xs
xsm
sm
md
lg

กินเค็มแค่ไหน.. ดีต่อหัวใจ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ร่างกายของเราสามารถขับโซเดียมออกมาได้ 3 ทาง คือ ผ่านทางไต ผ่านทางเหงื่อ และผ่านทางอุจจาระ หากร่างกายมีปริมาณโซเดียมมากเกินไป จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนัก

อาหารที่มีโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง (มีโซเดียมมากกว่า 120 mg/ส่วน) เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ปลาร้า กะปิ ซอสปรุงรส น้ำปลา ขนมขบเคี้ยว อาหารหมักดอง เป็นต้น

ลดเค็มสักนิด เพื่อสุขภาพไตที่ดี

กินเค็มนาน ไม่ดีต่อใจ เสี่ยงเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โดยปกติแล้ว ปริมาณโซเดียมที่ร่างกายต้องการ คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (เทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4 – 5 ช้อนชา) คำแนะนำในการปรุงอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีมี ดังนี้

รับประทานอาหารจืดแล้วปรุงรสทีหลัง ไม่ควรมีรสเค็มจัด
ฝึกนิสัย “ชิมก่อนปรุง” และ “ไม่ควรปรุงรสเค็ม” แนะนำให้เติมทีละน้อยๆ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เช่น ของหมักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
ลดการชุบน้ำจิ้ม จิ้มเพียงครึ่งเดียว และไม่แช่อาหารในน้ำจิ้ม
ลดการซดน้ำแกง น้ำซุป ที่เป็นอาหารจากการปรุงสำเร็จ
กำลังโหลดความคิดเห็น