าของ Toyotomi Hideyoshi เกิดเสียชีวิตลงเสียก่อน ขณะอยู่ที่เมืองหลวงเกียวโต ทำให้ Toyotomi Hideyoshi ต้องรีบถอนทัพกลับวังหลวงเกียวโตด่วน แต่กระนั้นภาระกิจการยึดเมืองตามที่ได้รับมอบหมายก็ยังไม่สำเร็จดี เขาจึงออกแผนการว่า ถ้า Shimizu Muneharu ผู้ครองปราสาทยอมฮาราคีรีตัวเองตายแทนคนทั้งเมือง เขาจะยอมถอยทัพกลับ ตอนนั้นมีพระที่เป็นหนอนบ่อนไส้ ชื่อว่า 安国寺恵瓊 Ankokuji Ekei ก็ยุให้ Shimizu Muneharu ยอมเสียสละชีวิตตนเองเพื่อรักษาเมืองและประชาชน ในขณะที่เขาก็รู้อยู่แล้วว่าถึงแม้ Shimizu Muneharu ไม่ฮาราคีรีตัวเอง ทาง Toyotomi Hideyoshi ก็ต้องยกทัพกลับในไม่ช้าเพราะ Oda Nobunaga เสียชีวิตลงแล้ว
Shimizu Muneharu ยอมพลีชีพตัวเอง เพื่อประชาชนและส่วนรวม เพราะคิดว่าทาง Toyotomi Hideyoshi มาตั้งฐานทัพปิดล้อมเมืองยาวนานหลายปีแล้ว จนเกือบจะไม่มีเสบียงอาหารเหลืออยู่ ถ้านานกว่านี้ประชานชนที่ยังเหลืออยู่ก็ต้องค่อยๆ ตายจากไป หรือถ้า Hideyoshi บุกเข้ามาก็ไม่มีทางชนะเขาได้ เนื่องจากกองกำลังของเขามีจำนวนเยอะกว่ามาก กระนั้นเลยเราแค่เสียสละชีวิตตัวเองเพื่อแลกกับส่วนรวมจะได้ประโยชน์กว่ามาก ว่าแล้วจึงตอบตกลงและทำพิธีฮาราคีรีริมฝั่งทะเล ต่อหน้าสาธารณชน และต่อหน้า Hideyoshi เมื่อ Shimizu Muneharu สิ้นชีวิตแล้ว ทุกคนเศร้าเสียใจมาก ส่วนทัพของ Hideyoshi ก็ยกกลับเมืองเกียวโต ภายหลังพระไส้สึกได้เข้าเป็นฝ่ายของ Toyotomi Hideyoshi และได้รับที่ดินและได้ครองปราสาทที่เมืองหนึ่งที่ชิโกกุ
จะเห็นได้ว่าเมืองนี้มีประวัติศาตร์มายาวนาน และทุกคนรู้ดีว่าจะทำลายที่นี่ได้มีทางเดียวคือ มวลน้ำจากภูเขา เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนมาจนถึงยุคปัจจุบันเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณการป้องกันปัญหาน้ำท่วมน้ำป่าไหลหลากยังเต็ม 100% แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้รัฐบาลตัดงบประมาณการดูแลป้องกันปัญหาดังกล่าวลงกว่าครึ่ง หรือแทบจะไม่มีมาตรการป้องกันหรือระวังภัยอย่างเข้มงวดเฉกเช่นเดิม เมื่อเกิดเหตุการณ์มวลน้ำจำนวนมหาศาลไหลลงมาจากภูเขาจึงเป็นเหตุให้เมืองนี้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
*สำหรับปราสาททาคามัตสึนั้น 高松城 Takamatsu Castle เป็นปราสาทริมน้ำ และมีคูน้ำที่เป็นทางน้ำเค็มมาจากทะเลโดยตรงด้วย เพราะตั้งอยู่ติดกับทะเล สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1590 ได้ถูกทำลายลงหลายครั้งแต่ก็มีการบูรณะฟื้นฟูต่อๆ มา ส่วนเดิมของอาคารเก่าของปราสาทยังคงตั้งอยู่ในสวนสาธารณะ ปัจจุบันนำมาดัดแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดนิทรรศการ และห้องโถงสำหรับทำพิธีชงชาและการเรียนการสอนวิชาจัดดอกไม้ครับ ซึ่งจากภัยพิบัติครั้งนี้ก็ทำให้เกิดความเสียหายมากเหมือนกัน
#ภัยพิบัติครั้งนี้ที่เกิดขึ้นรอบๆ เกียวโต
จังหวัดเกียวโตก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม น้ำไหลหลาก ฝนตกหนักในครั้งนี้ แต่ถ้าเปิดแผนที่ดูว่าบริเวณใดบ้างที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ หลายคนตกใจเพราะพื้นที่รอบๆ 京都御所 (Kyoto Imperial Palace )พระราชวังอิมพีเรียลเกียวโต หรือพระราชวังหลวงเกียวโต โดนภัยพิบัติกันถ้วนหน้า มีเพียงกระจุกตรงเขตวังเท่านั้นที่ไม่เป็นอะไรเลย ทั้งๆ ที่อยู่ใกล้แม่น้ำอีกด้วย หลายกระเเสกล่าวว่าเรื่องพวกนี้บางทีก็แปลก แสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นเองก็ยังมีความเชื่อเรื่องที่เหนือเหตุผลเช่นนี้เหมือนกัน อีกหนึ่งตัวอย่างคือความเชื่อเรื่องวันโชคดี วันโชคร้ายตามปฏิทินญี่ปุ่น ที่เรียกว่า 六曜 Rikuyo ที่มีมายาวนานกว่า 1,200 ปี
ปฏิทิน 六曜 Rikuyo ใช้ทำนายว่าวันไหนจะโชคดี วันไหนจะโชคร้าย Lucky and Unlucky Days แม้แต่ปัจจุบันนี้ก็ยังมีสอดแทรกอยู่ในปฏิทินปัจจุบันด้วย เพื่อใช้เป็นที่พึงทางใจสำหรับการดูฤกษ์งามยามดีต่างๆ จะเห็นว่าพิธีสำคัญต่างๆ ของชาวญี่ปุ่นถูกจัดโดยการดูวันจากปฏิทินโบราณด้วยและใช้เป็นหลักในการเลือกฤกษ์งามยามดีเพื่อทำพิธีเปิดร้านหรือสร้างบ้านใหม่ แต่งงาน หรืองานสีดำ เป็นต้น
ปฏิทินโบราณมีทั้งหมด 6 วัน และจะวนไปเรื่อยๆ ตามรอบครับ มีความหมายดังนี้
🔹先勝 Senshou หรือ Sakikachi หมายถึง เวลาตลอดช่วงเช้าถือเป็นช่วงเวลาที่ดี สามารถเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ได้ดี ไม่มีปัญหา ส่วนช่วงบ่ายๆ ไปจนถึงหกโมงเย็นนั้นฤกษ์ไม่ค่อยดีนัก
🔹友引 Tomobiki หมายถึง เวลาช่วงเช้าถือว่าดี บ่ายและช่วงเวลาเย็นๆ ก็จะเป็นฤกษ์ดี เชื่อกันว่าคล้ายเป็นเคล็ดว่า ‘เรียกเพื่อน’ คือถ้าแต่งงานในวันนี้ เพื่อนจะได้แต่งงานต่อ แต่วันนี้ห้ามจัดงานศพ เพราะคงไม่มีใครอยากจัดงานต่อ
🔹先負 Senbu หรือ Sakimake หมายถึง เวลาช่วงเช้าฤกษ์ไม่ดี ไม่ควรทำกิจการใดๆ แต่ช่วงบ่ายไม่เป็นไร ช่วงบ่าย Lucky
🔹仏滅 Butsumetsu หมายถึง วันที่ฤกษ์แย่ที่สุด เชื่อกันว่า เศร้าโศกปะหนึ่งวันที่พวกเราสูญเสียพระพุทธศาสดา คนญี่ปุ่นจึงไม่ค่อยจัดงานมงคลอะไรในวันนี้
🔹大安 Taian หมายถึง วันที่ดีที่สุด วันธงชัย วันมงคล เหมาะมากที่จะทำกิจการต่างๆ จะประสบแต่ความสำเร็จ คนมักจะเลือกฤกษ์วันนี้เป็นวันแต่งงาน และงานมงคล ซึ่งราคาค่าใช้จ่ายการจัดงานแต่งงานในวันนี้แพงขึ้นมากถ้าเทียบกับวันอื่นๆ
🔹赤口 Shakkou หมายถึง เป็นวันไม่ดี ไม่ค่อยดีรองจาก 仏滅 Butsumetsu แต่ปัจจุบันหลายคนก็ไม่ค่อยใส่ใจคำทำนายของวันนี้นัก
วันนี้ฤกษ์ดีหรือเปล่า คนญี่ปุ่นหลายคนมักจะเปิดปฏิทินดูกันก่อน แต่อย่างไรก็ตามถ้าพูดถึงภัยพิบัติ จะเห็นว่าเมืองที่เคยเกิดเหตุภัยพิบัติมาก่อน จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์และบทเรียนให้คนรุ่นหลังเรียนรู้เพื่อหามาตรการและแนวทางรองรับ เรื่องบางเรื่องถึงเป็นเรื่องเหลือเชื่อแต่ถ้าไม่งมงายจนเกินไปเราก็สามารถปฏิบัติตามที่คนรุ่นเก่าเชื่อถือมาก็ได้ ไม่ได้เสียหายอะไร นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น การเดินไปข้างหน้าด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ สานต่อกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งที่พวกเราต้องทำไปพร้อมๆ กัน วันนี้สวัสดีครับ
จากเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมและดินถล่มที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2561 ในครั้งนี้ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คนแล้ว นอกจากนั้นยังมีผู้สูญหายไปอีกเป็นจำนวนมาก และคาดว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจจะเพิ่มสูงขึ้นอีก มีบ้านเรือนในพื้นที่ภัยพิบัติกว่า 200,000 หลังคาเรือนในหลายพื้นที่ของ จ.Hiroshima , Okayama , Hyogo, Kyoto เป็นต้น เป็นภัยพิบัติครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งนับตั้งแต่เหตุแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา และมีหลายกระแสกล่าวว่า เมืองหนึ่งที่สูญเสียมากจากภัยพิบัติในครั้งนี้ เป็นเมืองที่ทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่าวันหนึ่งอาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นได้
ที่จริงแล้วตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบภัยน้ำท่วมบ่อยมาก อาจจะบ่อยกว่าเมืองไทยอีกด้วย เพราะตามภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นที่มีภูเขาสูงเยอะ แหล่งน้ำมาจากภูเขาสูง บางแห่งอาจจะไหลลงมาจากความสูงกว่า 30 เมตรมาสู่แหล่งน้ำที่พื้นดินด้านล่าง ดังนั้นปริมาณและมวลน้ำและความเร็วจึงส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านล่างเป็นอย่างมาก ในขณะที่ปกติแล้วแม่น้ำทั่วๆ ไปจะมีปริมาณน้ำที่ไหลตามทิศทางใดทิศทางหนึ่งไปเรื่อยๆ เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ระดับน้ำระบายได้และลดลงได้เรื่อยๆ ต่างจากแหล่งน้ำหลายแห่งที่ญี่ปุ่น ที่น้ำไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ เมืองที่อยู่ใต้น้ำจึงค่อนข้างอันตรายมาก
จังหวัดโอกายามาและจังหวัดฮิโรชิมา เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากภัยพิบัติในครั้งนี้ครับ แต่วันนี้ผมจะพูดถึงเมือง Sōja (総社市 Sōja-shi) ในจังหวัด Okayama และอีกประเด็นของภัยพิบัติที่เกิดที่ Kyoto ครับ
#ภัยพิบัติครั้งนี้ที่เกิดขึ้นที่เมือง Sōja 総社, Okayama
หนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติในครั้งนี้มากที่สุด คือ Sōja 総社 สมัยเมื่อ 400 กว่าปีก่อน มีเรื่องเล่าว่า 織田信長 Oda Nobunaga ได้สั่งการให้ 豊臣秀吉 Toyotomi Hideyoshi มาตีเมืองนี้ โดยตั้งกองทัพล้อมล้อมปราสาท (備中)高松城 Takamatsu Castle อยู่หลายปี ในปราสาทนั้นมีหัวหน้าผู้ดูแลปราสาทและผู้คุมกองกำลังชื่อ 清水宗治 Shimizu Muneharu
豊臣秀吉 Toyotomi Hideyoshi ตั้งฐานทัพล้อมรอบเมืองนี้และเฝ้ารออยู่รอบๆ ปราสาทอยู่นาน เพราะหวังจะให้เมืองนี้ขาดน้ำขาดอาหารไปเอง และเนื่องจากเป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบการทำลายเมืองนี้แค่ทำอย่างไรก็ได้ให้น้ำท่วม!! เขาจึงมีอุบายสร้างเขื่อนเพื่อกักน้ำบนภูเขาที่อยู่ล้อมรอบเมือง โดยมีแผนจะใช้มวลน้ำจำนวนมากนั้นให้ไหลเข้าถล่มทำลายพื้นที่เมืองและปราสาทดังกล่าว เพราะที่จริงแล้วเมืองนี้มีจุดอ่อนที่สามารถทำลายล้างด้วยมวลน้ำจำนวนมากที่ไหลลงมาจากภูเขาเท่านั้น แต่ยังถือว่าโชคดีของชาวเมืองในขณะที่เขื่อนยังไม่ทันจะสร้างเสร็จ แต่ Oda Nobunaga หัวหน้าของ Toyotomi Hideyoshi เกิดเสียชีวิตลงเสียก่อน ขณะอยู่ที่เมืองหลวงเกียวโต ทำให้ Toyotomi Hideyoshi ต้องรีบถอนทัพกลับวังหลวงเกียวโตด่วน แต่กระนั้นภาระกิจการยึดเมืองตามที่ได้รับมอบหมายก็ยังไม่สำเร็จดี เขาจึงออกแผนการว่า ถ้า Shimizu Muneharu ผู้ครองปราสาทยอมฮาราคีรีตัวเองตายแทนคนทั้งเมือง เขาจะยอมถอยทัพกลับ ตอนนั้นมีพระที่เป็นหนอนบ่อนไส้ ชื่อว่า 安国寺恵瓊 Ankokuji Ekei ก็ยุให้ Shimizu Muneharu ยอมเสียสละชีวิตตนเองเพื่อรักษาเมืองและประชาชน ในขณะที่เขาก็รู้อยู่แล้วว่าถึงแม้ Shimizu Muneharu ไม่ฮาราคีรีตัวเอง ทาง Toyotomi Hideyoshi ก็ต้องยกทัพกลับในไม่ช้าเพราะ Oda Nobunaga เสียชีวิตลงแล้ว
Shimizu Muneharu ยอมพลีชีพตัวเอง เพื่อประชาชนและส่วนรวม เพราะคิดว่าทาง Toyotomi Hideyoshi มาตั้งฐานทัพปิดล้อมเมืองยาวนานหลายปีแล้ว จนเกือบจะไม่มีเสบียงอาหารเหลืออยู่ ถ้านานกว่านี้ประชานชนที่ยังเหลืออยู่ก็ต้องค่อยๆ ตายจากไป หรือถ้า Hideyoshi บุกเข้ามาก็ไม่มีทางชนะเขาได้ เนื่องจากกองกำลังของเขามีจำนวนเยอะกว่ามาก กระนั้นเลยเราแค่เสียสละชีวิตตัวเองเพื่อแลกกับส่วนรวมจะได้ประโยชน์กว่ามาก ว่าแล้วจึงตอบตกลงและทำพิธีฮาราคีรีริมฝั่งทะเล ต่อหน้าสาธารณชน และต่อหน้า Hideyoshi เมื่อ Shimizu Muneharu สิ้นชีวิตแล้ว ทุกคนเศร้าเสียใจมาก ส่วนทัพของ Hideyoshi ก็ยกกลับเมืองเกียวโต ภายหลังพระไส้สึกได้เข้าเป็นฝ่ายของ Toyotomi Hideyoshi และได้รับที่ดินและได้ครองปราสาทที่เมืองหนึ่งที่ชิโกกุ
จะเห็นได้ว่าเมืองนี้มีประวัติศาตร์มายาวนาน และทุกคนรู้ดีว่าจะทำลายที่นี่ได้มีทางเดียวคือ มวลน้ำจากภูเขา เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนมาจนถึงยุคปัจจุบันเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณการป้องกันปัญหาน้ำท่วมน้ำป่าไหลหลากยังเต็ม 100% แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้รัฐบาลตัดงบประมาณการดูแลป้องกันปัญหาดังกล่าวลงกว่าครึ่ง หรือแทบจะไม่มีมาตรการป้องกันหรือระวังภัยอย่างเข้มงวดเฉกเช่นเดิม เมื่อเกิดเหตุการณ์มวลน้ำจำนวนมหาศาลไหลลงมาจากภูเขาจึงเป็นเหตุให้เมืองนี้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
*สำหรับปราสาททาคามัตสึนั้น 高松城 Takamatsu Castle เป็นปราสาทริมน้ำ และมีคูน้ำที่เป็นทางน้ำเค็มมาจากทะเลโดยตรงด้วย เพราะตั้งอยู่ติดกับทะเล สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1590 ได้ถูกทำลายลงหลายครั้งแต่ก็มีการบูรณะฟื้นฟูต่อๆ มา ส่วนเดิมของอาคารเก่าของปราสาทยังคงตั้งอยู่ในสวนสาธารณะ ปัจจุบันนำมาดัดแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดนิทรรศการ และห้องโถงสำหรับทำพิธีชงชาและการเรียนการสอนวิชาจัดดอกไม้ครับ ซึ่งจากภัยพิบัติครั้งนี้ก็ทำให้เกิดความเสียหายมากเหมือนกัน
#ภัยพิบัติครั้งนี้ที่เกิดขึ้นรอบๆ เกียวโต
จังหวัดเกียวโตก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม น้ำไหลหลาก ฝนตกหนักในครั้งนี้ แต่ถ้าเปิดแผนที่ดูว่าบริเวณใดบ้างที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ หลายคนตกใจเพราะพื้นที่รอบๆ 京都御所 (Kyoto Imperial Palace )พระราชวังอิมพีเรียลเกียวโต หรือพระราชวังหลวงเกียวโต โดนภัยพิบัติกันถ้วนหน้า มีเพียงกระจุกตรงเขตวังเท่านั้นที่ไม่เป็นอะไรเลย ทั้งๆ ที่อยู่ใกล้แม่น้ำอีกด้วย หลายกระเเสกล่าวว่าเรื่องพวกนี้บางทีก็แปลก แสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นเองก็ยังมีความเชื่อเรื่องที่เหนือเหตุผลเช่นนี้เหมือนกัน อีกหนึ่งตัวอย่างคือความเชื่อเรื่องวันโชคดี วันโชคร้ายตามปฏิทินญี่ปุ่น ที่เรียกว่า 六曜 Rikuyo ที่มีมายาวนานกว่า 1,200 ปี
ปฏิทิน 六曜 Rikuyo ใช้ทำนายว่าวันไหนจะโชคดี วันไหนจะโชคร้าย Lucky and Unlucky Days แม้แต่ปัจจุบันนี้ก็ยังมีสอดแทรกอยู่ในปฏิทินปัจจุบันด้วย เพื่อใช้เป็นที่พึงทางใจสำหรับการดูฤกษ์งามยามดีต่างๆ จะเห็นว่าพิธีสำคัญต่างๆ ของชาวญี่ปุ่นถูกจัดโดยการดูวันจากปฏิทินโบราณด้วยและใช้เป็นหลักในการเลือกฤกษ์งามยามดีเพื่อทำพิธีเปิดร้านหรือสร้างบ้านใหม่ แต่งงาน หรืองานสีดำ เป็นต้น
ปฏิทินโบราณมีทั้งหมด 6 วัน และจะวนไปเรื่อยๆ ตามรอบครับ มีความหมายดังนี้
🔹先勝 Senshou หรือ Sakikachi หมายถึง เวลาตลอดช่วงเช้าถือเป็นช่วงเวลาที่ดี สามารถเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ได้ดี ไม่มีปัญหา ส่วนช่วงบ่ายๆ ไปจนถึงหกโมงเย็นนั้นฤกษ์ไม่ค่อยดีนัก
🔹友引 Tomobiki หมายถึง เวลาช่วงเช้าถือว่าดี บ่ายและช่วงเวลาเย็นๆ ก็จะเป็นฤกษ์ดี เชื่อกันว่าคล้ายเป็นเคล็ดว่า ‘เรียกเพื่อน’ คือถ้าแต่งงานในวันนี้ เพื่อนจะได้แต่งงานต่อ แต่วันนี้ห้ามจัดงานศพ เพราะคงไม่มีใครอยากจัดงานต่อ
🔹先負 Senbu หรือ Sakimake หมายถึง เวลาช่วงเช้าฤกษ์ไม่ดี ไม่ควรทำกิจการใดๆ แต่ช่วงบ่ายไม่เป็นไร ช่วงบ่าย Lucky
🔹仏滅 Butsumetsu หมายถึง วันที่ฤกษ์แย่ที่สุด เชื่อกันว่า เศร้าโศกปะหนึ่งวันที่พวกเราสูญเสียพระพุทธศาสดา คนญี่ปุ่นจึงไม่ค่อยจัดงานมงคลอะไรในวันนี้
🔹大安 Taian หมายถึง วันที่ดีที่สุด วันธงชัย วันมงคล เหมาะมากที่จะทำกิจการต่างๆ จะประสบแต่ความสำเร็จ คนมักจะเลือกฤกษ์วันนี้เป็นวันแต่งงาน และงานมงคล ซึ่งราคาค่าใช้จ่ายการจัดงานแต่งงานในวันนี้แพงขึ้นมากถ้าเทียบกับวันอื่นๆ
🔹赤口 Shakkou หมายถึง เป็นวันไม่ดี ไม่ค่อยดีรองจาก 仏滅 Butsumetsu แต่ปัจจุบันหลายคนก็ไม่ค่อยใส่ใจคำทำนายของวันนี้นัก
วันนี้ฤกษ์ดีหรือเปล่า คนญี่ปุ่นหลายคนมักจะเปิดปฏิทินดูกันก่อน แต่อย่างไรก็ตามถ้าพูดถึงภัยพิบัติ จะเห็นว่าเมืองที่เคยเกิดเหตุภัยพิบัติมาก่อน จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์และบทเรียนให้คนรุ่นหลังเรียนรู้เพื่อหามาตรการและแนวทางรองรับ เรื่องบางเรื่องถึงเป็นเรื่องเหลือเชื่อแต่ถ้าไม่งมงายจนเกินไปเราก็สามารถปฏิบัติตามที่คนรุ่นเก่าเชื่อถือมาก็ได้ ไม่ได้เสียหายอะไร นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น การเดินไปข้างหน้าด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ สานต่อกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งที่พวกเราต้องทำไปพร้อมๆ กัน วันนี้สวัสดีครับ