xs
xsm
sm
md
lg

9 อาการ “ไฮโปไทรอยด์” ภาวะพร่องฮอร์โมนที่ต้องระวัง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



9 อาการ “ไฮโปไทรอยด์” ภาวะพร่องฮอร์โมนที่ต้องระวัง
ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในภาวะความผิดปกติจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ ที่ผลิตฮอร์โมนออกมาได้น้อยกว่าความต้องการของส่วนต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกายให้ทำงานได้ช้าลง จึงทำให้หลายคนที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์นี้อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ตัวบวมและดูอ้วนขึ้นได้ สำหรับใครที่กำลังสงสัยหรือมีความผิดปกติของไทรอยด์ เรามาลองเช็กลิสต์ 9 อาการที่เข้าข่ายเสี่ยงไฮโปไทรอยด์ ว่าอาการที่คุณกำลังเป็นใช่ภาวะไฮโปไทรอยด์หรือไม่

ไทรอยด์เป็นพิษกับไฮโปไทรอยด์คืออะไร เกิดจากอะไร ?
“ไทรอยด์” (Thyroid Gland) เป็นต่อมไร้ท่อต่อมหนึ่งในร่างกาย มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนและหลั่งเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นระบบ ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมองและต่อมไฮโปธาลามัส ซึ่งช่วยให้ร่างกายและอวัยวะเจริญเติบโตตามวัย ควบคุมการเผาผลาญและอุณหภูมิในร่างกาย รวมถึงส่งเสริมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ระบบสมองและประสาท ภาวะทางอารมณ์ กล้ามเนื้อต่างๆ หัวใจ กระดูก เป็นต้น

ซึ่งภาวะไฮโปไทรอยด์ คือโรคไทรอยด์ประเภทหนึ่งที่เกิดจากระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยเกินไป จึงทำให้การทำงานของเซลล์ในร่างกายเชื่องช้ากว่าปกติ โดยส่งผลให้ร่างกายและอวัยวะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามวัย ร่างกายสูญเสียระบบการเผาผลาญและอุณหภูมิในร่างกาย ร่วมถึงพลังงานในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในระบบสำคัญ เช่น ระบบสมองและประสาท ภาวะทางอารมณ์ กล้ามเนื้อต่างๆ หัวใจ กระดูกไม่เพียงพอและเกิดเป็นโรคอื่นๆ ตามมา

เปิด 9 อาการของไฮโปไทรอยด์ สังเกตได้อย่างไรบ้าง ?

1. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
ผู้ที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ หรือร่างกายผลิตฮอร์โมนได้น้อยเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของหัวใจ จึงทำให้รู้สึกใจสั่นง่าย อ่อนเพลียและไม่กระฉับกระเฉงได้

2. ทำอะไรเชื่องช้า ขี้หนาว
ในภาวะไฮโปไทรอยด์ ร่างกายจะมีพลังงานในการทำงานต่ำกว่าปกติที่ควรเป็น จึงทำให้ระบบเผาผลาญทำงานลดลง ความร้อนในร่างกายก็ลดน้อยลงตามไปด้วย ส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะขาดไทรอยด์มักขี้หนาว หรือหนาวง่ายนั่นเอง

3. เบื่ออาหาร
ในบางรายที่มีภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์มักมีอาการเบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอาหาร เนื่องจากฮอร์โมนที่บกพร่องทำให้ร่างกายสูญเสียสมดุลในระบบการเผาผลาญ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเบื่ออาหารได้นั่นเอง

4. ท้องผูก
จากการทำงานของเซลล์ที่เชื่องช้ากว่าปกติ ทำให้ลำไส้ทำงานได้น้อยลงและเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ จึงทำให้ผู้ที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์มีอาการท้องผูกบ่อยๆ

5. น้ำหนักขึ้น
เมื่อร่างกายสูญเสียระบบการเผาผลาญและการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ร่วมถึงพลังงานในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำให้ระบบเมตาบอลิซึมที่ช่วยเผาผลาญลดต่ำลง ส่งผลให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ง่าย

6. หน้าบวม หนังตาบวม เสียงแหบ ผิวหยาบและแห้ง ผมแห้งและร่วง
นอกจากระบบเผาผลาญต่ำลงทำให้อ้วนง่ายขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้เหงื่อออกน้อยลง ผิวแห้งมากขึ้น รวมถึงผมร่วง ผมแห้งผิดปกติ เนื่องจากภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้ผมเส้นบางและเล็กลง

7. กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ปวดกล้ามเนื้อ
เมื่อไทรอยด์ทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งส่งผลให้เวลาลุกขึ้นยืนหยิบของบนชั้นสูง เดินขึ้นบันได หรือลุกขึ้นจากการนั่งยองๆ ทำได้ลำบาก ร่วมกับมีอาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว หรือกล้ามเนื้อกระตุกได้

8. ไขมันและคอเลสเตอรอลสูง
ระดับฮอร์โมนที่ต่ำลงจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น และเมื่อคอเลสเตอรอลสูงทำให้เกิดไขมันสะสมในหลอดเลือดแดงได้ ซึ่งนั่นทำให้ประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือดแย่ลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อไปได้

9. ความดันโลหิตสูง ชีพจรเต้นช้า
เมื่อฮอร์โมนในร่างกายต่ำลง ทำให้พลังงานในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดน้อยลง ส่งผลให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานผิดปกติด้วยนั้น อาจทำให้หัวใจเต้นได้ช้าลงเนื่องจากการทำงานของเซลล์ในร่างกายเชื่องช้ากว่าปกติ รวมไปถึงระดับไขมันและคอเรสเตอรอลที่สูงขึ้นทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้นได้อีกด้วย

ค้นหาความเสี่ยง เช็กให้ชัวร์ว่าใช่หรือไม่ กับแพ็กเกจตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์

สำหรับผู้ที่สงสัยและมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ มีอาการคล้ายคลึงกับอาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ ที่โรงพยาบาลวิมุตเราได้ออกแบบแพ็จเกจตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไทรอยด์ กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่อมไร้ท่อ Physical Examination จากศูนย์บาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก ที่จะทำการตรวจร่างกายและตรวจวัดระดับค่าการทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH FT4 และ Total T3 เพื่อค้นหาความผิดปกติจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ ที่จะช่วยให้คุณได้รับการรักษาอย่างตรงจุดและเท่าทันปัญหาสุขภาพได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

แม้ว่าโรคไทรอยด์ในภาวะไฮโปไทรอยด์จะดูเหมือนไม่รุนแรงและน่ากลัว แต่การปล่อยให้โรคดำเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการรักษา นั่นอาจทำให้ร่างกายได้รับความเสียหายที่สะสมไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ดังนั้น หากคุณสังเกตพบว่าร่างกายมีอาการของภาวะไฮโปไทรอยด์ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น แนะนำให้เข้าตรวจคัดกรองและพบแพทย์เพื่อค้นหาแนวทางการรักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคลได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
กำลังโหลดความคิดเห็น