สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้วครับ ถ้าพูดถึงคนญี่ปุ่น เพื่อนๆ มีอิมเมจว่าอย่างไรบ้าง เพื่อนหลายคนบอกว่า คนญี่ปุ่นดูเป็นคนเอาจริงเอาจัง ตรงไปตรงมาและมักจะอยู่ในกรอบระเบียบกฏเกณฑ์ข้อบังคับ จากอิมเมจที่ว่านี้จะพูดไปก็มีส่วนที่ถูกอยู่มาก แต่นอกจากนั้นยังมีคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ ญี่ปุ่นที่อยู่ต่างประเทศก็ยังมีความต่างจากญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศบ้างไม่มากก็น้อย สมัยที่ผมเคยเป็นแบ็คแพ็กเกอร์เดินทางไปหลายประเทศหลายภูมิภาค คนญี่ปุ่นที่ผมเจอตามที่ต่างๆ นั้นมักจะมีความแปลกในตัวเอง แตกต่างจากคนญี่ปุ่นที่อยู่ญี่ปุ่น การเดินทางไปเห็นอะไรหลายๆ อย่างนี้ก็เป็นเรื่องสนุกสนานและถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ เลยนะครับ

แต่เรื่องที่ทำให้ผมเกิดประเด็นก็ตรงความแปลกของคนที่เจอนี่แหละครับ จะพูดอย่างไรดีล่ะที่ว่าแปลกนี่คือในความรู้สึกผมคนญี่ปุ่นที่เจอนอกประเทศญี่ปุ่นมักจะมีบุคคลิกที่น่าสนใจ ไม่ตลก ก็รั่ว หรือไม่ก็เฟรนลี่ใจดีไปเลย มันทำให้เป็นที่จดจำได้ง่ายไม่เหมือนกับคนญี่ปุ่นในออฟฟิศที่ทำงานที่มักจะไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนเองอะไรที่โดดเด่นจนเป็นที่จดจำ
เพื่อนผมคนหนึ่งไม่ชอบอยู่ญี่ปุ่น เขาเคยไปทำงานและอาศัยอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียหลายปี เขาเล่าให้ผมฟังว่าครั้งหนึ่งมีงานปาร์ตี้ที่ผู้จัดและเชิญคนมามากมาย อยู่กันจนดึกดื่นไม่มีรถกลับบ้าน เพื่อนที่รู้จักกันห่างๆ จึงชวนไปพักที่บ้านเขา ตื่นเช้ามาเมื่อจะร่ำลากัน เพื่อนผมเขาบอกว่าเหมือนรู้สึกว่าคนออสเตรเลียคอยเช็คว่าเพื่อนผมจะขโมยของอะไรในบ้านไปไหม แต่เพื่อนผมไม่ได้ขโมย นี่เองเป็นที่มาของเรื่องที่จะเล่าในวันนี้ เกี่ยวกับลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่น

ทำไมเพื่อนผมหรือคนญี่ปุ่นหลายๆ คนไม่ขโมยของคนอื่น เพราะตั้งแต่เด็กๆ จะได้รับการอบรมสั่งสอนมาว่า ถ้าเราทำไม่ดีเพียงคนเดียวคนอื่นๆ รอบข้างจะโดนกล่าวหาว่าไม่ดีไปด้วย ถ้าเทียบกับสุภาษิตเมืองไทยคงประมาณว่า ปลาเน่าตัวเดียว เหม็นทั้งข้อง กระมังครับ
สมัยเด็กๆ ทุกคนจะได้รับการสอนจากคุณครูและผู้ใหญ่ทุกคนมาตลอดว่า ถ้าเธอทำผิดเพียงคนเดียว..คนในกลุ่มทุกคนจะโดนกล่าวหาไปด้วย การที่ถูกสั่งสอนมาตั้งแต่เด็กทำให้ค่านิยมความคิดเหล่านี้ถูกฝั่งติดเป็นลักษณะนิสัยยาวนาน มองในแง่ดีก็ดีนะครับแต่บางทีการถูกสอนให้คิดลักษณะนี้มันมีผลลบบางอย่างที่ทำให้เกิดเป็นนิสัยอย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่นทั่วๆ ไปจนยากจะถอนออกจากความคิด ตอนแรกๆ อาจจะยังไม่ได้เอะใจอะไรจนเมื่อผมเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย มีครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสเดินทางมาเที่ยวเกาะพีพีที่เมืองไทยนี่แหละครับ ผมมาเรียนดำน้ำที่นั่น ครูที่สอนดำน้ำเป็นชาวสวีเดน ช่วงนั้นก็มีเรียนทฤษฎีและลองปฏิบัติรวมเวลาประมาณ 2-3 วัน แต่มีวันหนึ่งที่ครูชาวสวีเดนเค้าดำน้ำมาเกินลิมิตของวันนั้นแล้วจึงให้คุณครูชาวญี่ปุ่นมาสอนผมแทน ผมไปดำน้ำกับครูญี่ปุ่นแต่ครูสวีเดนก็รออยู่ที่เรือ วันนั้นเขาใส่ชุดดำทั้งชุด ทั้งเสื้อและกางเกงยาวในวันที่อากาศร้อนแรงแบบนี้ใส่เสื้อผ้าชุดดำแบบนี้จะไม่ยิ่งร้อนเข้าไปอีกเหรอ

ผมเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนสนิทคนหนึ่งฟังเพื่อนผมและผมคิดเหมือนกันคือ ถ้าคนญี่ปุ่นคนอื่นมองครูสวีเดนคนนี้ต้องคิดว่าคนสวีเดนแปลกนะที่ร้อนขนาดนี้ยังใส่ชุดสีดำแขนขายาว และจะมองเหมาไปว่าคนสวีเดนคนอื่นๆ ก็จะเป็นแบบเดียวกันนี้ คือผมกำลังจะบอกว่า การศึกษาญี่ปุ่นเรื่องดีๆ ก็มีเยอะ แต่เรื่องที่หล่อหลอมคนให้เชื่อไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากไปบางทีก็ไม่ดี เชื่อเถอะครับคนญี่ปุ่นมากกว่า 70% มีความคิดไปในทิศทางการมองแบบเหมารวม เหมือนที่เคยถูกสั่งสอนมาว่า ถ้าเธอเป็นแบบไหน คนอื่นๆ จะถูกมองเหมาเป็นแบบเดียวกัน เหมือนเรื่องครูสวีเดนแหละครับที่ผมกับเพื่อนสนิทพูดออกมาตรงกันและหัวเราะขึ้นมาพร้อมกันกับการศึกษาและมุมมองในประเด็นเหมารวมของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่
อีกเรื่องสมัยที่ผมอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนจัดทัศนศึกษาที่เกียวโต นักเรียนประมาณร้อยกว่าคน ต้องอยู่ในกฏระเบียบที่วางไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งเรื่องการกำหนดเวลาการลงแช่น้ำร้อนออนเซ็น คุณครูแจ้งนักเรียนชัดเจนว่าให้ใช้ออนเซ็นได้กี่โมงถึงกี่โมง และห้ามใช้ออนเซ็นนอกเวลาจากที่ระบุ แต่ครั้งนั้นมีนักเรียนหญิงคนหนึ่งใช้ออนเซ็นผิดเวลาไปจากที่คุณครูระบุ เป็นเหตุให้กินเวลาของนักเรียนโรงเรียนอื่น แน่นอนครับระบบญี่ปุ่นคุณครูไม่ได้เรียกตำหนินักเรียนหญิงที่ทำผิดเพียงคนเดียวแต่ทุกคนที่ไปทัศนศึกษาครั้งนั้นต้องโดนเอ็ดไปด้วยทุกคน เรื่องอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกันสมมุติมีใครไม่รู้ทำแก้วของส่วนรวมแตก แล้วหาตัวคนทำไม่ได้ คนอื่นๆ ก็จะโดนลูกหลงไปด้วย

เรื่องโดนลูกหลงนี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่คนญี่ปุ่นโดนกันมาตั้งแต่เด็กจนโต คงเป็นความเข็ดขยาดละมังจึงมักไม่อยากทำผิดอะไร แต่ถ้าพูดถึงการโดนลูกหลงหรือโดนนายหรือหัวหน้าด่ากราดในที่ทำงาน แม้ว่าเราไม่ได้ผิดนี่ก็เป็นเรื่องเกือบจะปกติของชีวิตสังคมการทำงานแบบญี่ปุ่นครับ
เรื่องต่างๆ ที่เล่ามาข้างบนทั้งเรื่องความคิดเหมารวม ทั้งเรื่องทำผิดคนเดียวจะโดนทุกคนนั้นมีมาช้านานแล้วตั้งแต่
♢五人組 Go-nin Gumi สมัยเอโดะ 江戸時代 ช่วงโชกุนTokugawa มีระบบที่เรียกว่า 五人組 Go-nin Gumi คือกลุ่ม 5 คน จะจัดกลุ่มประชาชนเป็นกลุ่มๆ ละ 5 คน ประมาณว่าให้ร่วมกันรับผิดชอบซึ่งกันและกันในกลุ่มตัวเอง สมัยก่อนนั้นมีการห้ามเป็นคริสเตียน จึงให้กลุ่มห้าคนนี้ช่วยกันจับผิดเพื่อนถ้าใครในกลุ่มเป็นคริสเตียนก็จะทำให้คนอื่นๆ ในกลุ่มโดนลงโทษไปด้วย
♢隣組 Tonari-Gumi ช่วงปี 1940 เป็นช่วง 5 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ถือเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นมืดมนมาก ใครเคยดูอนิเมชั่นเรื่อง สุสานหิ่งห้อย ลองจินตนาการตามได้เลยครับว่าหดหู่ทรมานกันมากแค่ไหน ช่วงนั้นรัฐบาลใช้หลักการคล้ายๆ Go-nin Gumi ให้ช่วยกันจับคอมมิวนิสต์ จับสายลับ เป็นต้น แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามก็มีอเมริกาและต่างชาติเข้ามาเริ่มแทรกแซงและห้ามระบบเหล่านี้ แต่ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะเริ่มพัฒนาและเดินตามรอยตะวันตกแค่ไหน แต่ลึกๆ จากสปิริตแล้วระบบที่ฝังลึกรากเหง้าทั้งหลายเหล่านี้ก็ยังอยู่กับความเป็นญี่ปุ่นตลอดมา ลองฟังตามลิงค์ เพลงที่เกี่ยวกับ 隣組 Tonari-Gumi https://m.youtube.com/watch?v=kQf-aO95ezU

♢ญี่ปุ่นแม้จะยุคปัจจุบันก็ยังมีนิสัยแอบส่องกัน คือแอบสืบและมองคนรอบข้าง และถ้าใครเกิดทำผิดขึ้นมาก็จะทำให้คนอื่นๆ รอบข้างโดนไปด้วย อย่างที่บอกว่ามีสั่งมีสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ นั่นเอง
♢พูดถึงเรื่อง とばっちり Tobatchiri ในชีวิตการทำงานสักหน่อยครับ ก็เกี่ยวเนื่องกับความคิดต่างๆ อย่างที่เล่าไปข้างบนนั่นเองแต่เหมือนเป็นการโดนลูกหลงหรือโดนนายหรือหัวหน้าด่ากราดในที่ทำงานมากกว่า จะยกตัวอย่างเหตุการณ์ให้นึกภาพง่ายๆ คือ
* สมมติว่านายเอทำงานผิดพลาด หรือไม่เสร็จตามแผนที่กำหนดเป็นเหตุทำให้หัวหน้าโกรธและเรียกนายเอมาว่า แต่ไม่ได้ว่าแค่เรื่องแผนการที่ผิดพลาดเท่านั้นกลายเป็นขุดเรื่องอื่นๆ ที่อาจจะไม่เกี่ยวกับการงานนั้นๆ มาพูด แบบนี้ก็เรียกว่า Tobatchiri
* กรณีที่มีคนขโมยของส่วนรวมของบริษัทไป เป็นเหตุทำให้การเบิกจ่ายของนั้นยากขึ้น คนอื่นๆ ถูกเช็คมากขึ้น แบบนี้ก็เรียกว่า Tobatchiri
* หรือนายเอทำผิดแต่คนที่อยู่ใกล้ๆ ก็โดนด่าตามๆ กันไปรายตัว แบบนี้ก็เรียกว่า Tobatchiri

* สมมุติว่ามีพนักงานคนหนึ่งดื่มเหล้าแล้วขับรถชนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา กฏของบริษัทส่วนใหญ่จะไล่พนักงานคนนั้นออก จึงทำให้ตำแหน่งของพนักงานคนนั้นว่าง ที่นี้คนที่จะถูกย้ายมาทำงานแทนตำแหน่งคนที่ถูกไล่ออกหรือใครก็ตามที่จะต้องถูกย้ายไปแทนตำแหน่งเดิมของคนที่ทำผิดร้ายแรงเนี่ย คนที่ถูกย้ายไปแทนอาจจะไม่อยากไป ( แต่ก็ต้องไป) แบบนี้ก็เรียกว่า Tobatchiri
เหล่านี้เป็นต้น ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ ที่เคยทำงานบริษัทญี่ปุ่นเคยเจอเคสอย่างที่เล่าไปไหมครับ นี่ก็เป็นอีกมุมของนิสัยอันฝังลึกของคนญี่ปุ่นครับ วันนี้สวัสดีครับ
แต่เรื่องที่ทำให้ผมเกิดประเด็นก็ตรงความแปลกของคนที่เจอนี่แหละครับ จะพูดอย่างไรดีล่ะที่ว่าแปลกนี่คือในความรู้สึกผมคนญี่ปุ่นที่เจอนอกประเทศญี่ปุ่นมักจะมีบุคคลิกที่น่าสนใจ ไม่ตลก ก็รั่ว หรือไม่ก็เฟรนลี่ใจดีไปเลย มันทำให้เป็นที่จดจำได้ง่ายไม่เหมือนกับคนญี่ปุ่นในออฟฟิศที่ทำงานที่มักจะไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนเองอะไรที่โดดเด่นจนเป็นที่จดจำ
เพื่อนผมคนหนึ่งไม่ชอบอยู่ญี่ปุ่น เขาเคยไปทำงานและอาศัยอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียหลายปี เขาเล่าให้ผมฟังว่าครั้งหนึ่งมีงานปาร์ตี้ที่ผู้จัดและเชิญคนมามากมาย อยู่กันจนดึกดื่นไม่มีรถกลับบ้าน เพื่อนที่รู้จักกันห่างๆ จึงชวนไปพักที่บ้านเขา ตื่นเช้ามาเมื่อจะร่ำลากัน เพื่อนผมเขาบอกว่าเหมือนรู้สึกว่าคนออสเตรเลียคอยเช็คว่าเพื่อนผมจะขโมยของอะไรในบ้านไปไหม แต่เพื่อนผมไม่ได้ขโมย นี่เองเป็นที่มาของเรื่องที่จะเล่าในวันนี้ เกี่ยวกับลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่น
ทำไมเพื่อนผมหรือคนญี่ปุ่นหลายๆ คนไม่ขโมยของคนอื่น เพราะตั้งแต่เด็กๆ จะได้รับการอบรมสั่งสอนมาว่า ถ้าเราทำไม่ดีเพียงคนเดียวคนอื่นๆ รอบข้างจะโดนกล่าวหาว่าไม่ดีไปด้วย ถ้าเทียบกับสุภาษิตเมืองไทยคงประมาณว่า ปลาเน่าตัวเดียว เหม็นทั้งข้อง กระมังครับ
สมัยเด็กๆ ทุกคนจะได้รับการสอนจากคุณครูและผู้ใหญ่ทุกคนมาตลอดว่า ถ้าเธอทำผิดเพียงคนเดียว..คนในกลุ่มทุกคนจะโดนกล่าวหาไปด้วย การที่ถูกสั่งสอนมาตั้งแต่เด็กทำให้ค่านิยมความคิดเหล่านี้ถูกฝั่งติดเป็นลักษณะนิสัยยาวนาน มองในแง่ดีก็ดีนะครับแต่บางทีการถูกสอนให้คิดลักษณะนี้มันมีผลลบบางอย่างที่ทำให้เกิดเป็นนิสัยอย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่นทั่วๆ ไปจนยากจะถอนออกจากความคิด ตอนแรกๆ อาจจะยังไม่ได้เอะใจอะไรจนเมื่อผมเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย มีครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสเดินทางมาเที่ยวเกาะพีพีที่เมืองไทยนี่แหละครับ ผมมาเรียนดำน้ำที่นั่น ครูที่สอนดำน้ำเป็นชาวสวีเดน ช่วงนั้นก็มีเรียนทฤษฎีและลองปฏิบัติรวมเวลาประมาณ 2-3 วัน แต่มีวันหนึ่งที่ครูชาวสวีเดนเค้าดำน้ำมาเกินลิมิตของวันนั้นแล้วจึงให้คุณครูชาวญี่ปุ่นมาสอนผมแทน ผมไปดำน้ำกับครูญี่ปุ่นแต่ครูสวีเดนก็รออยู่ที่เรือ วันนั้นเขาใส่ชุดดำทั้งชุด ทั้งเสื้อและกางเกงยาวในวันที่อากาศร้อนแรงแบบนี้ใส่เสื้อผ้าชุดดำแบบนี้จะไม่ยิ่งร้อนเข้าไปอีกเหรอ
ผมเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนสนิทคนหนึ่งฟังเพื่อนผมและผมคิดเหมือนกันคือ ถ้าคนญี่ปุ่นคนอื่นมองครูสวีเดนคนนี้ต้องคิดว่าคนสวีเดนแปลกนะที่ร้อนขนาดนี้ยังใส่ชุดสีดำแขนขายาว และจะมองเหมาไปว่าคนสวีเดนคนอื่นๆ ก็จะเป็นแบบเดียวกันนี้ คือผมกำลังจะบอกว่า การศึกษาญี่ปุ่นเรื่องดีๆ ก็มีเยอะ แต่เรื่องที่หล่อหลอมคนให้เชื่อไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากไปบางทีก็ไม่ดี เชื่อเถอะครับคนญี่ปุ่นมากกว่า 70% มีความคิดไปในทิศทางการมองแบบเหมารวม เหมือนที่เคยถูกสั่งสอนมาว่า ถ้าเธอเป็นแบบไหน คนอื่นๆ จะถูกมองเหมาเป็นแบบเดียวกัน เหมือนเรื่องครูสวีเดนแหละครับที่ผมกับเพื่อนสนิทพูดออกมาตรงกันและหัวเราะขึ้นมาพร้อมกันกับการศึกษาและมุมมองในประเด็นเหมารวมของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่
อีกเรื่องสมัยที่ผมอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนจัดทัศนศึกษาที่เกียวโต นักเรียนประมาณร้อยกว่าคน ต้องอยู่ในกฏระเบียบที่วางไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งเรื่องการกำหนดเวลาการลงแช่น้ำร้อนออนเซ็น คุณครูแจ้งนักเรียนชัดเจนว่าให้ใช้ออนเซ็นได้กี่โมงถึงกี่โมง และห้ามใช้ออนเซ็นนอกเวลาจากที่ระบุ แต่ครั้งนั้นมีนักเรียนหญิงคนหนึ่งใช้ออนเซ็นผิดเวลาไปจากที่คุณครูระบุ เป็นเหตุให้กินเวลาของนักเรียนโรงเรียนอื่น แน่นอนครับระบบญี่ปุ่นคุณครูไม่ได้เรียกตำหนินักเรียนหญิงที่ทำผิดเพียงคนเดียวแต่ทุกคนที่ไปทัศนศึกษาครั้งนั้นต้องโดนเอ็ดไปด้วยทุกคน เรื่องอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกันสมมุติมีใครไม่รู้ทำแก้วของส่วนรวมแตก แล้วหาตัวคนทำไม่ได้ คนอื่นๆ ก็จะโดนลูกหลงไปด้วย
เรื่องโดนลูกหลงนี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่คนญี่ปุ่นโดนกันมาตั้งแต่เด็กจนโต คงเป็นความเข็ดขยาดละมังจึงมักไม่อยากทำผิดอะไร แต่ถ้าพูดถึงการโดนลูกหลงหรือโดนนายหรือหัวหน้าด่ากราดในที่ทำงาน แม้ว่าเราไม่ได้ผิดนี่ก็เป็นเรื่องเกือบจะปกติของชีวิตสังคมการทำงานแบบญี่ปุ่นครับ
เรื่องต่างๆ ที่เล่ามาข้างบนทั้งเรื่องความคิดเหมารวม ทั้งเรื่องทำผิดคนเดียวจะโดนทุกคนนั้นมีมาช้านานแล้วตั้งแต่
♢五人組 Go-nin Gumi สมัยเอโดะ 江戸時代 ช่วงโชกุนTokugawa มีระบบที่เรียกว่า 五人組 Go-nin Gumi คือกลุ่ม 5 คน จะจัดกลุ่มประชาชนเป็นกลุ่มๆ ละ 5 คน ประมาณว่าให้ร่วมกันรับผิดชอบซึ่งกันและกันในกลุ่มตัวเอง สมัยก่อนนั้นมีการห้ามเป็นคริสเตียน จึงให้กลุ่มห้าคนนี้ช่วยกันจับผิดเพื่อนถ้าใครในกลุ่มเป็นคริสเตียนก็จะทำให้คนอื่นๆ ในกลุ่มโดนลงโทษไปด้วย
♢隣組 Tonari-Gumi ช่วงปี 1940 เป็นช่วง 5 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ถือเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นมืดมนมาก ใครเคยดูอนิเมชั่นเรื่อง สุสานหิ่งห้อย ลองจินตนาการตามได้เลยครับว่าหดหู่ทรมานกันมากแค่ไหน ช่วงนั้นรัฐบาลใช้หลักการคล้ายๆ Go-nin Gumi ให้ช่วยกันจับคอมมิวนิสต์ จับสายลับ เป็นต้น แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามก็มีอเมริกาและต่างชาติเข้ามาเริ่มแทรกแซงและห้ามระบบเหล่านี้ แต่ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะเริ่มพัฒนาและเดินตามรอยตะวันตกแค่ไหน แต่ลึกๆ จากสปิริตแล้วระบบที่ฝังลึกรากเหง้าทั้งหลายเหล่านี้ก็ยังอยู่กับความเป็นญี่ปุ่นตลอดมา ลองฟังตามลิงค์ เพลงที่เกี่ยวกับ 隣組 Tonari-Gumi https://m.youtube.com/watch?v=kQf-aO95ezU
♢ญี่ปุ่นแม้จะยุคปัจจุบันก็ยังมีนิสัยแอบส่องกัน คือแอบสืบและมองคนรอบข้าง และถ้าใครเกิดทำผิดขึ้นมาก็จะทำให้คนอื่นๆ รอบข้างโดนไปด้วย อย่างที่บอกว่ามีสั่งมีสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ นั่นเอง
♢พูดถึงเรื่อง とばっちり Tobatchiri ในชีวิตการทำงานสักหน่อยครับ ก็เกี่ยวเนื่องกับความคิดต่างๆ อย่างที่เล่าไปข้างบนนั่นเองแต่เหมือนเป็นการโดนลูกหลงหรือโดนนายหรือหัวหน้าด่ากราดในที่ทำงานมากกว่า จะยกตัวอย่างเหตุการณ์ให้นึกภาพง่ายๆ คือ
* สมมติว่านายเอทำงานผิดพลาด หรือไม่เสร็จตามแผนที่กำหนดเป็นเหตุทำให้หัวหน้าโกรธและเรียกนายเอมาว่า แต่ไม่ได้ว่าแค่เรื่องแผนการที่ผิดพลาดเท่านั้นกลายเป็นขุดเรื่องอื่นๆ ที่อาจจะไม่เกี่ยวกับการงานนั้นๆ มาพูด แบบนี้ก็เรียกว่า Tobatchiri
* กรณีที่มีคนขโมยของส่วนรวมของบริษัทไป เป็นเหตุทำให้การเบิกจ่ายของนั้นยากขึ้น คนอื่นๆ ถูกเช็คมากขึ้น แบบนี้ก็เรียกว่า Tobatchiri
* หรือนายเอทำผิดแต่คนที่อยู่ใกล้ๆ ก็โดนด่าตามๆ กันไปรายตัว แบบนี้ก็เรียกว่า Tobatchiri
* สมมุติว่ามีพนักงานคนหนึ่งดื่มเหล้าแล้วขับรถชนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา กฏของบริษัทส่วนใหญ่จะไล่พนักงานคนนั้นออก จึงทำให้ตำแหน่งของพนักงานคนนั้นว่าง ที่นี้คนที่จะถูกย้ายมาทำงานแทนตำแหน่งคนที่ถูกไล่ออกหรือใครก็ตามที่จะต้องถูกย้ายไปแทนตำแหน่งเดิมของคนที่ทำผิดร้ายแรงเนี่ย คนที่ถูกย้ายไปแทนอาจจะไม่อยากไป ( แต่ก็ต้องไป) แบบนี้ก็เรียกว่า Tobatchiri
เหล่านี้เป็นต้น ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ ที่เคยทำงานบริษัทญี่ปุ่นเคยเจอเคสอย่างที่เล่าไปไหมครับ นี่ก็เป็นอีกมุมของนิสัยอันฝังลึกของคนญี่ปุ่นครับ วันนี้สวัสดีครับ