xs
xsm
sm
md
lg

ทานยาแบบนี้ไม่ดีต่อ “ไต” นะ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ยาประเภทไหนบ้างที่ควรระวังและส่งผลอันตรายต่อไตอย่างไร ?

ยาแก้ปวดแก้อักเสบ กลุ่มยา NSAIDs เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน และอื่นๆ จะทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงไตได้น้อยลง
ยาละลายน้ำ ยาที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ยาแอสไพรินชนิดเม็ดฟู่ วิตามิน A D E K ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียม น้ำ และเกลือแร่เกินในร่างกาย
ยาน้ำแก้ไอ ยาน้ำแก้ปวดท้อง ที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก หากรับประทานต่อเนื่องอาจเกิดการสะสมของโพแทสเซียม
ยาลดกรด ยาระบาย ยาที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกายเพราะไตไม่สามารถขับออกได้ตามปกติ
ยาสวนทวาร ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกิดฟอสเฟตสะสมอยู่ภายในร่างกาย
อาหารเสริม มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมและแมกนีเซียมทำให้สะสมอยู่ภายในร่างกาย
สมุนไพร เห็ดหลินจือ โสม กระเทียม ใบแปะก๊วย ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดอาจทำให้เลือดออกบริเวณเส้นเลือดที่กำลังต่อกับเครื่องฟอกเลือดได้ง่ายอาจทำให้มีการสะสมของโพแทสเซียม
ถ้าหากการทำงานของไตมีความผิดปกติร่างกายจะไม่สามารถขับฟอสเฟตออกมาได้เพียงพอและเมื่อฟอสเฟตตกค้างในร่างกายเป็นระยะเวลานานจะส่งผลต่อต่อมพาราไทรอยด์ โพแทสเซียมสะสมในร่างกายมากหรือน้อยเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้นได้

รู้หรือไม่ การรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานส่งผลเสียมากกว่าผลดี อาจส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบไตได้โดยไม่รู้ตัว เพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยาทุกประเภทควรปรึกษาแพทย์เภสัชกรผู้ชำนาญเพื่อรับคำแนะนำการรักษาที่ถูกต้อง และที่สำคัญผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาทานเองโดยเด็ดขาด! หากพบอาการผิดปกติจากการใช้ยาควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที
กำลังโหลดความคิดเห็น