สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้วครับ ผมเคยเล่าเกี่ยวกับปัญหาหนักใจของคนที่ทำงานบริษัทญี่ปุ่น เพราะอยากจะเปลี่ยนงานหรือย้ายงานไปทำที่บริษัทอื่นๆ โดยมีกรณีตัวอย่าง เช่น เคยมีโอกาสร่วมงานกับบริษัทคู่ค้าแล้วรู้สึกชอบสไตล์การทำงาน รู้สึกสนิทสนมกับเพื่อนจากบริษัทคู่ค้าที่ร่วมงานด้วย จึงอยากจะย้ายไปทำงานด้วย กรณีเด็กจบใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มทำงานได้ไม่ถึงอาทิตย์แต่ผิดหวังกับระบบของบริษัทจึงอดทนทำงานต่อไม่ได้ จะลาออกดีไหม และกรณีสาวที่อยากหาทางออกเพราะถูกกระทำ セクハラ Sexual harassment ทั้งหมดที่เคยยกตัวอย่างมานั้น จะแตกต่างจากวันนี้ เพราะว่ากรณีที่จะพูดในวันนี้เป็นเคสที่ถูกทาบทาม หรือโดนซื้อตัวจากบริษัทคู่แข่ง ควรจะทำอย่างไร ควรจะไปดีไหม หรือควรปรึกษาใคร วันนี้มีคำตอบครับ
สมมุตว่าเราได้มีโอกาสร่วมงานกับบริษัทคู่ค้าหรือบริษัทคู่แข่งก็ตาม แต่เราไม่ได้เสนอตัวเองว่าอยากย้ายงานเพื่อไปทำงานกับเขาเหมือนครั้งก่อนที่เคยเล่าไป ครั้งนี้เป็นการทาบทามมาจากบริษัทคู่ค้าเพื่อขอให้เราไปทำงานด้วย กรณีเช่นนี้ที่เมืองไทยอาจจะเป็นเรื่องปกติ และไม่มีปัญหาอะไร แต่กับบริษัทญี่ปุ่นที่ญี่ปุ่นแล้วอย่าดีใจไปนะครับ น่าอันตรายกับตัวเองมาก หมายถึงผลกระทบที่อาจเกิดตามมา

ก่อนอื่นพูดเรื่องการย้ายงานภายในบริษัทตนเอง เช่นย้ายจากฝ่ายจัดซื้อไปฝ่ายบุคคล ย้ายจากฝ่ายผลิตไปฝ่ายบัญชี เป็นต้น คือย้ายภายในบริษัทตนเอง กรณีเช่นนี้ถ้าไม่ใช่คำสั่งย้ายที่มีการจัดสรรมาจากฝ่ายบุคคล ก็ไม่ควรไปร้องขอที่จะย้ายไปฝ่ายนู้นฝ่ายนี้ด้วยตนเอง หรือแม้แต่มีหัวหน้างานจากฝ่ายอื่นมาชวนให้ไปร่วมงานด้วยก็ไม่ควรไป คือถ้ายังสามารถทำงานที่ฝ่ายเดิมของตัวได้อย่างลงตัว ก็ควรทำงานที่เดิมไปจนครบวาระ แม้ว่าจะรู้สึกสนิทสนมกับหัวหน้าจากฝ่ายอื่นมากๆ ถึงขนาดคุยเล่นคุยแซวกันได้ แกล้งอำกันได้ว่าอยากไปทำงานด้วย หรือพูดขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย อะไรก็แล้วแต่ ทว่าเรื่องที่จะย้ายไปทำงานด้วยเนี่ย ส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นไม่ค่อยคิดกันนัก เวลาพูดชวนกันไปทำงานก็มักคิดว่าพูดเล่นๆ ไม่ได้จริงจังเท่าไร เพราะเหตุผลหนึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้นคือ ถ้าเราทำงานได้อย่างราบรื่นและลงตัวที่ฝ่ายเดิมอยู่แล้ว อย่าไปทำที่อื่นเพราะฝ่ายที่เรียกเราไปทำงานแทนคนที่ย้ายออกไป หรือแทนตำแหน่งที่ว่างเนี่ยคิดหรือว่าจะเป็นงานสบาย ถ้าเกิดแรงกดดันหรือทำงานไม่ได้ครั้นจะเกิดปัญหาผิดใจกับคนที่เคยรู้สึกดีก็เป็นไปได้ การที่จะย้ายไปที่ฝ่ายใหม่โดยเราปฏิเสธไม่ได้คือเป็นคำสั่งโยกย้ายประจำปี หรือตามวาระที่ออกมาจากฝ่ายบุคคลเท่านั้นครับ
มีตัวอย่างเรื่องการถูกทาบทามตัวเพื่อไปทำงานที่อื่น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ามีคนอื่นมาทาบทามเราเองเนี่ย เราก็ไม่ผิดนัก เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกได้เลยว่า เรามีความสามารถเป็นที่เตะตา เราอาจจะเก่งและสามารถทำงานให้เขาได้ แต่ให้รู้ไว้เลยว่าแค่โดนชวนเท่านั้น ตัวเราเองก็อาจตกอยู่ในภาวะอันตรายได้ เพราะอาจเป็นกำดักก็ได้นะครับ ส่วนจะตัดสินใจย้ายหรือไม่ย้ายขึ้นอยู่กับสถานการณ์ครับ มีตัวอย่างอยู่ 3 เคส คือ

🎭กรณีที่เกิดขึ้นยากแต่ก็เคยมี : เรียกว่า “กับดัก” เพราะบริษัทใช้วิธีการนี้เพื่อหาทางให้เราลาออกจากบริษัทไปเอง ( บริษัทญี่ปุ่นปกติเลี้ยงพนักงานไปจนเกษียณ แต่บางครั้งประสบปัญหาเศรษฐกิจไม่อยากจ่ายเงินชดเชยจำนวนมากให้พนักงานออกจากงาน จึงหาวิธีทางอื่นที่ทำให้เป้าหมายลาออกไปเอง)
สถานการณ์: กรณีที่บริษัทหนึ่งต้องการจะให้พนักงานคนหนึ่งลาออกไปเอง อาจสร้างสถานการณ์ให้มีนายหน้ามาชักชวน เป้าหมายที่อยากให้ออก โดยแกล้งให้มีคนมาชวนไปทำงานด้วย แน่นอนถ้ามีข้อเสนอที่ดึงดูดใจมาก คนที่เป็นเป้าหมายเกิดความสนใจ และเล่าถึงความอึดอัดใจที่เกิดกับบริษัทเดิมที่ตนทำงาน หรืออาจจะพูดทางลบอะไรก็ตาม จากนั้นเมื่อถึงเวลานัดหมายให้ไปสัมภาษณ์ที่บริษัทใหม่ อาจจะเจอเซอร์ไพรส์โดยพบกับฝ่ายบุคคลของบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่ แค่นี้พนักงานที่มีจิตใจอ่อนแอก็กลัวมาก และอาจจะเป็นไปตามแผนคือ อายไม่กล้าสู้หน้าบริษัทและขอลาออกไปเอง หรือถ้าพนักงานเป้าหมายคนนั้นไม่ยอมออกก็จะถูกใช้เรื่องดังกล่าวนี้เป็นความกดดันที่ต่อไปอาจจะโดนกลั่นแกล้งอีกต่างๆ นานา ให้ต้องลาออกไปเองในภายหน้า
👨🏻กรณีที่ถูกชวนจาก Head hunter : กรณีที่ถูกทาบทามจากบริษัทอื่นๆ ให้ไปทำงานด้วย เพราะว่าความสามารถเราอาจจะเป็นที่เตะตาบริษัทคู่แข่ง กรณีเช่นนี้ถ้าคนญี่ปุ่นเองจะรู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปและควรไปหรือไม่ควรไป ผมมีตัวอย่างจากคนญี่ปุ่นที่ถูกทาบทามจาก Head hunter มาเล่าให้ฟังครับ
สถานการณ์: ครั้งหนึ่งผมเคยไปเที่ยวอียิปต์🐫 แล้วเจอนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นอีกคนหนึ่ง รู้สึกคุยกันถูกคอหลายๆ เรื่อง วันหนึ่งนั่งเรือไปดำน้ำด้วยกัน ก็มีเวลาคุยกันระหว่างที่นั่งเรือออกไปทะเล พี่เขาเป็นคนที่เก่งมากๆ มองอะไรขาดทะลุและเฉียบแหลมมาก แค่คุยด้วยผมยังเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมากมายจนเป็นหนึ่งในแรงกระตุ้นให้สามารถสอบเข้าทำงานเป็นข้าราชการได้ในเวลาต่อมา เขาเล่าว่าก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเป็นพนักงานขายที่บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะย้ายมาทำงานที่บริษัทสัญชาติสวีเดนที่ทำปัจจุบันนี้ เพราะว่ามีการทาบทามมาจากบริษัท Head hunter ติดต่อมายื่นข้อเสนอมากมาย วันที่ไปพบกับริษัท Head hunter นั้น นั่งสองคนกับผู้สัมภาษณ์ในห้องเล็กๆ เอง เขาแทบจะไม่ต้องพูดอะไร ข้อมูลต่างๆ ที่ Head hunter ถือมาบอกเป็นประวัติเขาอย่างละเอียดตั้งแต่เรียน , ทำงาน , ประวัติผลงานการทำยอดขาย ต่างๆ ตอนท้าย Head hunter บอกว่า มีบริษัทหนึ่งมีความสนใจ ต้องการเชิญเขาไปร่วมงานด้วย ด้วยข้อเสนอนู้นนี่นั่น เพื่อนผมก็ไตร่ตรองอยู่ว่าจะตกลงไปไหม แต่สรุปว่าเพื่อนผมคนนี้เขาย้ายงานครับ เพราะเคสนี้มี Head hunter จริง เชื่อถือได้ และเขาคงคิดดีแล้วว่าอนาคตน่าจะไปต่อได้ดีกว่าเดิม

ที่จริงผมก็ต้องขอบคุณเขามากๆ เลยทีเดียวเพราะเขาคือคนที่ชี้ทางให้ผม ตอนที่เจอกันนั้นผมยังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยวาเซดะ เขาเจอผมครั้งนั้นก็ว่าผมยกใหญ่เลยว่า เอ็งอยู่ปี 3 ไม่ใช่หรอทำไมไม่หางาน มาเที่ยวเล่นแบบนี้ทำไมกัน ตอนนั้นผมไม่สนใจจริงๆ ว่าคนญี่ปุ่นต้องขวนขวายหางานกันตอนเรียนปีที่ 3 ผมยังบอกเขาไปอีกว่า ผมเพิ่งปี 3 เองนะ ยังไม่จบเลย นั่นแหละจึงโดนเทศน์ซะยกใหญ่ แล้วเขาก็แนะนำว่า บริษัทเก่าที่เขาเคยทำงานก็ดีนะ ลองไปสมัครดูสิ เพราะมีทั้งคนเก่งมาก คนที่ไม่เก่งเอย คนที่หัวไม่ดีเอย ก็ยังอยู่กันได้ ไม่มีไล่ออก พอผมลองเซิร์ชรายละเอียดของบริษัทที่เขาแนะนำดู และส่งเมล์ไปนัดสัมภาษณ์ ก็ได้รับการตอบรับนัดสัมภาษณ์ให้มาเดือนพฤษภาคม (ปกติฤดูเริ่มงานใหม่นี่เดือนเมษายน)โดยมีข้อความว่า ลองมา challenge ดูหน่อยก็ได้ เมื่ออ่านดูแล้วให้ความรู้สึกว่า น่าจะไม่ได้งานแล้ว เลยล้มเลิกที่จะไปสัมภาษณ์ที่บริษัทดังกล่าว เพื่อนคนนี้ดูอาการผมแล้วบอกว่า คนที่ไม่กระตือรือร้นอย่างผมไปสอบเป็นข้าราชการน่าจะเหมาะกว่า นั่นเองเป็นที่มาของเส้นทางการสอบเข้าทำงานเป็นข้าราชการของผม
🐿กรณีที่ถูกทาบทามจากคนรู้จักจากบริษัทคู่ค้าหรือคู่แข่ง อาจจะเป็นเคสที่ทาบทามคนจากบริษัทใหญ่เพื่อมาร่วมงานกับบริษัทคู่ค้าที่เล็กกว่า แต่มีการยื่นข้อเสนอที่เท่าเทียมกันหรือดีกว่า
ก่อนอื่นเหตุการณ์เช่นนี้ ถ้าเป็นประเทศตะวันตกหรือประเทศไทยคงเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ญี่ปุ่นจะไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก โดยเฉพาะบริษัทที่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกัน จะไม่ย้ายงานไปบริษัทที่เป็นคู่แข่งกัน มีตัวอย่างหลาก
* ตัวอย่างสาวที่ฆ่าตัวตายบริษัทโฆษณา ย้อนกลับไปครั้งที่มีข่าวพนักงานสาวบริษัทเดนท์สุ บริษัทเอเจนซีโฆษณารายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ได้ฆ่าตัวตายเพราะถูกบังคับให้ทำงานหนัก โดยมีชั่วโมงทำโอทีเกิน 100 ชั่วโมงเกือบทุกเดือน จากทวิตข้อความก่อนที่เธอจะฆ่าตัวเองเขียนว่า “อยากจะตาย และคงมีความสุขถ้าทำได้” !! ที่จริงหลังจากที่เธอเรียนจบจากมหาวิทยาลัยก็เพิ่งเข้าทำงานได้เพียงปีเดียวเท่านั้น น่าเสียดายมากๆ ครับ ถ้าเธอไม่ได้ทำงานอยู่ในสังคมญี่ปุ่น อาจจะมีทางออกอื่นๆ เช่น ลาออกไปหางานใหม่ ยิ่งมีประสบการณ์จากบริษัทใหญ่ๆ มาก่อน ยิ่งมีอยากจะคนอ้าแขนรับเข้าทำงานใช่ไหม
*ตัวอย่างบริษัทรถยนต์ต่างประเทศ ที่ต่างประเทศเป็นเรื่องปกติถ้าบุคคลากรจากบริษัทหนึ่งจะย้ายงานไปทำที่บริษัทคู่แข่ง จากบริษัทธุรกิจรถยนต์ค่ายหนึ่ง แต่เมื่อย้ายไปอีกบริษัทในธุรกิจประเภทเดียวกันทำให้เขาอัพตำแหน่งขึ้นเป็นถึงผู้จัดการแผนก ก็เป็นเรื่องที่ทำกันทั่วไป ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นมาก เพราะการย้ายงานในลักษณะนี้หมายถึงการทรยศ เพราะยึดตามวิถีดั้งเดิมแบบชาวซามูไรที่จะจงรักภักดีและปฏิบัติตามกฏระเบียบแบบแผนที่ตั้งมา

ต่อไปเป็นตัวอย่างคำถามนะครับ
Q: มีสาวคนหนึ่งชื่อนางสาวแก้วน้ำ อายุ 26 ปี ทำงานเป็นล่ามภาษาญี่ปุ่นที่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง.. ดิฉันมีความอึดอัดใจเกี่ยวกับงานอยู่หนึ่งเรื่อง ปัจจุบันเป็นล่ามอยู่บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง มีหลายครั้งที่ต้องทำงานติดต่อประสานงานกับโรงงานของเมกเกอร์ที่ร่วมงานกับทางบริษัท มีทั้งเมกเกอร์ญี่ปุ่น จีน เกาหลี มีหลายครั้งที่เมกเกอร์ที่ร่วมงานด้วยเอ่ยปากชวนให้มาร่วมทำงานด้วย ทำให้ดิฉันอึดอัดใจมากไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไรและควรวางตัวอย่างไร แล้วที่เขาชวนนั้นไม่รู้คิดอะไร เรื่องจริงหรือพูดเล่น จากที่เคยทราบมาก็พอรู้ว่าถ้ามีการย้ายงานโดยเฉพาะจากบริษัทใหญ่ไปเป็นล่ามที่บริษัทที่เล็กกว่าน่าจะสามารถอัพเงินเดือนขึ้นเป็นเท่าตัว แต่ขัดแย้งกับระบบของบริษัทญี่ปุ่นที่จะไม่ทรยศองค์กร หรือพูดให้ดีหน่อยคือทำงานที่เดิมไปตลอด ไม่โยกย้ายงานไปที่ไหนโดยเฉพาะบริษัทคู่ค้าคู่แข่ง แบบนี้เลยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรค่ะ
A: มาดูคำตอบของคำถามข้อนี้ครับ
🕸 ความเสี่ยง:🕳🕳🕳🕳🕳
👺 ความลำบาก: 🕹🕹🕹

ก่อนอื่นมีคำที่เรียกคนญี่ปุ่น สไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมว่า 日本化 Japanize แต่คนญี่ปุ่นที่มาทำงานที่ต่างประเทศยกตัวอย่างประเทศไทยละกันนะครับ พวกเขาก็จะปรับตัวไปตามสังคมที่อยู่ เรียกว่า タイ化 Thaize คือปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยไปแล้ว ถ้าทำงานที่ญี่ปุ่นการเอ่ยปากชวนคนจากที่บริษัทอื่นมาร่วมงานด้วยคงจะเป็นไปไม่ได้ แต่ที่เมืองไทยการย้ายงานและทาบทามคนจากที่อื่นมาร่วมงานด้วยเป็นเรื่องปกติ คนญี่ปุ่นที่บริษัทเมกเกอร์จึงกล้าเอ่ยปากชวนคุณแก้วน้ำมาร่วมงานด้วย ซึ่งกรณีที่คุณแก้วน้ำได้รับการทาบทามให้ไปร่วมงานด้วยเนี่ย คุณแก้วน้ำไม่ผิดหรอกครับ ทำให้เห็นด้วยว่ามีคนเห็นว่าเรามีความสามารถ แต่การที่จะตัดสินใจทำอย่างไรต่อนั้นต้องคิดให้ถี่ถ้วน แต่ถ้ามองในเเง่ระบบของบริษัทแบบญี่ปุ่นแล้วคิดว่าไม่ควรย้ายไป เพราะถ้าเรามีความสามารถเราก็น่าจะหางานอื่นอีกได้ถ้าต้องการย้ายงานจริงๆ น่าจะย้ายไปที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับที่เดิม การที่จะย้ายจากบริษัทใหญ่ไปบริษัทเล็กอาจจะได้ค่าตอบแทนมากกว่าก็จริงแต่ควรพิจารณาเรื่องสวัสดิการและการทำงาน เพื่อนร่วมงาน ความสุขสบายใจของเราเป็นหลักด้วย
เรื่องการย้ายงาน การทาบทามตัวที่จริงก็มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยุคสมัยซามูไรก็ยึดถือระบบความจงรักภักดี การเชื่อฟังหัวหน้างานของตน ตัวอย่างเช่นสำนักซามูไรแห่งหนึ่ง เมื่อหัวหน้าใหญ่ ต้องการให้ผู้น้อยของฝ่ายหนึ่งมาร่วมงานด้วย จึงต้องขอไปที่หัวหน้าฝ่าย แต่ถ้าหัวหน้าฝ่ายปฏิเสธก็เอาลูกน้องในฝ่ายตนเองไปทำงานด้วยไม่ได้ ทุกคนก็ปฏิบัติแบบแผนเช่นนี้มาตลอด สืบทอดมาถึงระบบปัจจุบันด้วย
ดังนั้นถ้าได้รับการทาบทามให้ไปทำงานด้วย จะทำอย่างไรดี?!

วิธีที่ดีที่สุดคือปฏิเสธแบบขอบคุณ ขอรับไว้สำหรับน้ำใจและจบแค่นั้น (ありがたく)お気持ちだけ頂いておきます。(Arigataku) Okimochi dake itadaite okimasu. ไม่ต้องพูดต่อ คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดตามแบบญี่ปุ่น แต่ทว่า ถ้าเราสนิทกับหัวหน้างานของบริษัทที่เราทำมากพอสมควร อาจจะบอกหัวหน้าว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น มีบริษัทหนึ่งมาแอบชวนไปร่วมงานแต่เรารักบริษัทเรา อย่างไรก็ไม่ไป ขอทำงานที่เดิมไปตลอด เป็นต้นๆ อะไรก็ว่าไปด้วยความจริงใจ กรณีที่บอกหัวหน้าเราแบบนี้อาจจะมีข้อดีที่ทำให้หัวหน้าเชื่อมั่นว่าเราจะทำงานกับเขาตลอด แต่อาจจะต้องรับความเสี่ยงกรณีผลลัพธ์อาจไม่เป็นไปอย่างที่เราคิด
วันนี้คงยกตัวอย่างเท่านี้ก่อน นี่ก็เหลือเวลาอีกไม่กี่ก็จะก้าวเข้าสู่ปีใหม่กันแล้วนะครับ ปีนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง ทางผมเองก็อยากขอแสดงความขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่เข้ามาอ่าน MGRonline คอลัมน์ Maruouchi Cafe และให้คำแนะนำมากมายที่ผมจะนำไปทบทวนและสร้างสรรค์ผลงานให้ดีขึ้นๆ ต่อไปครับ โอกาสนี้ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง และเป็นเพื่อนอ่านคอลัมน์กันนานๆ นะครับ วันนี้สวัสดีครับ 皆様、良いお年をお迎え下さい。
สมมุตว่าเราได้มีโอกาสร่วมงานกับบริษัทคู่ค้าหรือบริษัทคู่แข่งก็ตาม แต่เราไม่ได้เสนอตัวเองว่าอยากย้ายงานเพื่อไปทำงานกับเขาเหมือนครั้งก่อนที่เคยเล่าไป ครั้งนี้เป็นการทาบทามมาจากบริษัทคู่ค้าเพื่อขอให้เราไปทำงานด้วย กรณีเช่นนี้ที่เมืองไทยอาจจะเป็นเรื่องปกติ และไม่มีปัญหาอะไร แต่กับบริษัทญี่ปุ่นที่ญี่ปุ่นแล้วอย่าดีใจไปนะครับ น่าอันตรายกับตัวเองมาก หมายถึงผลกระทบที่อาจเกิดตามมา
ก่อนอื่นพูดเรื่องการย้ายงานภายในบริษัทตนเอง เช่นย้ายจากฝ่ายจัดซื้อไปฝ่ายบุคคล ย้ายจากฝ่ายผลิตไปฝ่ายบัญชี เป็นต้น คือย้ายภายในบริษัทตนเอง กรณีเช่นนี้ถ้าไม่ใช่คำสั่งย้ายที่มีการจัดสรรมาจากฝ่ายบุคคล ก็ไม่ควรไปร้องขอที่จะย้ายไปฝ่ายนู้นฝ่ายนี้ด้วยตนเอง หรือแม้แต่มีหัวหน้างานจากฝ่ายอื่นมาชวนให้ไปร่วมงานด้วยก็ไม่ควรไป คือถ้ายังสามารถทำงานที่ฝ่ายเดิมของตัวได้อย่างลงตัว ก็ควรทำงานที่เดิมไปจนครบวาระ แม้ว่าจะรู้สึกสนิทสนมกับหัวหน้าจากฝ่ายอื่นมากๆ ถึงขนาดคุยเล่นคุยแซวกันได้ แกล้งอำกันได้ว่าอยากไปทำงานด้วย หรือพูดขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย อะไรก็แล้วแต่ ทว่าเรื่องที่จะย้ายไปทำงานด้วยเนี่ย ส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นไม่ค่อยคิดกันนัก เวลาพูดชวนกันไปทำงานก็มักคิดว่าพูดเล่นๆ ไม่ได้จริงจังเท่าไร เพราะเหตุผลหนึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้นคือ ถ้าเราทำงานได้อย่างราบรื่นและลงตัวที่ฝ่ายเดิมอยู่แล้ว อย่าไปทำที่อื่นเพราะฝ่ายที่เรียกเราไปทำงานแทนคนที่ย้ายออกไป หรือแทนตำแหน่งที่ว่างเนี่ยคิดหรือว่าจะเป็นงานสบาย ถ้าเกิดแรงกดดันหรือทำงานไม่ได้ครั้นจะเกิดปัญหาผิดใจกับคนที่เคยรู้สึกดีก็เป็นไปได้ การที่จะย้ายไปที่ฝ่ายใหม่โดยเราปฏิเสธไม่ได้คือเป็นคำสั่งโยกย้ายประจำปี หรือตามวาระที่ออกมาจากฝ่ายบุคคลเท่านั้นครับ
มีตัวอย่างเรื่องการถูกทาบทามตัวเพื่อไปทำงานที่อื่น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ามีคนอื่นมาทาบทามเราเองเนี่ย เราก็ไม่ผิดนัก เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกได้เลยว่า เรามีความสามารถเป็นที่เตะตา เราอาจจะเก่งและสามารถทำงานให้เขาได้ แต่ให้รู้ไว้เลยว่าแค่โดนชวนเท่านั้น ตัวเราเองก็อาจตกอยู่ในภาวะอันตรายได้ เพราะอาจเป็นกำดักก็ได้นะครับ ส่วนจะตัดสินใจย้ายหรือไม่ย้ายขึ้นอยู่กับสถานการณ์ครับ มีตัวอย่างอยู่ 3 เคส คือ
🎭กรณีที่เกิดขึ้นยากแต่ก็เคยมี : เรียกว่า “กับดัก” เพราะบริษัทใช้วิธีการนี้เพื่อหาทางให้เราลาออกจากบริษัทไปเอง ( บริษัทญี่ปุ่นปกติเลี้ยงพนักงานไปจนเกษียณ แต่บางครั้งประสบปัญหาเศรษฐกิจไม่อยากจ่ายเงินชดเชยจำนวนมากให้พนักงานออกจากงาน จึงหาวิธีทางอื่นที่ทำให้เป้าหมายลาออกไปเอง)
สถานการณ์: กรณีที่บริษัทหนึ่งต้องการจะให้พนักงานคนหนึ่งลาออกไปเอง อาจสร้างสถานการณ์ให้มีนายหน้ามาชักชวน เป้าหมายที่อยากให้ออก โดยแกล้งให้มีคนมาชวนไปทำงานด้วย แน่นอนถ้ามีข้อเสนอที่ดึงดูดใจมาก คนที่เป็นเป้าหมายเกิดความสนใจ และเล่าถึงความอึดอัดใจที่เกิดกับบริษัทเดิมที่ตนทำงาน หรืออาจจะพูดทางลบอะไรก็ตาม จากนั้นเมื่อถึงเวลานัดหมายให้ไปสัมภาษณ์ที่บริษัทใหม่ อาจจะเจอเซอร์ไพรส์โดยพบกับฝ่ายบุคคลของบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่ แค่นี้พนักงานที่มีจิตใจอ่อนแอก็กลัวมาก และอาจจะเป็นไปตามแผนคือ อายไม่กล้าสู้หน้าบริษัทและขอลาออกไปเอง หรือถ้าพนักงานเป้าหมายคนนั้นไม่ยอมออกก็จะถูกใช้เรื่องดังกล่าวนี้เป็นความกดดันที่ต่อไปอาจจะโดนกลั่นแกล้งอีกต่างๆ นานา ให้ต้องลาออกไปเองในภายหน้า
👨🏻กรณีที่ถูกชวนจาก Head hunter : กรณีที่ถูกทาบทามจากบริษัทอื่นๆ ให้ไปทำงานด้วย เพราะว่าความสามารถเราอาจจะเป็นที่เตะตาบริษัทคู่แข่ง กรณีเช่นนี้ถ้าคนญี่ปุ่นเองจะรู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปและควรไปหรือไม่ควรไป ผมมีตัวอย่างจากคนญี่ปุ่นที่ถูกทาบทามจาก Head hunter มาเล่าให้ฟังครับ
สถานการณ์: ครั้งหนึ่งผมเคยไปเที่ยวอียิปต์🐫 แล้วเจอนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นอีกคนหนึ่ง รู้สึกคุยกันถูกคอหลายๆ เรื่อง วันหนึ่งนั่งเรือไปดำน้ำด้วยกัน ก็มีเวลาคุยกันระหว่างที่นั่งเรือออกไปทะเล พี่เขาเป็นคนที่เก่งมากๆ มองอะไรขาดทะลุและเฉียบแหลมมาก แค่คุยด้วยผมยังเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมากมายจนเป็นหนึ่งในแรงกระตุ้นให้สามารถสอบเข้าทำงานเป็นข้าราชการได้ในเวลาต่อมา เขาเล่าว่าก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเป็นพนักงานขายที่บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะย้ายมาทำงานที่บริษัทสัญชาติสวีเดนที่ทำปัจจุบันนี้ เพราะว่ามีการทาบทามมาจากบริษัท Head hunter ติดต่อมายื่นข้อเสนอมากมาย วันที่ไปพบกับริษัท Head hunter นั้น นั่งสองคนกับผู้สัมภาษณ์ในห้องเล็กๆ เอง เขาแทบจะไม่ต้องพูดอะไร ข้อมูลต่างๆ ที่ Head hunter ถือมาบอกเป็นประวัติเขาอย่างละเอียดตั้งแต่เรียน , ทำงาน , ประวัติผลงานการทำยอดขาย ต่างๆ ตอนท้าย Head hunter บอกว่า มีบริษัทหนึ่งมีความสนใจ ต้องการเชิญเขาไปร่วมงานด้วย ด้วยข้อเสนอนู้นนี่นั่น เพื่อนผมก็ไตร่ตรองอยู่ว่าจะตกลงไปไหม แต่สรุปว่าเพื่อนผมคนนี้เขาย้ายงานครับ เพราะเคสนี้มี Head hunter จริง เชื่อถือได้ และเขาคงคิดดีแล้วว่าอนาคตน่าจะไปต่อได้ดีกว่าเดิม
ที่จริงผมก็ต้องขอบคุณเขามากๆ เลยทีเดียวเพราะเขาคือคนที่ชี้ทางให้ผม ตอนที่เจอกันนั้นผมยังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยวาเซดะ เขาเจอผมครั้งนั้นก็ว่าผมยกใหญ่เลยว่า เอ็งอยู่ปี 3 ไม่ใช่หรอทำไมไม่หางาน มาเที่ยวเล่นแบบนี้ทำไมกัน ตอนนั้นผมไม่สนใจจริงๆ ว่าคนญี่ปุ่นต้องขวนขวายหางานกันตอนเรียนปีที่ 3 ผมยังบอกเขาไปอีกว่า ผมเพิ่งปี 3 เองนะ ยังไม่จบเลย นั่นแหละจึงโดนเทศน์ซะยกใหญ่ แล้วเขาก็แนะนำว่า บริษัทเก่าที่เขาเคยทำงานก็ดีนะ ลองไปสมัครดูสิ เพราะมีทั้งคนเก่งมาก คนที่ไม่เก่งเอย คนที่หัวไม่ดีเอย ก็ยังอยู่กันได้ ไม่มีไล่ออก พอผมลองเซิร์ชรายละเอียดของบริษัทที่เขาแนะนำดู และส่งเมล์ไปนัดสัมภาษณ์ ก็ได้รับการตอบรับนัดสัมภาษณ์ให้มาเดือนพฤษภาคม (ปกติฤดูเริ่มงานใหม่นี่เดือนเมษายน)โดยมีข้อความว่า ลองมา challenge ดูหน่อยก็ได้ เมื่ออ่านดูแล้วให้ความรู้สึกว่า น่าจะไม่ได้งานแล้ว เลยล้มเลิกที่จะไปสัมภาษณ์ที่บริษัทดังกล่าว เพื่อนคนนี้ดูอาการผมแล้วบอกว่า คนที่ไม่กระตือรือร้นอย่างผมไปสอบเป็นข้าราชการน่าจะเหมาะกว่า นั่นเองเป็นที่มาของเส้นทางการสอบเข้าทำงานเป็นข้าราชการของผม
🐿กรณีที่ถูกทาบทามจากคนรู้จักจากบริษัทคู่ค้าหรือคู่แข่ง อาจจะเป็นเคสที่ทาบทามคนจากบริษัทใหญ่เพื่อมาร่วมงานกับบริษัทคู่ค้าที่เล็กกว่า แต่มีการยื่นข้อเสนอที่เท่าเทียมกันหรือดีกว่า
ก่อนอื่นเหตุการณ์เช่นนี้ ถ้าเป็นประเทศตะวันตกหรือประเทศไทยคงเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ญี่ปุ่นจะไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก โดยเฉพาะบริษัทที่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกัน จะไม่ย้ายงานไปบริษัทที่เป็นคู่แข่งกัน มีตัวอย่างหลาก
* ตัวอย่างสาวที่ฆ่าตัวตายบริษัทโฆษณา ย้อนกลับไปครั้งที่มีข่าวพนักงานสาวบริษัทเดนท์สุ บริษัทเอเจนซีโฆษณารายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ได้ฆ่าตัวตายเพราะถูกบังคับให้ทำงานหนัก โดยมีชั่วโมงทำโอทีเกิน 100 ชั่วโมงเกือบทุกเดือน จากทวิตข้อความก่อนที่เธอจะฆ่าตัวเองเขียนว่า “อยากจะตาย และคงมีความสุขถ้าทำได้” !! ที่จริงหลังจากที่เธอเรียนจบจากมหาวิทยาลัยก็เพิ่งเข้าทำงานได้เพียงปีเดียวเท่านั้น น่าเสียดายมากๆ ครับ ถ้าเธอไม่ได้ทำงานอยู่ในสังคมญี่ปุ่น อาจจะมีทางออกอื่นๆ เช่น ลาออกไปหางานใหม่ ยิ่งมีประสบการณ์จากบริษัทใหญ่ๆ มาก่อน ยิ่งมีอยากจะคนอ้าแขนรับเข้าทำงานใช่ไหม
*ตัวอย่างบริษัทรถยนต์ต่างประเทศ ที่ต่างประเทศเป็นเรื่องปกติถ้าบุคคลากรจากบริษัทหนึ่งจะย้ายงานไปทำที่บริษัทคู่แข่ง จากบริษัทธุรกิจรถยนต์ค่ายหนึ่ง แต่เมื่อย้ายไปอีกบริษัทในธุรกิจประเภทเดียวกันทำให้เขาอัพตำแหน่งขึ้นเป็นถึงผู้จัดการแผนก ก็เป็นเรื่องที่ทำกันทั่วไป ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นมาก เพราะการย้ายงานในลักษณะนี้หมายถึงการทรยศ เพราะยึดตามวิถีดั้งเดิมแบบชาวซามูไรที่จะจงรักภักดีและปฏิบัติตามกฏระเบียบแบบแผนที่ตั้งมา
ต่อไปเป็นตัวอย่างคำถามนะครับ
Q: มีสาวคนหนึ่งชื่อนางสาวแก้วน้ำ อายุ 26 ปี ทำงานเป็นล่ามภาษาญี่ปุ่นที่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง.. ดิฉันมีความอึดอัดใจเกี่ยวกับงานอยู่หนึ่งเรื่อง ปัจจุบันเป็นล่ามอยู่บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง มีหลายครั้งที่ต้องทำงานติดต่อประสานงานกับโรงงานของเมกเกอร์ที่ร่วมงานกับทางบริษัท มีทั้งเมกเกอร์ญี่ปุ่น จีน เกาหลี มีหลายครั้งที่เมกเกอร์ที่ร่วมงานด้วยเอ่ยปากชวนให้มาร่วมทำงานด้วย ทำให้ดิฉันอึดอัดใจมากไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไรและควรวางตัวอย่างไร แล้วที่เขาชวนนั้นไม่รู้คิดอะไร เรื่องจริงหรือพูดเล่น จากที่เคยทราบมาก็พอรู้ว่าถ้ามีการย้ายงานโดยเฉพาะจากบริษัทใหญ่ไปเป็นล่ามที่บริษัทที่เล็กกว่าน่าจะสามารถอัพเงินเดือนขึ้นเป็นเท่าตัว แต่ขัดแย้งกับระบบของบริษัทญี่ปุ่นที่จะไม่ทรยศองค์กร หรือพูดให้ดีหน่อยคือทำงานที่เดิมไปตลอด ไม่โยกย้ายงานไปที่ไหนโดยเฉพาะบริษัทคู่ค้าคู่แข่ง แบบนี้เลยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรค่ะ
A: มาดูคำตอบของคำถามข้อนี้ครับ
🕸 ความเสี่ยง:🕳🕳🕳🕳🕳
👺 ความลำบาก: 🕹🕹🕹
ก่อนอื่นมีคำที่เรียกคนญี่ปุ่น สไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมว่า 日本化 Japanize แต่คนญี่ปุ่นที่มาทำงานที่ต่างประเทศยกตัวอย่างประเทศไทยละกันนะครับ พวกเขาก็จะปรับตัวไปตามสังคมที่อยู่ เรียกว่า タイ化 Thaize คือปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยไปแล้ว ถ้าทำงานที่ญี่ปุ่นการเอ่ยปากชวนคนจากที่บริษัทอื่นมาร่วมงานด้วยคงจะเป็นไปไม่ได้ แต่ที่เมืองไทยการย้ายงานและทาบทามคนจากที่อื่นมาร่วมงานด้วยเป็นเรื่องปกติ คนญี่ปุ่นที่บริษัทเมกเกอร์จึงกล้าเอ่ยปากชวนคุณแก้วน้ำมาร่วมงานด้วย ซึ่งกรณีที่คุณแก้วน้ำได้รับการทาบทามให้ไปร่วมงานด้วยเนี่ย คุณแก้วน้ำไม่ผิดหรอกครับ ทำให้เห็นด้วยว่ามีคนเห็นว่าเรามีความสามารถ แต่การที่จะตัดสินใจทำอย่างไรต่อนั้นต้องคิดให้ถี่ถ้วน แต่ถ้ามองในเเง่ระบบของบริษัทแบบญี่ปุ่นแล้วคิดว่าไม่ควรย้ายไป เพราะถ้าเรามีความสามารถเราก็น่าจะหางานอื่นอีกได้ถ้าต้องการย้ายงานจริงๆ น่าจะย้ายไปที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับที่เดิม การที่จะย้ายจากบริษัทใหญ่ไปบริษัทเล็กอาจจะได้ค่าตอบแทนมากกว่าก็จริงแต่ควรพิจารณาเรื่องสวัสดิการและการทำงาน เพื่อนร่วมงาน ความสุขสบายใจของเราเป็นหลักด้วย
เรื่องการย้ายงาน การทาบทามตัวที่จริงก็มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยุคสมัยซามูไรก็ยึดถือระบบความจงรักภักดี การเชื่อฟังหัวหน้างานของตน ตัวอย่างเช่นสำนักซามูไรแห่งหนึ่ง เมื่อหัวหน้าใหญ่ ต้องการให้ผู้น้อยของฝ่ายหนึ่งมาร่วมงานด้วย จึงต้องขอไปที่หัวหน้าฝ่าย แต่ถ้าหัวหน้าฝ่ายปฏิเสธก็เอาลูกน้องในฝ่ายตนเองไปทำงานด้วยไม่ได้ ทุกคนก็ปฏิบัติแบบแผนเช่นนี้มาตลอด สืบทอดมาถึงระบบปัจจุบันด้วย
ดังนั้นถ้าได้รับการทาบทามให้ไปทำงานด้วย จะทำอย่างไรดี?!
วิธีที่ดีที่สุดคือปฏิเสธแบบขอบคุณ ขอรับไว้สำหรับน้ำใจและจบแค่นั้น (ありがたく)お気持ちだけ頂いておきます。(Arigataku) Okimochi dake itadaite okimasu. ไม่ต้องพูดต่อ คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดตามแบบญี่ปุ่น แต่ทว่า ถ้าเราสนิทกับหัวหน้างานของบริษัทที่เราทำมากพอสมควร อาจจะบอกหัวหน้าว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น มีบริษัทหนึ่งมาแอบชวนไปร่วมงานแต่เรารักบริษัทเรา อย่างไรก็ไม่ไป ขอทำงานที่เดิมไปตลอด เป็นต้นๆ อะไรก็ว่าไปด้วยความจริงใจ กรณีที่บอกหัวหน้าเราแบบนี้อาจจะมีข้อดีที่ทำให้หัวหน้าเชื่อมั่นว่าเราจะทำงานกับเขาตลอด แต่อาจจะต้องรับความเสี่ยงกรณีผลลัพธ์อาจไม่เป็นไปอย่างที่เราคิด
วันนี้คงยกตัวอย่างเท่านี้ก่อน นี่ก็เหลือเวลาอีกไม่กี่ก็จะก้าวเข้าสู่ปีใหม่กันแล้วนะครับ ปีนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง ทางผมเองก็อยากขอแสดงความขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่เข้ามาอ่าน MGRonline คอลัมน์ Maruouchi Cafe และให้คำแนะนำมากมายที่ผมจะนำไปทบทวนและสร้างสรรค์ผลงานให้ดีขึ้นๆ ต่อไปครับ โอกาสนี้ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง และเป็นเพื่อนอ่านคอลัมน์กันนานๆ นะครับ วันนี้สวัสดีครับ 皆様、良いお年をお迎え下さい。