สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้วครับ ที่จริงผมอยากเขียนเรื่องเบาๆ พวกอาหารการกิน อยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับราเม็งด้วย ว่าจะเขียนมาหลายครั้งแล้วแต่ก็ไม่มีโอกาสสักที หลายเรื่องที่เขียนไปเช่น การเมือง ประวัติศาสตร์ ต่างๆ หรือเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตยญี่ปุ่น มันก็เป็นเรื่องยากเกินที่จะนำมาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ
ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันผมได้เห็นรูปโฆษณาร้านราเม็นร้านหนึ่ง บอกว่าถ้านำหลักฐานการไปเลือกตั้งมาแสดงที่ร้านจะได้รับบะหมี่ฟรีหนึ่งก้อน หรือจะเลือกเป็นไข่ต้มฟรีหนึ่งฟองก็ได้ เมื่ออ่านโฆษณานี้แล้วทำให้ผมนึกถึงรุ่นพี่ที่เคยทำงานด้วยคนหนึ่ง เพราะเขาชมที่ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งระบบการเลือกตั้งของญี่ปุ่นก็น่าจะไม่ต่างจากไทยนะครับ สมัยก่อนให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี และวันที่เลือกตั้งส่วนใหญ่จะกำหนดให้ตรงกับวันอาทิตย์เพราะเป็นวันหยุดที่หลายๆ คนคงจะออกไปใช้สิทธิ์ได้ แต่ถ้าเผอิญเป็นวันอาทิตย์ที่ทำงานคนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งท่านนั้นก็สามารถไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าได้ครับ
เพราะว่าคนญี่ปุ่นที่เพิ่งมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรกๆ หรือพวกที่ยังอายุน้อยมักจะไม่ค่อยอยากจะไปร่วมเลือกตั้งนัก เพราะคนรุ่นนี้มีจำนวนน้อยอาจจะคิดว่าถึงใช้สิทธิ์ไปก็ไม่น่าจะมีเสียงมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ วันเสาร์อาทิตย์ไปทำงานพาร์ทไทม์หรือไม่ก็ไปเที่ยวน่าจะดีกว่าพอถึงวันเลือกตั้งจริงก็เลยไม่ไปใช้สิทธิ์ซะงั้น แต่รุ่นพี่ผมบอกว่ารู้สึกแปลกและชื่นชมที่เด็กรุ่นที่เพิ่งเลือกตั้งได้อย่างผม (ตอนนั้น) เดินทางเข้าโตเกียวเพื่อไปออกเสียงใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า นับว่าเป็นเรื่องดีที่เด็กๆ ไม่ค่อยทำกัน
วันนี้จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมาสักหน่อยดีกว่า เขียนเป็นข้อๆ ครับ
🔹ที่ญี่ปุ่นเริ่มมีผู้สูงอายุจำนวนมาก เมื่อผู้สูงอายุมากๆ อายุ 70 -80 ปีขึ้นไประบบการทำงานของร่ายกายของสมองก็ช้าลง บางคนหลงลืม แต่ลุงป้าเหล่านี้ บางคนยังมีใบขับขี่รถยนต์และยังขับขี่เองซึ่งบางครั้งอาจเป็นอันตรายได้ จึงมีนโยบายการคืนใบขับขี่ หัวหน้าผมเคยเจอลุงขับรถชนร้านค้า ตอนนั้นหัวหน้าผมไปซื้อของร้านสะดวกซื้อจังหวะนั้นมีคุณลุงอายุประมาณ 80 ปี ขับรถไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อแล้วน่าจะเหยียบคันเร่งพลาดทำให้รถพุ่งชนร้านมีคนได้รับบาดเจ็บมากมาย นอกจากเคสนี้ก็ยังมีข่าวที่คนสูงอายุขับรถจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากมาย ดังนั้นเมื่อมีนโยบายคืนใบขับขี่ ทางตำรวจจะออกใบแสดงฐานะผู้สูงอายุกรณีคืนใบขับขี่ให้ เมื่อลุงป้านำใบนี้ไปโชว์ที่ร้านราเม็งบางร้าน เขาจะได้รับบะหมี่หรือไข่ฟรี ระบบนี้ผมพอเข้าใจเหตุผลได้นะครับ แต่คนที่ไปเลือกตั้งแล้วเอาใบที่แสดงว่าตนเองไปใช้สิทธิ์มาแล้วมาโชว์เพื่อรับบะหมี่และไข่นี่ผมยังงงๆ
🔹การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมามีการจัดการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ตามที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ประกาศไว้ว่าเขาต้องการได้รับฉันทานุมัติใหม่ เพื่อเอาชนะ วิกฤตชาติ และภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากเกาหลีเหนือ ผลการเลือกตั้งสรุปออกมาว่าท่านสามารถชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนค่อนข้างท่วมท้น ท้าวความถึงช่วงเลือกตั้งสักหน่อยครับ ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีตัวเลือกคือใครบ้าง?
🇯🇵พรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ 自由民主党 LDP นำโดยนายชินโซ อาเบะ มีนโยบายและท่าทีที่แข็งกร้าวด้านความมั่นคงของชาติและเตรียมรับมือภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นนโยบายด้านสังคมภายในประเทศด้วย
🇯🇵พรรคประชาธิปไตย แต่ทางพรรคเผชิญกับความวุ่นวายเกี่ยวกับตำแหน่งผู้นำพรรคเมื่อเดือนกรกฎาคม และในช่วงปลายเดือนกันยายนสมาชิกพรรคก็แยกย้ายกันไปอยู่พรรคอื่นเกือบหมด และอดีตสมาชิกบางส่วนได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในฐานะผู้สมัครอิสระ หรือไม่ก็ลงสมัครในนามของพรรคการเมืองขนาดเล็ก
🔹与党にはウンザリ、野党にはガッカリ
Yotou niwa Unzari,Yatou niwa Gakkari ประโยคนี้ประมาณว่าพรรครัฐบาลที่อยู่มานานก็เริ่มน่าเบื่อ แต่พรรคฝ่ายค้านนั้นก็น่าผิดหวัง
🔹ซึ่งการเลือกตั้งคราวนี้หลังจากยุบสภาจนถึงวันเลือกตั้งมีเวลาการเตรียมการไม่มากนัก มีเวลาแค่ประมาณหนึ่งเดือน แทบจะไม่มีการหาเสียงหรืออภิปรายใดๆ พูดเรื่องนโยบายของแต่ละพรรคซึ่งที่จริงแล้วค่อนข้างคล้ายกันมากๆ จนแทบแยกความต่างไม่ออก อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ไม่ค่อยดึงดูดคนให้ออกไปเลือกตั้งหรืออาจจะพูดได้ว่าไม่มีอะไรเด่นจนดึงดูดให้เกิดความสนใจ แถมวันที่เลือกตั้งมีพายุใหญ่เข้าญี่ปุ่นอีกด้วย ยิ่งทำให้คนไม่อยากจะออกจากบ้าน
🔹ตอนที่ผมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ราชการที่ญี่ปุ่นช่วงเวลาที่ผมเหนื่อยที่สุดอีกงานหนึ่งคือช่วงที่มีการเลือกตั้งนี่แหละครับ และอีกช่วงที่ต้องเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชนคือช่วงพายุเข้าเพราะพนักงานราชการต้องคอย Standby เรื่องการช่วยเหลือประชาชน บางทีต้องอยู่เวรในวันที่พายุเข้า แต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมามีพายุเข้าอีกงานนี้คงจะเหนื่อยมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว
🔹พูดเรื่องสิทธิของคนแต่ละคนก็คงจะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ เช่นประเทศออสเตรเลียการใช้สิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเสียงถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่มีสิทธิ ถ้าไม่ไปอาจจะมีบทลงโทษได้ ประเทศประชาธิปไตยโดยทั่วไปยิ่งพลเมืองไปใช้สิทธิ์มากเท่าไรถือว่าดีใช่ไหมครับ แต่การเลือกตั้งที่ญี่ปุ่นครั้งล่าสุดที่ผ่านมานี้ประมาณ 53%จะว่าดีหรือไม่ดีกัน บางประเทศที่ผู้นำค่อนข้างผูกอำนาจเช่น อิรัก หรือเกาหลีเหนือได้ข่าวมาว่าคะแนนผู้ชนะการเลือกตั้งนั้นแทบจะท่วมทัน99% คือถ้าไม่เลือกอาจจะกลับบ้านไม่ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ ดั้งนั้นที่เคยฟังมาว่ายิ่งอัตราการใช้สิทธิ์สูงยิ่งดีนี่อาจจะไม่ใช่นะเนี่ย
🔹นโยบายครั้งนี้ที่ดูเด่นหน่อยคงเป็นประเด็นที่ว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ถ้าเปลี่ยนคงเป็นการเปลี่ยนในมาตราที่ 9 ก่อนหน้านี้การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมีฝ่ายซ้ายเยอะ เปลี่ยนไม่ได้สักที ถ้าจะเปลี่ยนที่จริงคงถูกค้านมากเหมือนเดิม แต่ปัจจุบันมีกรณีภัยคุกคามจากเกาหลีเหนืออยู่บ่อยๆ ประชาชนจึงเริ่มโอนอ่อนผ่อนตามเรื่องการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการเปลี่ยนให้มีกองกำลังทหารป้องกันตนเองได้ และนโยบายของแต่ละพรรคส่วนใหญ่เป็นไปในทางอยากเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ
🔹เรื่องการยุบสภาตอนแรกก็ไม่ค่อยมีคนอยากเห็นด้วยแต่ผู้ที่มีอำนาจยุบสภาคือนายกรัฐมนตรีก็ได้ทำตามสิทธิ์แล้ว ตอนแรกที่มีคนคัดค้านก็ไม่แน่ใจว่าคัดค้านเพื่ออะไรก็กว่าตัวเองจะตกงานหรือไม่แต่คนที่มีอำนาจก็คือนายกรัฐมนตรี
🔹ที่พรรคนายชินโซ อาเบะได้รับเลือกให้เป็นเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ที่จริงก็ไม่ใช่ว่านายชินโซ อาเบะเป็นคนที่เลิศมากอะไรแต่คงเพราะไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่านี้แล้ว อย่างน้อยเศรษฐกิจช่วงที่กำลังมุ่งสู่โตเกียวโอลิมปิคก็ขยับตัวดีขึ้นกว่าเดิมนิดหน่อย อัตราคนว่างงานก็ดีขึ้นนิดหนึ่ง หัวหน้าอีกทีมก็คะแนนนิยมลดอย่างมากมายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งก่อน คู่แข่งอื่นๆ ก็ไม่มีใครเด่น
🔹ส่วนผลการเลือกตั้งไม่ว่าจะออกมาอย่างไร ต้องยอมรับฟังความเห็นและการวิจารณ์จากอีกฝ่ายเพราะแม้ว่าทีมที่คุณเลือกจะชนะ คนที่เชียร์ฝ่ายตรงข้ามกับคุณอาจจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้ ก็ต้องรับฟัง
🔹内部留保 Internal reserves
คำสัญญาที่พรรคที่จะจัดตั้งรัฐบาลใหม่นี้มีให้ประชาชนมีอยู่ข้อหนึ่ง คือการเก็บเงินบริษัทเอกชนเข้ารัฐเพิ่มจากที่เคยเก็บ ยกตัวอย่างนะครับสมมุติ ราคาขายสินค้าของบริษัทหนึ่งชิ้นละ 100 บาท เดิม 20 บาทต้องจ่ายเป็นค่าภาษีให้รัฐบาล เงินอีก 80 บาทที่เหลือนั้นบริษัทอาจจะแบ่งเป็นค่าแรงพนักงานและค่าใช้จ่ายการบริหารงาน และเงินส่วนที่เหลืออีก 30 บาท บริษัทอาจจะใช้เงินนี้เป็นเงินสำหรับการลงทุนหรือไม่ก็เก็บสำรอง ก็แล้วแต่ละบริษัท แต่จากนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งนี้บอกว่าบริษัทต้องแบ่ง% ของเงิน 30 บาทนี้มาเข้ารัฐบาล ซึ่งฟังดูแล้วเหมือนปล้นๆ ยังไงไม่รู้นะครับ คนญี่ปุ่นคงจะเรียกว่าเป็นโรบินฮูท Robin Hood หรือป้นคนรวยเพื่อเอาเงินที่ได้มานั้นไปแจกจ่ายให้คนจน อันนี้มีคนบอกมาอีกที คนที่จะตั้งบริษัทก็รู้สึกไม่อยากตั้งนะครับแบบนี้
🔹ปกติบัดเจทของรัฐบาลต่อจำนวนประชากร คิดแล้วตกคนละ 1 ล้านเยนต่อปีถ้ารัฐบาลทำงาน 4 ปีคือประชาชนหนึ่งคน คล้ายกับต้องจ่ายเงิน 4 ล้านเยน เงินจำนวนนี้น่าจะพอที่จะซื้อรถได้สักคันหนึ่ง และถ้าเราจะซื้อรถเราต้องเลือกดีๆ ใช่ไหมครับ ต้องพิถีพิถันใส่ใจข้อมูลและเลือกให้ตรงกับที่ชอบและต้องการที่สุดใช่ไหมครับ จะให้คนอื่นมาเลือกให้ก็ไม่ใช่แล้ว ดังนั้นถ้าต้องเลือกรัฐบาลก็ควรต้องใส่ใจและเลือกดีๆ เช่นกัน แต่คราวนี้ดูเหมือนว่าคนจะไม่ค่อยออกไปใช่สิทธิ์เลือกตั้งกันเท่าไหร่นัก ข้อนี้ผมก็เข้าใจคนทั่วไปนะเพราะมันไม่ค่อยมีเหตุผลจูงใจให้ไปเลือก ..แล้วกรณีที่มีแคมเปญจากร้านราเม็งให้เอาบัตรแสดงการเลือกตั้งมาโชว์เพื่อแลกบะหมี่หรือไข่ฟรี ได้ยินแล้วรู้สึกว่า สิ่งที่เป็นสิทธิอย่างยิ่งยวดที่ควรกระทำ ถูกระตุ้นด้วยบัตรแลกไข่เองหรอ อันนี้ค่อนข้างเศร้าใจนิดหน่อย
🔹แล้วก็มีคนอีกประเภทที่อุตส่าห์ฝ่าลมพายุออกไปเลือกตั้งนะแต่พอเข้าคูหากลับไม่กาเลือกอะไรเลย แบบนี้มันสมควรเหรอเนี่ย แล้วมาพูดที่หลังว่าคนที่เลือกเข้าไปบ้าบอ แต่ตัวเองเป็นคนที่เลือกได้กลับบ้าบอไม่แพ้กัน แต่คนที่ไม่กาอะไรหรือแกล้งทำบัตรเสียเนี่ย มีมาตั้งแต่สมัยก่อนนู้นแล้วปัจจุบันก็ยังมีอยู่ตลอด ถ้าตั้งใจจะไปเลือกจริงๆ คงไม่ทำแบบนี้หรอกใช่ไหมดังนั้นถ้าบอกว่านับจากจำนวนคนที่ออกไปเลือกตั้งยิ่งมากยิ่งดีนี่คงจะไม่ใช่เสมอไปซะแล้ว
ไหนๆ ก็พูดเรื่องราเม็ง🍜แล้วนึกขึ้นมาได้อยากเล่าเรื่องราเม็งเหมือนกันแต่ใช้พื้นที่เล่าเรื่องเลือกตั้งไปซะเยอะแล้ว ก่อนอื่นเพื่อนๆ รู้ไหมครับว่ามารยาทในการทานราเม็ง 4 ข้อนี้ข้อไหนถือว่าไม่มีมารยาทต่อเจ้าของร้านที่สุดครับ
1. กินราเม็งด้วยเสียงดังซู้ดๆ 📢
2. กินน้ำซุปจนหมดถ้วย🙏🏼
3. กินไม่หมด เหลือเส้นคาถ้วย🚮
4. ใส่เครื่องเคียงที่มีวางบนโต๊ะมากเกินไป🎑
ลองทายดูแล้วอาทิตย์หน้าผมจะมาเล่าเรื่องมารยาทในการทานราเม็งให้ฟังดีกว่า วันนี้สวัสดีครับ
ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันผมได้เห็นรูปโฆษณาร้านราเม็นร้านหนึ่ง บอกว่าถ้านำหลักฐานการไปเลือกตั้งมาแสดงที่ร้านจะได้รับบะหมี่ฟรีหนึ่งก้อน หรือจะเลือกเป็นไข่ต้มฟรีหนึ่งฟองก็ได้ เมื่ออ่านโฆษณานี้แล้วทำให้ผมนึกถึงรุ่นพี่ที่เคยทำงานด้วยคนหนึ่ง เพราะเขาชมที่ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งระบบการเลือกตั้งของญี่ปุ่นก็น่าจะไม่ต่างจากไทยนะครับ สมัยก่อนให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี และวันที่เลือกตั้งส่วนใหญ่จะกำหนดให้ตรงกับวันอาทิตย์เพราะเป็นวันหยุดที่หลายๆ คนคงจะออกไปใช้สิทธิ์ได้ แต่ถ้าเผอิญเป็นวันอาทิตย์ที่ทำงานคนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งท่านนั้นก็สามารถไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าได้ครับ
เพราะว่าคนญี่ปุ่นที่เพิ่งมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรกๆ หรือพวกที่ยังอายุน้อยมักจะไม่ค่อยอยากจะไปร่วมเลือกตั้งนัก เพราะคนรุ่นนี้มีจำนวนน้อยอาจจะคิดว่าถึงใช้สิทธิ์ไปก็ไม่น่าจะมีเสียงมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ วันเสาร์อาทิตย์ไปทำงานพาร์ทไทม์หรือไม่ก็ไปเที่ยวน่าจะดีกว่าพอถึงวันเลือกตั้งจริงก็เลยไม่ไปใช้สิทธิ์ซะงั้น แต่รุ่นพี่ผมบอกว่ารู้สึกแปลกและชื่นชมที่เด็กรุ่นที่เพิ่งเลือกตั้งได้อย่างผม (ตอนนั้น) เดินทางเข้าโตเกียวเพื่อไปออกเสียงใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า นับว่าเป็นเรื่องดีที่เด็กๆ ไม่ค่อยทำกัน
วันนี้จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมาสักหน่อยดีกว่า เขียนเป็นข้อๆ ครับ
🔹ที่ญี่ปุ่นเริ่มมีผู้สูงอายุจำนวนมาก เมื่อผู้สูงอายุมากๆ อายุ 70 -80 ปีขึ้นไประบบการทำงานของร่ายกายของสมองก็ช้าลง บางคนหลงลืม แต่ลุงป้าเหล่านี้ บางคนยังมีใบขับขี่รถยนต์และยังขับขี่เองซึ่งบางครั้งอาจเป็นอันตรายได้ จึงมีนโยบายการคืนใบขับขี่ หัวหน้าผมเคยเจอลุงขับรถชนร้านค้า ตอนนั้นหัวหน้าผมไปซื้อของร้านสะดวกซื้อจังหวะนั้นมีคุณลุงอายุประมาณ 80 ปี ขับรถไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อแล้วน่าจะเหยียบคันเร่งพลาดทำให้รถพุ่งชนร้านมีคนได้รับบาดเจ็บมากมาย นอกจากเคสนี้ก็ยังมีข่าวที่คนสูงอายุขับรถจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากมาย ดังนั้นเมื่อมีนโยบายคืนใบขับขี่ ทางตำรวจจะออกใบแสดงฐานะผู้สูงอายุกรณีคืนใบขับขี่ให้ เมื่อลุงป้านำใบนี้ไปโชว์ที่ร้านราเม็งบางร้าน เขาจะได้รับบะหมี่หรือไข่ฟรี ระบบนี้ผมพอเข้าใจเหตุผลได้นะครับ แต่คนที่ไปเลือกตั้งแล้วเอาใบที่แสดงว่าตนเองไปใช้สิทธิ์มาแล้วมาโชว์เพื่อรับบะหมี่และไข่นี่ผมยังงงๆ
🔹การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมามีการจัดการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ตามที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ประกาศไว้ว่าเขาต้องการได้รับฉันทานุมัติใหม่ เพื่อเอาชนะ วิกฤตชาติ และภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากเกาหลีเหนือ ผลการเลือกตั้งสรุปออกมาว่าท่านสามารถชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนค่อนข้างท่วมท้น ท้าวความถึงช่วงเลือกตั้งสักหน่อยครับ ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีตัวเลือกคือใครบ้าง?
🇯🇵พรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ 自由民主党 LDP นำโดยนายชินโซ อาเบะ มีนโยบายและท่าทีที่แข็งกร้าวด้านความมั่นคงของชาติและเตรียมรับมือภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นนโยบายด้านสังคมภายในประเทศด้วย
🇯🇵พรรคประชาธิปไตย แต่ทางพรรคเผชิญกับความวุ่นวายเกี่ยวกับตำแหน่งผู้นำพรรคเมื่อเดือนกรกฎาคม และในช่วงปลายเดือนกันยายนสมาชิกพรรคก็แยกย้ายกันไปอยู่พรรคอื่นเกือบหมด และอดีตสมาชิกบางส่วนได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในฐานะผู้สมัครอิสระ หรือไม่ก็ลงสมัครในนามของพรรคการเมืองขนาดเล็ก
🔹与党にはウンザリ、野党にはガッカリ
Yotou niwa Unzari,Yatou niwa Gakkari ประโยคนี้ประมาณว่าพรรครัฐบาลที่อยู่มานานก็เริ่มน่าเบื่อ แต่พรรคฝ่ายค้านนั้นก็น่าผิดหวัง
🔹ซึ่งการเลือกตั้งคราวนี้หลังจากยุบสภาจนถึงวันเลือกตั้งมีเวลาการเตรียมการไม่มากนัก มีเวลาแค่ประมาณหนึ่งเดือน แทบจะไม่มีการหาเสียงหรืออภิปรายใดๆ พูดเรื่องนโยบายของแต่ละพรรคซึ่งที่จริงแล้วค่อนข้างคล้ายกันมากๆ จนแทบแยกความต่างไม่ออก อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ไม่ค่อยดึงดูดคนให้ออกไปเลือกตั้งหรืออาจจะพูดได้ว่าไม่มีอะไรเด่นจนดึงดูดให้เกิดความสนใจ แถมวันที่เลือกตั้งมีพายุใหญ่เข้าญี่ปุ่นอีกด้วย ยิ่งทำให้คนไม่อยากจะออกจากบ้าน
🔹ตอนที่ผมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ราชการที่ญี่ปุ่นช่วงเวลาที่ผมเหนื่อยที่สุดอีกงานหนึ่งคือช่วงที่มีการเลือกตั้งนี่แหละครับ และอีกช่วงที่ต้องเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชนคือช่วงพายุเข้าเพราะพนักงานราชการต้องคอย Standby เรื่องการช่วยเหลือประชาชน บางทีต้องอยู่เวรในวันที่พายุเข้า แต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมามีพายุเข้าอีกงานนี้คงจะเหนื่อยมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว
🔹พูดเรื่องสิทธิของคนแต่ละคนก็คงจะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ เช่นประเทศออสเตรเลียการใช้สิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเสียงถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่มีสิทธิ ถ้าไม่ไปอาจจะมีบทลงโทษได้ ประเทศประชาธิปไตยโดยทั่วไปยิ่งพลเมืองไปใช้สิทธิ์มากเท่าไรถือว่าดีใช่ไหมครับ แต่การเลือกตั้งที่ญี่ปุ่นครั้งล่าสุดที่ผ่านมานี้ประมาณ 53%จะว่าดีหรือไม่ดีกัน บางประเทศที่ผู้นำค่อนข้างผูกอำนาจเช่น อิรัก หรือเกาหลีเหนือได้ข่าวมาว่าคะแนนผู้ชนะการเลือกตั้งนั้นแทบจะท่วมทัน99% คือถ้าไม่เลือกอาจจะกลับบ้านไม่ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ ดั้งนั้นที่เคยฟังมาว่ายิ่งอัตราการใช้สิทธิ์สูงยิ่งดีนี่อาจจะไม่ใช่นะเนี่ย
🔹นโยบายครั้งนี้ที่ดูเด่นหน่อยคงเป็นประเด็นที่ว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ถ้าเปลี่ยนคงเป็นการเปลี่ยนในมาตราที่ 9 ก่อนหน้านี้การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมีฝ่ายซ้ายเยอะ เปลี่ยนไม่ได้สักที ถ้าจะเปลี่ยนที่จริงคงถูกค้านมากเหมือนเดิม แต่ปัจจุบันมีกรณีภัยคุกคามจากเกาหลีเหนืออยู่บ่อยๆ ประชาชนจึงเริ่มโอนอ่อนผ่อนตามเรื่องการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการเปลี่ยนให้มีกองกำลังทหารป้องกันตนเองได้ และนโยบายของแต่ละพรรคส่วนใหญ่เป็นไปในทางอยากเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ
🔹เรื่องการยุบสภาตอนแรกก็ไม่ค่อยมีคนอยากเห็นด้วยแต่ผู้ที่มีอำนาจยุบสภาคือนายกรัฐมนตรีก็ได้ทำตามสิทธิ์แล้ว ตอนแรกที่มีคนคัดค้านก็ไม่แน่ใจว่าคัดค้านเพื่ออะไรก็กว่าตัวเองจะตกงานหรือไม่แต่คนที่มีอำนาจก็คือนายกรัฐมนตรี
🔹ที่พรรคนายชินโซ อาเบะได้รับเลือกให้เป็นเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ที่จริงก็ไม่ใช่ว่านายชินโซ อาเบะเป็นคนที่เลิศมากอะไรแต่คงเพราะไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่านี้แล้ว อย่างน้อยเศรษฐกิจช่วงที่กำลังมุ่งสู่โตเกียวโอลิมปิคก็ขยับตัวดีขึ้นกว่าเดิมนิดหน่อย อัตราคนว่างงานก็ดีขึ้นนิดหนึ่ง หัวหน้าอีกทีมก็คะแนนนิยมลดอย่างมากมายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งก่อน คู่แข่งอื่นๆ ก็ไม่มีใครเด่น
🔹ส่วนผลการเลือกตั้งไม่ว่าจะออกมาอย่างไร ต้องยอมรับฟังความเห็นและการวิจารณ์จากอีกฝ่ายเพราะแม้ว่าทีมที่คุณเลือกจะชนะ คนที่เชียร์ฝ่ายตรงข้ามกับคุณอาจจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้ ก็ต้องรับฟัง
🔹内部留保 Internal reserves
คำสัญญาที่พรรคที่จะจัดตั้งรัฐบาลใหม่นี้มีให้ประชาชนมีอยู่ข้อหนึ่ง คือการเก็บเงินบริษัทเอกชนเข้ารัฐเพิ่มจากที่เคยเก็บ ยกตัวอย่างนะครับสมมุติ ราคาขายสินค้าของบริษัทหนึ่งชิ้นละ 100 บาท เดิม 20 บาทต้องจ่ายเป็นค่าภาษีให้รัฐบาล เงินอีก 80 บาทที่เหลือนั้นบริษัทอาจจะแบ่งเป็นค่าแรงพนักงานและค่าใช้จ่ายการบริหารงาน และเงินส่วนที่เหลืออีก 30 บาท บริษัทอาจจะใช้เงินนี้เป็นเงินสำหรับการลงทุนหรือไม่ก็เก็บสำรอง ก็แล้วแต่ละบริษัท แต่จากนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งนี้บอกว่าบริษัทต้องแบ่ง% ของเงิน 30 บาทนี้มาเข้ารัฐบาล ซึ่งฟังดูแล้วเหมือนปล้นๆ ยังไงไม่รู้นะครับ คนญี่ปุ่นคงจะเรียกว่าเป็นโรบินฮูท Robin Hood หรือป้นคนรวยเพื่อเอาเงินที่ได้มานั้นไปแจกจ่ายให้คนจน อันนี้มีคนบอกมาอีกที คนที่จะตั้งบริษัทก็รู้สึกไม่อยากตั้งนะครับแบบนี้
🔹ปกติบัดเจทของรัฐบาลต่อจำนวนประชากร คิดแล้วตกคนละ 1 ล้านเยนต่อปีถ้ารัฐบาลทำงาน 4 ปีคือประชาชนหนึ่งคน คล้ายกับต้องจ่ายเงิน 4 ล้านเยน เงินจำนวนนี้น่าจะพอที่จะซื้อรถได้สักคันหนึ่ง และถ้าเราจะซื้อรถเราต้องเลือกดีๆ ใช่ไหมครับ ต้องพิถีพิถันใส่ใจข้อมูลและเลือกให้ตรงกับที่ชอบและต้องการที่สุดใช่ไหมครับ จะให้คนอื่นมาเลือกให้ก็ไม่ใช่แล้ว ดังนั้นถ้าต้องเลือกรัฐบาลก็ควรต้องใส่ใจและเลือกดีๆ เช่นกัน แต่คราวนี้ดูเหมือนว่าคนจะไม่ค่อยออกไปใช่สิทธิ์เลือกตั้งกันเท่าไหร่นัก ข้อนี้ผมก็เข้าใจคนทั่วไปนะเพราะมันไม่ค่อยมีเหตุผลจูงใจให้ไปเลือก ..แล้วกรณีที่มีแคมเปญจากร้านราเม็งให้เอาบัตรแสดงการเลือกตั้งมาโชว์เพื่อแลกบะหมี่หรือไข่ฟรี ได้ยินแล้วรู้สึกว่า สิ่งที่เป็นสิทธิอย่างยิ่งยวดที่ควรกระทำ ถูกระตุ้นด้วยบัตรแลกไข่เองหรอ อันนี้ค่อนข้างเศร้าใจนิดหน่อย
🔹แล้วก็มีคนอีกประเภทที่อุตส่าห์ฝ่าลมพายุออกไปเลือกตั้งนะแต่พอเข้าคูหากลับไม่กาเลือกอะไรเลย แบบนี้มันสมควรเหรอเนี่ย แล้วมาพูดที่หลังว่าคนที่เลือกเข้าไปบ้าบอ แต่ตัวเองเป็นคนที่เลือกได้กลับบ้าบอไม่แพ้กัน แต่คนที่ไม่กาอะไรหรือแกล้งทำบัตรเสียเนี่ย มีมาตั้งแต่สมัยก่อนนู้นแล้วปัจจุบันก็ยังมีอยู่ตลอด ถ้าตั้งใจจะไปเลือกจริงๆ คงไม่ทำแบบนี้หรอกใช่ไหมดังนั้นถ้าบอกว่านับจากจำนวนคนที่ออกไปเลือกตั้งยิ่งมากยิ่งดีนี่คงจะไม่ใช่เสมอไปซะแล้ว
ไหนๆ ก็พูดเรื่องราเม็ง🍜แล้วนึกขึ้นมาได้อยากเล่าเรื่องราเม็งเหมือนกันแต่ใช้พื้นที่เล่าเรื่องเลือกตั้งไปซะเยอะแล้ว ก่อนอื่นเพื่อนๆ รู้ไหมครับว่ามารยาทในการทานราเม็ง 4 ข้อนี้ข้อไหนถือว่าไม่มีมารยาทต่อเจ้าของร้านที่สุดครับ
1. กินราเม็งด้วยเสียงดังซู้ดๆ 📢
2. กินน้ำซุปจนหมดถ้วย🙏🏼
3. กินไม่หมด เหลือเส้นคาถ้วย🚮
4. ใส่เครื่องเคียงที่มีวางบนโต๊ะมากเกินไป🎑
ลองทายดูแล้วอาทิตย์หน้าผมจะมาเล่าเรื่องมารยาทในการทานราเม็งให้ฟังดีกว่า วันนี้สวัสดีครับ