xs
xsm
sm
md
lg

โรคไต อันตรายกว่าที่คิด ภัยเงียบที่คนไทยป่วยไม่รู้ตัว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โรคที่คนไทยป่วยโดยไม่รู้ตัวมากที่สุดถึง 17.5% คือ “โรคไต” เนื่องจากอาหารที่นิยมรับ ประทานกันในปัจจุบันมีปริมาณโซเดียมสูง ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด โรคไต ไตวายเฉียบพลัน ไตวายเรื้อรัง กรวยไตอักเสบ เนื้อเยื่อไตอักเสบ นิ่วในไต และมะเร็งไต เป็นต้น

โรคไต คืออะไร ?
ไต มีหน้าที่สำคัญในการกรองของเสียรวมถึงควบคุมสมดุลของแร่ธาตุและของเหลวในร่างกาย หากไตมีการทำงานผิดปกติ อาจทำให้ของเสียและน้ำส่วนเกินค้างสะสมอยู่ในร่างกาย และนำไปสู่ โรคไต ส่งผลให้เนื้อไตเสียหาย เนื้อไตตาย ไตทำงานผิดปกติ นั่นเอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
ไตวายเฉียบพลัน
เป็นภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างฉับพลัน ระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน มักเกิดจากการขาดน้ำ หรือขาดเลือดไปเลี้ยงไต การติดเชื้อ ยาสมุนไพร อาหารเสริมบางชนิด และการใช้ยาบางชนิด

ไตวายเรื้อรัง
เป็นภาวะที่ไตทำงานเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องระยะเวลามากกว่า 3 เดือนและไม่สามารถรักษาให้ หายขาดได้ มักเกิดจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคถุงน้ำในไต

โรคไต แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
สังเกตอาการแบบไหนเสี่ยง โรคไต
โรคไต มักจะไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะแรก ต้องรอจนเป็นมากแล้วจึงจะแสดงอาการต่าง ๆ ให้เห็น จนกระทั่งสามารถสังเกตได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น

ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อยขึ้นมากกว่า 3 ครั้งต่อคืน ปัสสาวะมีฟอง ปัสสาวะมีสีเข้มหรือขุ่น ปัสสาวะมีเลือดปน
บวม บวมที่เท้า ข้อเท้า และขา บวมที่ใบหน้าและรอบดวงตา บวมที่มือและนิ้ว กดบุ๋ม
ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา นอนไม่หลับ
คลื่นไส้และอาเจียน คลื่นไส้และอาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ผิวหนังแห้งและคัน ผิวหนังแห้งและคันตามตัว
สังเกตอาการแบบไหนเสี่ยง โรคไต
สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
พฤติกรรมการกิน กินเค็ม กินรสจัด บริโภคโซเดียมมากกว่า 2000 มก. ต่อวัน ดื่มน้ำน้อย จนเกิดภาวะขาดน้ำของไต สะสมตะกอนจากอาหารจนกลายเป็นนิ่ว ระวัง!! อาหารที่ไม่เค็มแต่มีโซเดียมสูง เช่น ซอส น้ำจิ้ม อาหารแปรรูป อาหารหมักดอง สารกันบูด สารกันเชื้อรา เป็นต้น
พันธุกรรม พบมากจำนวน 1 ใน 800 ถึง 1 ใน 1,000 คนของประชากรในประเทศ หากพ่อและแม่ หากคนใดคนหนึ่งป่วยเป็นโรคไตก็สามารถถูกส่งต่อผ่านทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำในไต, ไตวายจากซีสต์ที่ไตทั้ง 2 ข้าง และ ไตวายที่เกิดร่วมกับหูหนวก
โรคเรื้อรัง อาทิ โรคป่วยร้ายแรง โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงไม่สามารถควบคุมได้และทำลายหลอดเลือดในไต โรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดในไตหนาและแข็งตัว ลดการไหลเวียนของเลือดไปยังไต
โรคไตอักเสบที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ มักพบในคนอายุน้อยและรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE), โรคไตอักเสบ (IgA Nephropathy)
ยา และ อาหารเสริม รับประทานทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแน็ก รับประทานทานอาหารเสริมเป็นประจำ เช่น โสม ถังเช่า เห็ดหลินจือ หนานเฉาเหว่ย และการได้รับสารที่เป็นพิษกับไต เช่น ยาเคมีบำบัดบางชนิด
กำลังโหลดความคิดเห็น