xs
xsm
sm
md
lg

สะตอ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ชื่อสมุนไพร สะตอ
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น สะตอข้าว, สะตอดาน (ทั่วไป), ตอ, ลูกตอ (ภาคใต้, ระนอง), ปาไต (สตูล, ปะตา, ปัดเต๊าะ (มลายู)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia speciosa Hassk.
ชื่อสามัญ Stink bean, Bitter bean, Twisted cluster bean
วงศ์ Leguminosae

ถิ่นกำเนิดสะตอ
สะตอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย รวมถึงทางตอนใต้ของไทย และพม่า โดยสะตอเจริญเติบโตได้ดีตามเชิงเขาที่มีสภาพป่าสมบูรณ์ ที่มีความชื้นในอากาศสูง ในอดีตสะตอ จะเป็นพืชที่มีการนิยมนำมาใช้เป็นอาหารเฉพาะถิ่นเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการนำไปบริโภค และใช้เป็นอาหารอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง สำหรับในประเทศไทยแหล่งปลูกสะตอที่สำคัญจะอยู่ในบริเวณภาคใต้ของประเทศ เช่น ระนอง, ชุมพร, สงขลา, สตูล, พัทลุง, ปัตตานี และนราธิวาช เป็นต้น เป็นต้น

ประโยชน์และสรรพคุณสะตอ
ช่วยขับลมในลำไส้
ช่วยเจริญอาหาร
ช่วยขับปัสสาวะ
แก้ปัสสาวะปวดขัด หรือ กะปริบกะปรอย
แก้ไตพิการ
แก้ปัสสาวะมีสีขุ่นข้น เหลือง หรือแดง
แก้อาการแน่นท้อ
แก้อาการผิดปกติของไต
ช่วยบำรุงสายตา
ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

สำหรับรูปแบบการใช้สะตอ เป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาอาการต่างๆ ตามสรรพคุณทางยาของตำรายาไทยนั้น โดยส่วนมากแล้วจะเป็นการนำเมล็ดสะตอมารับประทานในรูปแบบของอาหาร ทั้งการกินสดๆ และการนำมาประกอบอาหารมากกว่าการนำมาใช้แปรรูปเป็นยาเหมือนสมุนไพรชนิดอื่นๆ

ลักษณะทั่วไปของสะตอ

สะตอ จัดเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ โดยสามารถสูงได้ถึง 30 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่งแผ่กว้าง ลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน หรือ สีน้ำตาลขาว ลอกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย หรือ เป็นร่องตื้นๆ บริเวณกิ่งก้านมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น คือ มีก้านใบหลักยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ที่ประกอบด้วยก้านใบย่อย 14-24 คู่ โดยแต่ละก้านใบย่อยยาวประมาณ 2.2-6 เซนติเมตร และมีใบย่อยเรียงสลับตรงข้ามกัน 30-38 คู่ ลักษณะใบย่อยเป็นขอบขนาน สีเขียวสดถึงเขียวเข้มตามอายุใบ แผ่นใบเรียบบาง แต่จะเหนียว และแข็ง ปลายใบมน มีติ่งเล็กตรงกลางของปลายใบ ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะยาวห้อย กว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 7-10 ซม. และจะมีก้านช่อดอกยาว 30-40 ซม. และมีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 4-5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกัน เป็นหลอดยาว 0.9-1.2 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลออกเป็น ฝัก มีลักษณะแบน มีทั้งชนิดที่เป็นฝักบิดเป็นเกลียว (สะตอข้าว) และชนิดที่แบนตรง (สะตอดาน) โดยฝักสะตอจะยาวประมาณ 25-45 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร (แล้วแต่สายพันธุ์) เปลือกฝักมีสีเขียว และค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำ ตรงกลางฝักเป็นตุ่มนูน โดยด้านในเป็นที่อยู่ของเมล็ดที่เรียงซ้อนกันประมาณ 10-20 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีลักษณะคล้ายหัวแม่มือ หรือ รูปรีค่อนข้างกลม ขนาดเมล็ดทั่วไป กว้างประมาณ 2.2-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร เมล็ดอ่อนมีสีเขียว ให้รสหวานมัน มีกลิ่นฉุน เมื่อแก่จะเริ่มเหลือง และเมื่อสะตอสุก ฝักจะเป็นสีดำ เนื้อสะตอ เป็นสีเหลืองบางๆ รับประทานได้ทั้งเม็ด เมล็ดในระยะนี้รสมัน เนื้อมีรสหวาน
กำลังโหลดความคิดเห็น