xs
xsm
sm
md
lg

ทำงานบริษัทญี่ปุ่นได้ 2 อาทิตย์ เจอขนาดนี้จะทนต่อไหม..

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้วครับ วันนี้คิดว่าจะพูดเรื่องปัญหาหนักอกหนักใจของคนทำงานในหลายๆ ประเด็นตัวอย่าง (เทียบกับภาพประกอบตามอริยาบทของหมีแพนด้า ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ครับเพราะน่ารักน่าชังมากๆ 若い日本語人材の為の転職関係 feat.Panda🐼 ) เรื่องที่จะเล่าก็จะเกี่ยวกับการเปลี่ยนงานของคนรุ่นใหม่ คำถามคำตอบประเด็นที่เกี่ยวกับการทำงานครับ

ปัจจุบันมีคนไทยที่รู้ภาษาญี่ปุ่นจำนวนมาก ผมรู้สึกชื่มชมนักเรียนและคนที่ตั้งใจเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นมากๆ ครับไม่ว่าจะเรียนที่ไทยหรือเรียนที่ญี่ปุ่นก็ตาม เพราะคิดว่าภาษาญี่ปุ่นยากนะครับ แต่อาจจะยากน้อยกว่าภาษาไทยหน่อยนึง (ФωФ)

ส่วนคนญี่ปุ่นที่เลือกเรียนภาษาไทยตามหลักสูตรที่มีสอนในมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น ปีหนึ่งๆ มีคนที่สามารถเรียนจบมหาวิทยาลัยรัฐบาลไม่ถึง 20 คน ได้มั้งครับ บุคคลากรพวกนี้จึงมีจำนวนไม่มาก เมื่อจะไปสมัครงานที่เกี่ยวกับภาษาไทยจึงมีน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคนไทยที่รู้ภาษาญี่ปุ่นซึ่งปีหนึ่งๆ มีจำนวนมากกว่า และมีโอกาสมากกว่า

ดังนั้นคนไทยที่รู้ภาษาญี่ปุ่น และทำงานที่ญี่ปุ่นจึงมีจำนวนมาก ทำงานที่บริษัทญี่ปุ่น ระบบระเบียบแบบญี่ปุ่น เขาจะมีปัญหาความหนักอกหนักใจเรื่องอะไรกันบ้าง จะนำกรณีตัวอย่างมาพูดในวันนี้ครับ และเรื่องการย้ายงาน การลาออกจากงานของคนญี่ปุ่น จากประสบการณ์ที่ผมลาออกจากงานช่วงอายุสามสิบต้นๆ ก็พอเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับคนอายุระดับนี้ได้บ้างครับว่ามีแรงจูงใจอย่างไร

ตัวอย่างกรณีคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นแล้วสมัครเข้าทำงานที่บริษัทญี่ปุ่นนะครับ มีความกลุ้มใจเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนงาน

Q: นายไก่ป๊อบ 🐔( นามสมมุติ ) ชายหนุ่มอายุ 25 ปี

สวัสดีครับ ผมมีคำถามว่า ตอนนี้ผมทำงานที่บริษัท A แต่มีโอกาสได้ร่วมงานกับทีมงานจากบริษัท B แล้วสนิทสนมกันดี รู้สึกเข้ากันได้มากๆ คิดว่าทีมงานจากบริษัท B เป็นคนดีมากด้วย อยากปรึกษาว่าถ้าผมอยากย้ายไปทำงานกับบริษัท B ผมควรปรึกษาเรื่องเหล่านี้กับใครดี ระหว่าง

* หัวหน้าทีมงานบริษัท B คนที่ผมรู้สึกว่าเป็นคนดีและเข้ากันได้🕴
* ฝ่ายบุคคลของบริษัท B🏢
* หัวหน้าของผมที่บริษัท A👴🏽

A: มาดูคำตอบของคำถามข้อนี้ครับ
🕸ความเสี่ยง:🕳🕳🕳
👺ความลำบาก: 🕹

มีหลายกรณี หลากหลายเรื่องราวที่คนญี่ปุ่นและคนไทยมีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องที่ลำบากใจ เรื่องกลุ้มใจต่างกัน ในกรณีที่คุณไก่ป๊อปสอบถามมาว่าจะปรึกษาใครดี เป็นปัญหาเกี่ยวกับการย้ายงานนะครับผม ตกลงว่าเรื่องนี้ไม่ควรปรึกษาใคร ๆ เลย เพราะอะไร เพราะบริษัททั้งสองเป็นคู่ค้ากัน เหมือนกับการย้ายงานไปอีกบริษัทหนึ่งที่เป็นคู่แข่งเลยทีเดียว แถมไม่ได้เกิดจากการทาบทามที่มาจากบริษัท B แต่เกิดจากตัวเองต้องการย้ายเอง เรื่องเช่นนี้ตามมารยาทการทำงานบริษัทญี่ปุ่นปกติเป็นข้อห้ามอยู่แล้ว คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่คิดเรื่องเช่นนี้ แต่คุณไก่ป๊อปอาจจะมองเรื่องการย้ายงานในมุมมองของคนไทยอยู่บ้าง จึงสอบถามมาเช่นนี้

ถ้าคุณไก่ป๊อปไปสอบถามบุคคลเหล่านี้จะเป็นอย่างไรบ้าง

* หัวหน้าทีมงานบริษัท B คนที่ผมรู้สึกว่าเป็นคนดีและเข้ากันได้ : เป็นการรบกวนคนรับฟังมาก อันที่จริงแล้วคนที่อยู่คนละบริษัทและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า อาจจะทำเพราะเนื่องมาจากหน้าที่การงาน และความรับผิดชอบต่อจุดงานที่ตัวเองต้องทำ ไม่ได้รู้สึกว่าต้องชักพาเรามาทำงานที่เดียวกันก็ได้ เขาอาจตกใจสิ่งที่เราคิดว่าอยากมาทำงานด้วย และความสัมพันธ์อาจจะไม่เหมือนเดิม

* ฝ่ายบุคคลของบริษัท B : กรณีที่จะปรึกษาบุคคลนี้ยิ่งไม่ได้เข้าไปอีก เพราะอะไร สมมุติว่าโปรเจ็คที่ทางบริษัท B คู่ค้ามีงบประมาณหนึ่ง อาจจะเป็นงบที่สูงเป็นสิบล้านหรือร้อยล้านก็ตาม ถ้าเสร็จงานหรือจบโปรเจ็คความสัมพันธ์ที่เคยบอกว่าดีและเข้ากันได้อาจจะจบลงไปด้วยก็ได้ และเรื่องการย้ายงานนั้น ถ้าเป็นการสมัครงานตามระบบของบริษัท หรือเป็นคนที่ไม่ได้มาจากบริษัทคู่ค้าหรือคู่แข่งน่าจะดีกว่าการดึงคนหรือคนจากบริษัทคู่ค้าคู่แข่งมาขอเข้าทำงานกับบริษัทที่เป็นคู่ค้ากัน หรือถ้าคุณไก่ป๊อปอยากทำงานที่บริษัท B จริงๆ อาจจะลาออกจากบริษัท A ก่อนแล้วเว้นระยะไปสัก 3-4 เดือนแล้วสมัครงานที่บริษัท B ตามระบบแต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะได้งาน แล้วถ้าคนที่เคยรู้จักกันว่าคุณไก่ป๊อปเคยทำงานที่บริษัทที่ A ก็จะพูดต่อๆ กันว่าคุณไก่ป๊อปมาจากบริษัท A นี่

* หัวหน้าของผมที่บริษัท A: แค่คิดก็ผิดแล้ว ..แม้จะพอเข้าใจว่าคนไทยอาจจะมีแนวคิดเรื่องการทำงานและการย้ายงานต่างจากคนญี่ปุ่น ถ้าคนญี่ปุ่นเรื่องย้ายงานนี่จะไม่คิดกันนัก ยกเว้นถ้าจะลาออกไปเลยหัวหน้าก็อาจจะอวยพรให้บ้าง พูดให้พยายามเข้านะ หรือให้คำพูดดีๆ บ้าง แต่ถ้าบอกจะย้ายงานหรือยิ่งรู้ว่าจะไปบริษัทคู่แข่งนี่หัวหน้าคงโกรธมากๆ ครับ แถมถ้าเจอหัวหน้าที่เป็นคนญี่ปุ่นประเภทนักเลง ดุดัน 武闘派 Butou-ha พอฟังปุ๊ปคงโดนกาแฟ☕️สาดใส่หน้า หรือไม่ก็กองกระดาษ📋ข้างโต๊ะ หรือถึงขั้นชกหน้าเลยทีเดียว เพราะอาจถูกมองว่าทรยศ แล้วอย่างที่บอกว่าแค่คิดก็ผิด ยิ่งกล้าพูดออกมานี่เป็นเรื่องเลยทีเดียว ถูกทำลายความไว้วางใจอย่างมากเลยทีเดียวละครับ

คำถามข้อต่อไป

Q: นางสาวฟ้าใส🌈 ( นามสมมุติ ) สาวน้อยอายุ 22 ปี เพิ่งเรียนจบใหม่ๆ

มีความหนักใจ เพราะเพิ่งเข้าทำงานใหม่ได้ 2 อาทิตย์ แต่สิ่งที่คิดกับความเป็นจริงในองค์กรช่างต่างกันราวฟ้ากับเหว เพราะต้องทำงานหนัก ทำงานนอกเวลาเยอะเกินไป ที่จริงช่วงเวลาทำงานจริงคือ 08:00- 17:00 น. แต่ห้าโมงก็ยังไม่มีใครลุกกลับบ้าน ถ้าไม่อยู่ทำโอทีต่อรู้สึกว่าหัวหน้าจะมองตึงๆ หลายทีทำให้รู้ว่าถ้าไม่อยู่ทำงานนอกเวลาหัวหน้าจะไม่ค่อยพอใจนัก แล้วยังมีปาร์ตี้ไปสังสรรค์กินอาหารกันเกือบทุกเย็น กว่าจะเลิกก็ดึกดื่น ฟ้าใสทำหน้าที่เป็นล่ามแต่ไม่จบแค่เวลางานเท่านั้น ช่วงที่ไปกินอาหารกับกลุ่มคนในองค์กรก็ต้องช่วยล่ามให้อีก จึงอยากถามว่าควรจะทำอย่างไรดี จะอดทนหรือลาออกดี

A: มาดูคำตอบของคำถามข้อนี้ครับ

ถ้าให้พูดตามหลักกฏหมายทำงาน คุณฟ้าใสก็ไม่ผิดนะครับ ได้ทำงานตามเวลาที่ตกลงกันครบแล้วถ้าจะกลับก็ไม่ผิดเพียงแต่ความเป็นจริงมันตรงข้ามกับระบบของบริษัทญี่ปุ่น

ปกติบริษัทญี่ปุ่นถ้าลองแบ่งตามลักษณะสวัสดิการของบริษัท จะแบ่งได้ 2 แบบคือ
♢ホワイト企業 White kigyō เป็นบริษัทที่มีสวัสดิการดี ใครๆ ก็อยากเข้าไปทำงาน
♦ブラック企業 Black kigyō เป็นบริษัทที่มีสวัสดิการไม่ค่อยดีนัก ใช้งานโหด งานหนัก ทำงานนอกเวลาแบบทำฟรี หลายๆ อย่าง ดีไม่ดีทำๆ ไปโดนไล่ออกจากงานก็มี

White kigyō เป็นบริษัทที่มีสวัสดิการดีก็จริง โบนัสอาจจะหลายเดือนแต่ฐานเงินเดือนจะไม่ค่อยสูงนัก บางช่วงอาจมีการทำงานนอกเวลามาก บางกรณีทำงานนอกเวลาแต่มีข้อแม้ว่าจะเขียนเป็นเวลาโอทีได้ต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง บางคนจึงทำงานนอกเวลากันไปโดยไม่ได้เขียนเบิกค่านอกเวลา ลักษณะนี้เรียกว่า การทำงานนอกเวลาแบบเซอร์วิส คือทำให้ฟรี บางครั้งทุกคนก็ปฏิบัติเช่นนี้กันจนเสมือนเป็นเรื่องปกติในชีวิตการทำงานไปแล้ว

ระบบเช่นที่กล่าวไปคงมีผลทำให้คนไทยที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นเกิดความไม่พอในอยู่ 2 เรื่องหลักๆ คือ

* รู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่ผูกมัดให้ทำงานมากเกินไป เกินกว่า 8 ชั่วโมงตามข้อสัญญา นอกจากนี้ถ้าหัวหน้ายังไม่กลับก็กลับก่อนไม่ได้
* มีระบบที่นอกเหนือจากที่คาดคิดมากเกินไป เช่น ต้องไปกินเลี้ยงปาร์ตี้เกือบทุกวัน หรือพวกหัวหน้าต้องไปตีกอล์ฟทุกวันหยุด หรือระบบอื่นๆ อีกมากมายที่ตอบไม่ได้เหมือนกันว่าต้องทำไปเพื่ออะไร

เรื่องเด็กจบใหม่มาทำงานเพื่อหาประสบการณ์แล้วไปต่อยอดบริษัทอื่นมีอยู่มากที่บริษัทญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ มีคนต่างชาติหลายคนที่มักจะสมัครเข้ามาทำงานที่บริษัทญี่ปุ่น เพราะบริษัทญี่ปุ่นนิยมรับเด็กจบใหม่และเปิดโอกาสในเรียนรู้มาก ทำงานไปสัก 2-3 ปีจนมีประสบการณ์แล้วก็ลาออกไปสมัครงานบริษัทฝรั่งที่ต้องการคนที่เคยมีประสบการณ์

ที่ญี่ปุ่นมีคำพูดว่า "อาจจะต้องลำบากมากช่วงที่ยกก้อนหินไว้ แต่จะเริ่มรู้สึกสบายขึ้นเหมือนอยู่เหนือหินก้อนนั้นก็เมื่อผ่านไปสักสามปีแล้ว " 石の上にも三年 Ishi no ue nimo san nen " เปรียบเปรยกับชีวิตการทำงานที่อาจจะเจออุปสรรคปัญหาต่างๆ เพราะเป็นช่วงแรกที่เข้าเริ่มงาน ต้องเรียนรู้ระรบและเรื่องต่างๆ รวมทั้งรับแรงกดดันอีกมากมาย แต่เมื่อผ่านไปจนเข้าที่เข้าทางก็จะทำให้เราเข้าใจหน้าที่การงานและหลักการปฏิบัติได้มากขึ้นทำงานได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

และมีอีกคำพูดคือ "ประวัติการทำงานระยะสั้น" 短期職歴 Tanki shokureki
ที่ญี่ปุ่นถ้ามีใครเขียนประวัติการทำงานว่าเคยผ่านงานที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งมาสามเดือน หกเดือน กรณีเช่นนี้เป็นภาพลักษณ์ติดลบนะครับ เพราะจะถูกมองว่าทำไมทำงานได้สั้นมาก มีปัญหาอะไรหรือไม่

มีอีกคำหนึ่งที่เป็นคำพูดเปรียบเปรยว่า "เด็กจบใหม่ของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติดี มีความสามารถ เด็กจบใหม่เท่านั้นล่ะที่จะสามารถเข้าทำงานบริษัทดีๆ ได้ " เรียกว่า การ์ดเด็กจบใหม่ 新卒カード Shisotsu card🃏

จากเนื้อหาตามด้านบนก็คงจะพอเป็นคำตอบให้คุณฟ้าใสได้บ้างว่าอย่างไรก็ตามการทำงานแค่สองอาทิตย์ยังไม่ได้อะไร อย่างน้อยควรอดทนทำจนพ้นระยะทดลองงานถึงแม้จะลาออกตอนที่ทำไปได้ไม่กี่เดือนแต่ก็อุตส่าห์มีโอกาสผ่านการสอบเข้าทำงานและได้โอกาสการเรียนรู้ระบบงาน ข้อดีอย่างหนึ่งของบริษัทญี่ปุ่นก็คือมักจะเปิดโอกาสให้เด็กจบใหม่หรือคนที่ไม่มีประสบการณ์เข้ามาทำงานได้นั่นเอง ถ้าคุณฟ้าใสอดทนต่อไปสักสามปีก็อาจจะชอบงานตัวเองก็ได้นะครับ ถึงแม้ว่าจะสัก 2% ก็ตาม~~( `・ω'・)b

วันนี้ยกตัวอย่างไปสองกรณีคิดว่าครั้งหน้ามีตัวอย่างที่เกี่ยวกับสาวๆ โดนทำ セクハラ Seku Hara(→Sexual harassment) มาให้อ่านครับ เธอจะอดทนดีหรือขอคำปรึกษาใครดีแล้ว จะได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ มาติดตามอ่านกันต่อนะครับ วันนี้สวัสครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น