xs
xsm
sm
md
lg

คนที่ทำงานได้ vs คนที่ทำงานไม่ได้ ในมุมมองคนญี่ปุ่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ในบริษัทที่คุณทำงานอยู่ อาจจะมีคนที่ต้องยอมรับเลยว่า "เก่ง สามารถ ทำงานทำการได้" และมีคนที่ "ไม่เอาถ่าน จับอะไรก็พลาด ทำการทำงานไม่ได้" มาดูคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกันของลักษณะคน 2 ประเภทนี้กันหน่อย

01. ความต่างระหว่าง "คนที่ยุ่งกับงาน" และ "คนที่มีเวลา"
แม้ว่าจะได้รับมอบหมายงานที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน จะเห็นว่าบางคนอาจดูว่ายุ่งกับการทำงานนั้นมาก ส่วนบางคนดูเหมือนว่ายังมีเวลาเหลืออีกมากมาย เช่น ความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่ต้องทำ ว่าทำได้หรือไม่ "คนที่ยุ่งกับงาน" จะคาดการณ์สิ่งที่ต้องรับมือไม่ได้ เกิดอาการลนขึ้น ส่วน "คนที่มีเวลา" คาดการณ์การรับมือและจัดการกับเวลาและงานที่ต้องทำได้ รู้ลิมิตและสิ่งที่ต้องทำ

นอกจากนั้นมีสิ่งที่พูดกันบ่อยๆ คือ
เป็นคนที่มีความคิดที่สอดคล้องคงเส้นคงวา หรือทำหน้าที่อย่างมีแผนการหรือไม่ "คนที่ยุ่งกับงาน" จะดูเหมือนทำงานมากจนไม่มีเวลา จะใช้เวลาที่ทำงานอย่างมาก มีผลทำให้ผลงานออกมาตรงข้ามได้ อนึ่ง"คนที่มีเวลา" มีความคิดที่สอดคล้องมีแผนการจัดการในระบบความคิด ทำตามสิ่งที่วางไว้ได้ตามกำหนดเวลา ไม่ได้ใช้เวลาแบบเปล่าประโยชน์
ลักษณะที่ว่ามานี้ จึงทำให้คนที่ "คนที่มีเวลา" มีความสมาร์ทและน่าเชื่อถือ

02. ความต่างระหว่าง "คนที่มีพัฒนาการ" และ "คนที่ไม่พัฒนา"
ใครๆ ก็ตามเมื่อพบเจอกับปัญหาที่เริ่มจะขยายวงกว้างแม้จะในเรื่องการงาน หรืออื่นๆ "คนที่มีพัฒนาการ" และ "คนที่ไม่พัฒนา" จะรับมือกับสิ่งที่เจออย่างไร
ตัวอย่างเช่น คนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องที่รับผิดชอบมาก่อนแล้วทำความผิดพลาดขึ้น จะรีบมืออย่างไร กรณีเช่นนี้ก็จะมีคนที่ 「เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น」แล้วนำประสบการณ์ที่เคยผิดพลาดเป็นบทเรียนมาสอนตัวเอง เพื่อที่จะใช้ปรับปรุงแก้ไข และหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแบบเดิมอีก และ「คนที่หนีความผิดพลาด」เขาจะพยายามหนีความผิดนั้น หนีที่จะรับผิดชอบ ก็ไม่เกิดการพัฒนาขึ้น

นอกจากนั้น แวดวงการงานต่างๆ ย่อมต้องมีการติดต่อประสานงานกับฝ่ายต่างๆ และอาจจะมีลูกค้า ที่ต้องเกี่ยวข้องกันอยู่ตลอดเวลา ผู้ที่คิดอ่านความคิดความต้องการของฝ่ายตรงข้ามแล้วปฏิบัติหน้าที่การงาน เขาจะคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้รีบความร่วมมือและสามารถผลักดันงานให้ราบรื่น บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่จะพัฒนาได้ต่อเนื่อง แต่กับผู้ที่ไม่ค่อยรับฟังคนอื่น ไม่เคารพฝ่ายตรงข้าม มีผลให้ฝ่ายตรงข้ามไม่ชอบพอใจขึ้นมาได้ การพัฒนาจึงไม่เกิดขึ้น

แค่มุมมองนี้ ก็สามารถมองเห็นแนวโน้ม และทิศทางการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการทำงานได้

03. ความต่างระหว่าง "คนที่มีความเครียดสะสม" และ "คนที่ไม่เครียด"
"ช่วงนี้ไม่รู้เป็นอะไร หงุดหงิดมาก ……" อาจจะได้ยินคนบ่นเช่นนี้บ่อยๆ เรื่องนี้มีสิ่งที่ต้องรู้จักประเภทของคนที่ "คนที่มีความเครียดสะสม" และ "คนที่ไม่เครียด" ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอยู่
มีความแตกต่างคือ 「แสดงออกอย่างไร ต่อเรื่องที่ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะ 」ปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไร "คนที่มีความเครียดสะสม" จะสนใจมองหา ขุดคุ้ยดูเข้าไปถึงความละเอียดเรื่องหยิบย่อยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด สั่งตัวเองจัดการแม้เรื่องปลีกย่อยหยุมหยิมนั้น ใส่ความรู้สึกเข้าไปอย่างมาก จึงเกิดความเครียดได้ แต่อีกด้านหนึ่ง "คนที่ไม่เครียด" จะสนใจแต่ละจุดนั้นๆ แต่จะปล่อยผ่านเรื่องที่หยุมหยิม จะมุ่งไปจุดที่มีผลกระทบหลักๆ เท่านั้น และปฏิบัติการที่จุดใหญ่นั้น

นอกจากนั้น 「ความแตกต่างของการใช้เวลา」ก็มีผลกระทบต่อความเครียดเช่นกัน "คนที่มีความเครียดสะสม" จะเสมือนว่ามีระยะเวลาน้อย ทำงานแบบนาทีต่อนาที แต่อีกกรณี สำหรับ "คนที่ไม่เครียด" จะมองภาพรวม มีการจัดการกับเวลา จึงสามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกให้ปลอดโปร่ง

04. ความต่างระหว่าง "คนที่เก็บเงินได้" และ "คนที่ไม่เก็บเงิน"
「คนที่เก็บเงินได้= คนที่มีเงินเดือนเยอะ」!? อาจมีคนคิดเช่นนี้ใช่ไหม แค่ความจริงแล้ว ไม่เกี่ยวกันนักว่าคนที่เก็บเงินได้จะเป็นผู้ที่มีเงินเดือนเยอะ 「คนที่เก็บเงินได้」ก็อาจเป็นไปได้ว่าต้องใช้จ่ายกับเรื่องทั่วไปและ งานอดิเรกต่างๆ เยอะเช่นกัน
แต่ 「คนที่เก็บเงินได้」จะให้ความสำคัญกับเงินแม้จะเป็นเหรียญเล็กๆ จะไม่ใช้เงินไปแบบเปล่าประโยชน์ จะคิดว่าจะจัดการการเงินอย่างไร ถ้าเป็นของที่มีราคาแพง ก็จะวางแผนการใช้เงินที่จะซื้อสิ่งนั้นๆ แต่สำหรับ "คนที่ไม่เก็บเงิน" ก็ไม่ค่อยสนใจว่าจะใช้จ่ายในเรื่องใด จับจ่ายใช้เงินอย่างที่ตัวเองต้องการ ไม่ได้คิดมากว่าสิ่งนั้นๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่ อยากได้ก็ซื้อหามา

05. ความต่างระหว่าง "คนที่ปฏิบัติอย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดผลที่ดี" และ "คนที่ไม่ชัดเจนกับการปฏิบัติงานนั้นๆ"
คนที่มุ่งมั่นทุ่มเทและชัดเจนต่อการปฏิบัติงานของตน จะมีความพยายาม ถ้ายังไม่สำเร็จก็พยายามมองอย่างรอบคอบว่าเพราะเหตุใดจึงยังไม่สำเร็จ แต่คนที่หละหลวมไม่ทุ่มเทกับการงานถ้าไม่สำเร็จ ก็จะคอยอิจฉาความสำเร็จของคนอื่น เมื่อมีความผิดพลาดก็มักคิดในแง่ลบ มองหาการมุ่งสู่ความสำเร็จไม่ค่อยได้ จึงไปได้แบบลุ่มๆ ดอนๆ ไม่ค่อยดีนัก

06. ความต่างระหว่าง "คนที่จิตใจเข้มแข็ง" และ "คนที่จิตใจอ่อนแอ หวั่นไหว"
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัวก็ตาม 「คนที่จิตใจเข้มแข็ง」โดยเฉพาะถ้ามองในเรื่องการจัดการธุรกิจหน้าที่การงาน มักจะมีวิสัยทัศน์ มีความกล้า และพร้อมที่จะปรับปรุง จะต่างจาก 「คนที่จิตใจอ่อนแอ หวั่นไหว」นั้นจะกลัว ไม่กล้าตัดสินใจที่จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด เมื่อเกิดข้อผิดพลาดก็อาจจะหาทางออกไม่เป็นจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นมุมมองแบบเเง่ลบ ยิ่งถ้าเปรียบเทียบกันคนอื่นๆ มากๆ แล้วนำข้อด้อยตนเองมานั่งเครียดและหนักใจ ก็ไม่สามารถผลักดันงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
กำลังโหลดความคิดเห็น