น้ำฝน
คนสมัยก่อนอาจจะชอบรองน้ำฝนมาดื่มเย็นชื่นใจ แต่สำหรับชาวเมืองที่ในชั้นบรรยากาศเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์หนาแน่น เมื่อก๊าซรวมตัวกับน้ำฝนจะเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ทำให้น้ำฝนกลายเป็นน้ำกรดอ่อนๆ ที่นอกจากจะมีรสชาติเปรี้ยวๆ ไม่อร่อยชื่นใจแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
น้ำกลั่น
น้ำกลั่น เป็นน้ำที่บริสุทธิ์มาก ทางการแพทย์ใช้ในการเตรียมสารละลายต่างๆ เช่น ทำน้ำเกลือ เป็นต้น แต่น้ำกลั่นก็เป็นน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเช่นกัน หากเราดื่มน้ำกลั่นเข้าไปในร่างกาย ร่างกายต้องดึงเอาแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือแร่อื่นๆ ออกมาใช้ จึงอาจทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุเหล่านี้ จนอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้
น้ำดื่มบรรจุขวดที่ไม่ได้มาตรฐาน / สัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน
น้ำดื่มบรรจุขวดก็อาจไม่ปลอดภัยหากไม่ได้รับการผลิตที่มีมาตรฐานดีเพียงพอ เพราะอาจพบสารปนเปื้อน เช่น พลาสติก ระหว่างกระบวนการผลิตได้ ดังนั้นควรเช็กให้แน่ใจว่าเป็นน้ำดื่มที่ผลิตจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ และผ่านการตรวจสอบคุณภาพของการผลิตทุกขั้นตอน
น้ำประปาที่มีปริมาณไตรฮาโลมีเทนสูงเกินไป
ไตรฮาโลมีเทน คือ สารที่เกิดจากสารอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนที่อยู่ในน้ำประปา ซึ่งหากพบว่ามีไตรฮาโลมีเทนในปริมาณมาก อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ ปกติแล้วมาตรฐานของระดับไตรฮาโลมีเทนในน้ำประปาของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน สำหรับประเทศไทย ไม่ควรพบค่าไตรฮาโลมีเทนในการใช้น้ำประปาทำอาหาร เช่น หุงข้าว มากกว่า 80 ไมโครกรัมต่อลิตร และในน้ำประปาของเราที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ พบว่าไตรฮาโลมีเทนราว 70 และ 73 ไมโครกรัมต่อลิตร ดังนั้นจึงวางใจได้ว่าน้ำประปาบ้านเราสามารถดื่ม และนำมาปรุงอาหารได้ แต่หากว่าพบว่าไตรฮาโลมีเทนสูงเกินไป ก็ควรหลีกเลี่ยง