การตรวจวัด ระดับน้ำตาลในเลือด หรือการเจาะน้ำตาลหลังอดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar: FBS)โดยระดับน้ำตาลในเลือดจะสามารถบ่งบอกถึงปริมาณของกลูโคสในกระแสเลือด ณ ขณะนั้นว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งการตรวจน้ำตาลในเลือดนี้เป็นการตรวจที่ช่วยคัดกรองและวินิจฉัยว่าเรามีเสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่?!
ปัจจุบัน เราสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง (Self Monitoring of Blood Glucose) ซึ่งสามารถตรวจได้เองเป็นประจำ มีข้อดีคือ ทำให้ทราบความเสี่ยงว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ และทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ทันที
ดู ระดับของน้ำตาลในเลือด อย่างไร?
การดูระดับน้ำตาลในเลือด เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือกำลังดูแลตัวเองจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ การตรวจนี้สามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยแต่ละวิธีมีข้อดีและความเหมาะสมที่แตกต่างกัน เรามาดูกันว่ามีวิธีใดบ้างที่สามารถใช้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้
1. การตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว
วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน เนื่องจากใช้งานง่ายและให้ผลลัพธ์รวดเร็ว
เหมาะสำหรับ: การตรวจติดตามระดับน้ำตาลในชีวิตประจำวัน เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2
2. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจากหลอดเลือดดำ
การตรวจนี้จะดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลหรือคลินิก โดยการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำเพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องแล็บ
เหมาะสำหรับ: การตรวจสุขภาพประจำปี หรือการวินิจฉัยโรคเบาหวานอย่างละเอียด
3. การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c)
การตรวจ HbA1c เป็นการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดย้อนหลัง 2-3 เดือน โดยพิจารณาจากปริมาณน้ำตาลที่เกาะอยู่บนเม็ดเลือดแดง
4. Continuous Glucose Monitoring (CGM)
เทคโนโลยีการตรวจน้ำตาลในเลือดแบบต่อเนื่อง (CGM) เป็นวิธีการใหม่ที่ช่วยให้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดตลอด 24 ชั่วโมง
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ต้องการข้อมูลน้ำตาลแบบเรียลไทม์ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ต้องการปรับอินซูลินอย่างแม่นยำฃ
ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 70-100 คุณอยู่ในภาวะปกติ
ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 คุณมีภาวะความเสี่ยง หรือเรียกว่า เบาหวานแฝง
ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
ระดับน้ำตาลในเลือด
ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งระดับน้ำตาลที่ปกติ จะอยู่ที่ประมาณ 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่หากค่าที่ได้สูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ขึ้นไปอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
ภาวะ ระดับน้ำตาลในเลือด สูงเป็นอย่างไร?
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคเบาหวาน การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตสูงเกินไป ความเครียด หรือการขาดการออกกำลังกาย ภาวะนี้สามารถส่งผลต่อสุขภาพได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
สัญญาณและอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
เหนื่อยง่าย
กระหายน้ำมาก
ปัสสาวะบ่อย (โดยเฉพาะกลางคืน)
ปวดศีรษะ
มองเห็นไม่ชัด
หากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ เป็นเวลานาน อาจส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือด จนเกิดภาวะอักเสบและอุดตัน และอาจทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายอีกด้วย
น้ำตาลในเลือดสูง
คุณกำลังเผชิญกับปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) หรือกังวลเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของคุณหรือไม่? ที่โรงพยาบาลศครินทร์ เรามีบริการตรวจวินิจฉัยและดูแลสุขภาพอย่างครบวงจรเพื่อช่วยให้คุณจัดการระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเราจะวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำด้านโภชนาการ การใช้ยา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต พร้อมด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและบริการที่ใส่ใจในทุกขั้นตอน มั่นใจได้ว่าคุณจะลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ไตเสื่อม หรือปลายประสาทอักเสบ