ช่วยบำรุงเลือด
ช่วยห้ามเลือด
รักษาอาการกำเดาออก
แก้อุจจาระเป็นเลือด
แก้ท้องผูก
ช่วยบำรุงสายตา
ช่วยบำรุงสมอง
บำรุงผิวพรรณให้ผุดผ่อง
บำรุงประสาท
แก้โรคมะเร็ง
รักษาโรคตามองไม่เห็นในเวลากลางคืน
แก้โรคซึมเศร้า
รักษาโลหิตจาง
แก้โรคสมองเสื่อม
ช่วยกระตุ้นความจำ
รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ปวยเล้งถูกนำมาใช้ในด้านอาหารเป็นหลักมาตั้งแต่โบราณแล้ว โดยในอดีตชาวชาวอาหรับถึงกับให้สมญาผักปวยเล้งว่า “ราชาแห่งผัก” ซึ่งปวยเล้งสามารถนำมารับประทานได้ทั้งก้านใบ และดอก และยังเป็นผักที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูง นิยมรับประทานเป็นผักสด ผักลวก และใช้ประกอบอาหารหลายเมนู ทั้งนี้มีการศึกษาวิจัยในผักปวยเล้ง 600 กรัม มีโปรตีนถึง 12 กรัม ซึ่งเท่ากับไข่ 2 ฟอง สูงกว่าโปรตีนในผักกาดขาว 2 เท่า และมีแคโรทีน 17.76 มก. ซึ่งมากกว่าในหัวผักกาดขาว และมีวิตามินซี 174 มก. ซึ่งมากกว่าในหัวผักกาดขาว 2 เท่า สูงกว่าผักกาดขาว 1 เท่า โดยนักวิชาการเชื่อว่าผักปวยเล้งเป็นผักที่เหมาะสำหรับเด็ก และผู้ป่วยอีกด้วย นอกจากจะนำปวยเล้งมาเป็นอาหารแล้วในด้านสมุนไพรยังนำปวยเล้งมาเป็นสมุนไพร บำบัดรักษาโรค ต่างๆอีก โดยมีการระบุถึงสรรพคุณดังนี้
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ปวยเล้ง
สำหรับรูปแบบการใช้ปวยเล้ง เป็นสมุนไพรนั้นก็มีรูปแบบการใช้รับประทาน เช่นเดียวกับการนำไปทำอาหาร โดยมีรูปแบบปละวิธีการใช้ที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาดังนี้
ใช้รักษาโรคตามองไม่เห็นในเวลากลางคืน โดยใช้ผักปวยเล้ง 300 กรัม ตำให้แหลกคั้นเอาน้ำ ดื่มตอนเช้า และเย็นติดต่อกันระยะหนึ่ง แก้อาการท้องผูกไม่ถ่าย โดยใช้ผักปวยเล้ง 300 กรัม ลวกในน้ำเดือดแล้วคลุกกับน้ำมันงา กินเช้า และเย็น ใช้รักษาโลหิตจาง โดยนำผักปวยเล้งผัดกับตับหมูกินเป็นประจำ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการนำปวยเล้งมาสกัดในรูปแบบผักปวยเล้งอัดเม็ด รวมถึง ผักรวม อัดเม็ด เพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ดังนั้นทางองค์การอาหาร และยาจึงได้มีการกำหนดรูปแบบ และขนาดวิธีใช้เอาไว้ดังนี้ กำหนดให้ใช้ใบ บดผง หรือ สกัดด้วยน้ำ ให้มีปริมาณการบริโภค ไม่เกิน 800 ไมโครกรัม/วัน (คำนวณเป็นวิตามินA) และมีปริมาณอาหารไม่เกิน 25 กรัม/วัน
ลักษณะทั่วไปของปวยเล้ง
ปวยเล้ง จัดเป็นพืชล้มลุกฤดูเดียว สูงได้ถึงประมาณ 30-50 เซนติเมตร โดยเป็นพืชที่มีลำต้นสั้น ส่วนระบบรากประกอบด้วยรากแก้ว และแตกรากฝอยออกด้านข้าง โคนรากมักเป็นสีชมพูเช่นเดียวกับโคนต้น
ใบ ออกเป็นใบเดียวเรียงสลับโดยจะออกเวียนล้อมรอบลำต้น ประกอบด้วยก้านใบเรียวยาว มีความยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลักษณะก้านใบด้านล่างบน ก้านใบด้านบนเว้าเป็นร่องตรงกลาง คล้ายก้านผักกาดส่วนแผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือฐานสามเหลี่ยมมีขนาดใหญ่สีเขียวเข้มค่อนข้างหนา และเป็นมัน ใต้แผ่นใบมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม กว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบมีทั้งชนิดขอบย่น และเรียบ
ดอก ออกเป็นช่อตรงกลางลำต้น ทั้งดอกสมบูรณ์เพศ ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น และดอกแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร มีดอกย่อยสีเหลืองเขียวขนาด 3-4 มิลลิเมตร อยู่จำนวนมาก
ผล เป็นรูปทรงกลม หรือ รูปไข่ขนาดเล็ก 5-10 มิลลิเมตร ส่วนด้านในมีเมล็ดจำนวนมาก ส่วนเมล็ดปวยเล้งจะมี 2 ลักษณะ คือ เมล็ดกลม ที่เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในแถบฤดูหนาว และเมล็ดหนาม ที่เป็นพันธุ์ปลูกมากในประเทศอบอุ่น